กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่หวาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาในหญิงตั้งครรภ์และมารดาทารกหลังคลอด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่หวาด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอกช้าง

พื้นที่ หมู่ที่ 5 บ้านฆอแย และหมู่ที่ 7ตำบลแม่หวาด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจัยแห่งการพัฒนาประเทศที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ ทรัพยากรมนุษย์ (ประชากร) ซึ่งในการพัฒนาประเทศชำติให้เจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้ำนอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม (Moral Virtue) ให้กับเด็กและเยาวชนของประเทศ เพราะผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพดีต้องมีรากฐานจากกระบวนการหล่อหลอมทางสังคม (Socialization) ที่มีประสิทธิภาพต่อเนื่องและสอดประสานกันจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่สำคัญที่สุดในการทำหน้าที่หล่อหลอมและขัดเกลำความเป็นมนุษย์ให้สมาชิกในครอบครัวด้วยกำรอบรม เลี้ยงดู ให้ความรัก ความเอื้ออาทร พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามให้สมาชิกในครอบครัว
ปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่พบบ่อยในสถานบริการ คือ การติดตามหญิงตั้งมารับการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ การมารับการฝากครรภ์ให้ครบตามเกณฑ์ 5 ครั้ง ซึ่งจะพบว่าติดตามได้ยาก ปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ทารกมีความพิการตั้งแต่กำเนิด บุตรน้ำหนักตัวน้อย การให้ลูกดูดนมแม่ให้ครบ6 เดือน เป็นต้น ทำให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในหญิง ปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ความเครียด ที่เกิดขึ้นในครอบครัวพบได้ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป เกิดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จากปัญหาดังกล่าวทำให้มีผู้ป่วยจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้และแก้ปัญหาได้ไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายในที่สุด
ดังนั้นทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอกช้าง จึงมีแนวคิดที่จะค้นหาหญิงตั้งครรภ์และสามี เพื่อที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ การเตรียมความพร้อม และการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ ซึ่งหลังจากการให้ความรู้แล้วก็จะมีการติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้มารับบริการการฝากครรภ์ให้ครบตามเกณฑ์ จนกระทั่งคลอด และการดูแลหลังคลอด การเฝ้าและติดตามเด็กดูดนมแม่ให้ครบ 6 เดือน โดยอสม.ในแต่ละเขต เพื่อหญิงตั้งครรภ์สามี และหญิงหลังคลอดจะได้มีแนวทางในการดูแลตนเองและครอบครัว ป้องกันอัตราการแท้ง ลูกน้ำหนักตัวน้อย ทารกพิการตั้งแต่กำเนิด ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ การตกเลือดหลังคลอดหลังคลอด การดูดนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

 

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรค์ได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ คลอดทารกน้ำหนักมากว่า 2500 กรัมและคลอดที่โรงพยาบาล

 

0.00
3 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็ก และการปฎิบัติตัวของหญิงวัยเจริญพันธุ์และแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์

 

0.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำในงานอนามัยแม่และเด็ก ให้มีความรู้ความสามารถในการแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมอบรมแกนนำ สมาชิกสายใยรัก หญิงตั้งครรภ์ สามี/ญาติ 50 คน

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมอบรมแกนนำ สมาชิกสายใยรัก หญิงตั้งครรภ์ สามี/ญาติ 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ           เป็นเงิน  3,750 บาท 1.2 ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ                 เป็นเงิน  2,500 บาท 1.3 ค่าวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 1 คน        เป็นเงิน 1,800 บาท           2. ค่าวัสดุและอุปกรณ์                                 เป็นเงิน 1,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามหญิงตั้งครรภ์ตามนัด / บริการเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
ติดตามหญิงตั้งครรภ์ตามนัด / บริการเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเหมาจ่ายตอบแทน 1,000 บาท จำนวน 4 คน (ติดตามเยี่ยมตลอดทั้งปี)    เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.คนในชุมชน.มีความรู้เกี่ยวกับหญิงตั้งครรภ์ เข้าใจ และสามารถค้นหาหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้
2.หญิงตั้งครรภ์และสามี มีความรู้ในการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์จนถึงระยะคลอด
3.อัตราการเกิด การแท้ง ทารกพิการแต่กำเนิด และบุตรน้ำหนักตัวน้อยลดลง
4.ไม่พบภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์
5.หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่รับผิดชอบมารับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ 5 ครั้ง
6.ไม่พบภาวะตกเลือดหลังคลอด เพื่อลดอัตราการแม่เสียชีวิตหลังคลอด
7.เด็กกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน


>