กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่หวาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์วัคซีนเชิงรุก บ้านสันติ2 ประจำปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่หวาด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ2

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นกลวิธีในการป้องกันควบคุมโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด ประเทศไทยได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ เป็นต้นมา โดยผสมผสานการดำเนินงานเข้ากับงานบริการสาธารณสุขตามปกติ และพัฒนาเร่งรัด การดำเนินงานด้วยวิธีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายและชนิดของวัคซีนให้มากขึ้น มีการปรับปรุงระบบการกระจายวัคซีนและบริหารจัดการแก่ผู้มารับวัคซีน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพดีและครอบคลุมอย่างทั่วถึง งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นงานที่มีความสำคัญในการที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชน ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางทรัพยากรบุคคลและภาระค่าใช้จ่ายต่างๆในการดูแลรักษาผู้ป่วย ควบคุมการกระจายของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอาจเกิดการระบาดได้ถ้าไม่สามารถให้วัคซีนได้ครอบคลุมเพียงพอ หรือให้ไม่ครบตามจำนวนครั้งที่กำหนดภูมิคุ้มกันที่สร้างจากวัคซีนมีระดับลดลง เมื่อเวลาผ่านไปต้องได้รับการกระตุ้นซ้ำและประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงได้จากปัจจัยต่างๆเช่น การเก็บรักษาวัคซีนไม่ได้มาตรฐานเทคนิคการให้บริการหรือการฉีดวัคซีนเช่นฉีดลึก หรือตื้นเกินไป เป็นต้น
การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในปี 2562 ความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ1ปี ร้อยละ 13.21 ความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ2ปี ร้อยละ 17.02 ความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ3ปี ร้อยละ 6.38 ความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ5ปี ร้อยละ 34.69 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดจังหวัดยะลา กำหนดร้อยละ 90 ปัญหาที่ผ่านมาพบว่าการบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ขาดการติดตามกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายมีการย้ายที่อยู่อาศัย หรือไปรับบริการจากสถานบริการอื่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคคลที่อาศัยในพื้นที่ มีความใกล้ชิด และทราบข้อมูลการเข้าถึงรับบริการ รวมถึงการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยของกลุ่มเป้าหมาย อสม.จึงมีส่วนสำคัญในการกระจายความรู้ ข้อมูลข่าวสารในชุมชนได้เป็นอย่างดี มาตรการเชิงรุกที่สำคัญ คือ การให้ อสม.ค้นหากลุ่มเป้าหมาย ติดตามการรับวัคซีนตามนัด พร้อมทั้งให้ข้อมูลและคำแนะนำในการรับวัคซีนป้องกันการเกิดโรค อีกทั้งเก็บข้อมูลความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนจากสถานบริการอื่น เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจสอบความครอบคลุมวัคซีนป้องกันโรค
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ2 ตำบลแม่หวาด ร่วมกับองค์การบริหารสาวนตำบลแม่หวาดเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์วัคซีนเชิงรุก บ้านสันติ2 ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ อสม. มีการติดตามเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจ เกิดความตระหนัก และกระตุ้นให้ผู้ปกครองพาเด็ก 0-5 ปี รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็ก และเพื่อป้องกันหรือลดการระบาดของโรคที่สามารถป้องได้ด้วยวัคซีนให้น้อยลงจากพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานรับวัคซีนครบชุดตามวัย 2.เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน องค์กรท้องถิ่นสนับสนุนมีส่วนร่วมการแก้ปัญหาการรับวัคซีนในเด็ก 3.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคในเด็กและความรู้ในการดูแลด้านอาหารตามวัยได้ 4.เพื่อป้องกันการป่วยและตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน 5.เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงและพัฒนาการสมวัย

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองและอสม. 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/04/2020

กำหนดเสร็จ : 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดทำโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา 2. แต่งตั้งคณะทำงาน ดำเนินงานโครงการ และแต่งตั้งคณะทำงานประชาสัมพันธ์ 3. การจัดทำสื่อ ประชาสัมพันธ์งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และก

ชื่อกิจกรรม
1. จัดทำโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา 2. แต่งตั้งคณะทำงาน ดำเนินงานโครงการ และแต่งตั้งคณะทำงานประชาสัมพันธ์ 3. การจัดทำสื่อ ประชาสัมพันธ์งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณ  กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแม่หวาด   รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  20,000  บาท   (เงินสองหมื่นบาทถ้วน) รายละเอียด ดังนี้            5.1  ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมรณรงค์
             5.1.1 ค่าอาหารกลางวัน  (มื้อละ75 บาท  x 100 คน)             เป็นเงิน  7,500  บาท
     5.1.2 ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม  ( 25 บาทx  2 มื้อ  x  100 คน) เป็นเงิน  5,000  บาท                  5.1.3 ค่าจ้างจัดทำป้ายไวนิล 500*3 ผืน             เป็นเงิน  1,500  บาท         5.1.4 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในจัดทำโครงการ                   เป็นเงิน  4,200  บาท         5.1.5 ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท 6 ชั่วโมง           เป็นเงิน  1,800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  (เงินสองหมื่นบาทถ้วน)         20,000  บาท หมายเหตุ    ค่าใช้จ่ายทั้งหมดสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.1.เด็ก 0-5 ปี ได้รับความครอบคลุมในการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ 2 ปีและ 3 ปี เพิ่มขึ้นจากเดิม
ร้อยละ 20
2.เด็ก 0-5 ปี ได้รับความครอบคลุมในการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1 ปีและ 5 ปี ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 90
3.ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้องและเกิดความตระหนักในเรื่องวัคซีน
4. เกิดกิจกรรมรณรงค์การรับวัคซีนในพื้นที่ โดยมี อสม. แกนนำ และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม
4. สามารถป้องกันและควบคุมโรค จากโรคที่สามารถป้องกันด้วยการรับวัคซีน


>