กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.ร่วมใจต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลจะโหนง

1. นายประถมประทุมมณี
2. นายวิมลทองชนะ
3. นางเสาด๊ะสอโส๊ะ
4. นางสมบูรณ์หลัดเกลี้ยง
5. นางอุท้ยเอียดทอง

พื้นทีตำบลจะโหนง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ในพื้นที่ มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ปี 2559- 2562

 

4.00
2 ในพื้นที่ มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านมตั้งแต่ปี 2559-2562

 

2.00
3 ในพื้นที่มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ยังรักษาอยู่ในปัจจุบัน

 

2.00
4 ในพื้นที่มีผู้มีภาวะเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

200.00

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆของสตรีในประเทศไทย โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง 3 คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิตประมาณ 4,500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30- 50 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกจะง่ายและสะดวกแต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจ เช่น อายหมอ ยังไม่มีอาการเจ็บจึงไม่จำเป็นต้องตรวจ ส่วนโรคมะเร็งเต้านมผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น เพราะในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆแล้วและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
สถานการณ์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปี ในปีงบประมาณ 2562 ของเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะโหนง ซึ่งทำการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสมตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 – 2562 พบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายมาตรวจคิดเป็นร้อยละ 50.21 ซึ่งถือว่ายังน้อยมาก ทางคณะผู้จัดทำโครงการเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาข้างต้น จึงจัดทำโครงการอสม. ร่วมใจต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมขึ้น เพื่อให้อสม.และประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกและมารับการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และสามารถแนะนำชักชวนให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้

ในพื้นที่ไม่มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

200.00 200.00
2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้

200.00 200.00
3 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 20

ประชากรกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 20

200.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน 1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่พบและวางแผนการดำเนินงาน 2. เขียนแผนงาน/โครงการเพื่อเสนออนุมัติ 3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่อสม. 4. จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมาย 5. จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ดำเนินงานในวันรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 6. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านป้ายประกาศ หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ป้ายไวนิล และทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมาย ให้อสม.นำไปแจกให้กับกลุ่มเป้าหมาย 7. จัดกิจกรรมรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ณ รพ.สต.จะโหนง 2 วัน 8. ประชาสัมพันธ์คลินิกบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของรพ.สต.จะโหนงให้ประชาชนรับทราบ 9. แจ้งผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้กับกลุ่มเป้าหมาย 10. ติดตามและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่ผลการตรวจคัดกรองมีความผิดปกติเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาตามาตรฐาน - งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด 1. ค่าอาหารว่างในวันประชุมคณะทำงาน จำนวน20 คนๆละ 25 บาท =500 บาท 2. ค่าวิทยากรให้ความรู้แก่อสม. จำนวน 1 คนx 2 ชม.ๆละ 600 =1200 บาท 3. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน - กระดาษ A4 2 ดรีมๆละ 135 บาท=270 บาท -ปากาจำนวน 20 ด้ามๆละ 5 บาท = 100 บาท -สมุดปกอ่อนจำนวน 20 เล่มๆละ 10 บาท = 200 บาท 4.ค่าถ่ายเอกสาร -บัตรเชิญจำนวน 900x0.35 =315 บาท -ป้ายประกาศจำนวน 300x0.35 = 105 บาท 5. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 2x1.5 เมตร จำนวน 1 แผ่นๆละ 360 บาท 6. ค่าวิทยากรให้ความรู้แก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายในวันรณรงค์คัดกรองมะเร็งปากมดลูกจำนวน 1 คนx4ชม.ๆ600=2400บาท 7. ค่าอาหารว่างให้กับประชาการกลุ่มเป้าหมายที่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 200 คนๆละ25บาท= 5000 บาท 8. ค่าอาหารกลางวันคณะทำงานในวันรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 20 คนๆละ 80 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 3200 บาท 9. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะทำงานในวันรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 20 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,650บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดน้อยลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ในพื้นที่ตำบลจะโหนงไม่มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม


>