กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ตำบลหารเทา ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

เทศบาลตำบลหารเทา

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ปัจจุบันได้มีการแพร่กระจายไปทั่วโลก ในหลายๆประเทศรวมถึงประเทศไทย ที่ขณะนี้พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จำนวน 827 ราย รักษาหายแพทย์ให้กลับบ้าน 68 ราย ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต 4 ราย ผลตรวจผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามเฝ้าระวังที่เหลือ 12,200 ราย ตรวจไม่พบเชื้อ 7,446 ราย และอยู่ระหว่างรอผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ 4,754 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 24 มีนาคม 2563) และในพื้นที่ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1 ราย ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลหารเทา และพื้นที่ใกล้เคียงเกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก อีกทั้งขณะนี้ วัสดุ และอุปกรณ์ เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกฮอล์ล้างมือ ซึ่งใช้ในการควบคุมและป้องกันโรค ดังกล่าวก็ค่อนข้างหายากมาก เพื่อลดความวิตกกังวล จึงจำเป็นที่ต้องให้ประชาชน ทราบวิธีการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเอง เรื่องโรคโคโรนา (2019 COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง
ทั้งนี้ ตำบลหารเทา มีประชาชนที่เดินทางมาจากจังหวัดปละต่างปรพเทศ และต้องเก็บกักตัวเพื่อเฝ้าระวังโรค จำนวน 120 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการลงพื้นที่ที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย ให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ได้แก่ ชุมชน สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่าวยงานราชการ และบริการสาธารณะต่างๆเขตในพื้นที่ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เทศบาลตำบลหารเทาร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ตำบลหารเทา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปากพะยูน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ตำบลหารเทา ซึ่งรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป ซึ่งการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรค ขาดวัสดุการแพทย์และการแพทย์และการสาธารณสุขในการบริหารจัดการ เทศบาลตำบลหารเทา จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ตำบลหารเทา ปี 2563 ขึ้นเพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการเพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่

ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเอง เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
2 2.ประชาชนกลุ่มเฝ้าระวังได้รับการดูแล เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ ตลอดจนไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 100 ในพื้นที่ไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/03/2020

กำหนดเสร็จ 15/06/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเอง เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเอง เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ไม่ใช่งบประมาณ -ใช้อาสาสมัครจิตอาสา อสม. หอกระจายข่าว และเวทีประชุมหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มีนาคม 2563 ถึง 15 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงและติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและทำความสะอาดบ้าน

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงและติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและทำความสะอาดบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิ แบบอินฟาเรด แบบไม่สัมผัส จำนวน 14 เครื่องๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 49,000 บาท -ค่าจัดซื้อหน้ากากผ้า จำนวน 4,000 ชิ้นๆละ 13 บาท เป็นเงิน 52,000 บาท -เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ขนาด 500 มิลลิลิตร จำนวน 100 ขวด/ถุงๆละ 320 บาท เป็นเงิน 32,000 บาท -เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ขนาด 1 ลิตร จำนวน 50 ขวด/ถุงละ 500 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มีนาคม 2563 ถึง 15 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
158000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 158,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างถูกต้อง
2.ลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง


>