กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในแกนนำเด็กนักเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก

ม.4,5,6,7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดีและนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ก็จะส่งผลต่อสุขภาพช่องปากได้ด้วย ปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียนเป็นปัญหาที่สำคัญซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการต่างๆของเด็กนักรียน โรคฟันผุเป็นโรคที่เราทุกคนสามารถปัองกันได้ โดยเริ่มต้นส่งสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี การส่งเสริมให้เด็กแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนพบว่าเด็กนักเรียนส่วนใหญ่มีภาวะโรคฟันผุ และไม่ค่อยแปรงฟัน ขาดความรู้ความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพปากช่องปาก
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก ตำบลกายูคละ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพซ่องปากในเด็กนักเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลช่องปากที่ถูกวิธี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีและสามารถไปถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียนได้

ร้อยละ 90 ของแกนนำนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

60.00 1.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี

ร้อยละ 90 แกนนำนักเรียนดูแลสุขภาพช่องมากขึ้น

60.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แกนนำในเด็กนักเรียนในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านสามแยก จำนวน 60 คน ครูอนามัยรร. จำนวน 3 คน รายละเอียดดังนี้ 1.ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บ. x 6ชม. = 3,600 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันและเรื่องดื่ม 50บ. x 63 คน = 3,150 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ. x 63 คน x 2มื้อ = 3,150 บาท 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ 2,520 บาท 5.ค่าป้ายโครงการ 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13420.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกปฏิบัติการแปรงฟันจริงในแกนนำนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติการแปรงฟันจริงในแกนนำนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกปฏิบัติการแปรงฟันจริงในแกนนำนักเรียน จำนวน 60 คน รายละเอียดดังนี้ 1.ค่าอุปกรณ์ฝึกปฏิบัติการแปรงฟันจริง 75บ.x 60คน เป็นเงิน  4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,920.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
2. เด็กนักเรียนตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปาก


>