กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.รวมใจพิชิตภัยความดันโลหิตสูง ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

ชมรม อสม.หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหลา

ชมรม อสม.หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อสม.ในตำบลคลองหลา ได้ดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่งมาโดยตลอด โดยเฉพาะการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงให้แก่ประชากร 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลคลองหลา สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ ปี 2562 เป็นต้นมา ในปีงบประมาณ 2563 นี้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหอยโข่ง ได้จัดทำแผนปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ระดับเขต และระดับจังหวัด ซึ่งประเด็นที่มุ่งเน้น 1 ใน 6 ประเด็น คือ การพัฒนาศักยภาพชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย ทั้งนี้กิจกรรมที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมหนึ่งในนั้น คือ การสอนให้มีการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง หรือ บุคคลใกล้ชิดเป็นระยะเวลา 7 วันต่อคน ในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และสามารถใช้ผลจากการวัดความดันโลหิตดังกล่าวเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคได้อีกด้วย จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ชมรมอสม.หมู่ที่ 1 บ้านสะพานหมาก ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการอสม.รวมใจพิชิตภัยความดันโลหิตสูง ปี 2563 ขึ้น โดยจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต เพื่อใช้กับประชาชนในเขตบ้านสะพานหมาก หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา รวมทั้งใช้ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัมพฤกษ์ และโรคอื่นๆ ในพื้นที่ด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น และค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

1.ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 90)

55.00 90.00
2 ที่ 2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

2.ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ร้อยละ 50)

30.00 50.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านตามแนวทางที่กำหนด
  1. ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้รับการเฝ้าระวังความดันโลหิตที่บ้าน (ร้อยละ 30)   - กลุ่มระดับความดันโลหิตตั้งแต่  140/90 มม.ปรอทขึ้นไป
15.00 30.00
4 4. เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการดำเนินการเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตที่บ้าน และการแปลผล
  1. ร้อยละของอสม.ที่ผ่านการฟื้นฟูความรู้แล้วสามารถตอบแบบทดสอบหลังการอบรมได้ถูกต้อง(ร้อยละ 80)
50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 450
กลุ่มผู้สูงอายุ 160
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/06/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต
จำนวน 4 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล จำนวน 4 เครื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฟื้นฟูความรู้ เรื่องการเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตที่บ้าน (HMBP) การแปลผล และทักษะการสอนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนแก่ อสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฟื้นฟูความรู้ เรื่องการเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตที่บ้าน (HMBP) การแปลผล และทักษะการสอนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนแก่ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน   250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละของอสม.ที่ผ่านการฟื้นฟูความรู้แล้วสามารถตอบแบบทดสอบหลังการอบรมได้ถูกต้อง(ร้อยละ 80)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อสม.มีอุปกรณ์ตรวจคัดกรองความดันโลหิตสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน
2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิต การติดตามหลังการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและการเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตที่บ้าน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความตระหนักในการควบคุมระดับความดันโลหิต
3.อสม.มีความรู้ความสามารถในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และสามารถให้คำแนะนำเพื่อลด
เสี่ยงแก่กลุ่มเป้าหมายได้


>