กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก

-

ม.4,5,6,7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญคือปัญหาผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ และโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือดสูง นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคเรื้อรังดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ มีการ ประมาณการทางสถิติว่า ทั่วโลกมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประมาณ 125 ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี และในการศึกษาสถานการณ์และธรรมชาติวิทยาของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากร พบว่าภาพรวมของประเทศ พบประชากรไทยมีแนวโน้มการตายและป่วยจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้นใน 13 ปีขึ้นไป มากกว่าหนึ่งล้านเก้าแสนคน และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกและจำนวนผู้เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังพบว่า เมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง เป็นต้น
จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองค้นหาผู้ป้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของรพ.สต.บ้านสามแยก มีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้นทางรพ.สต. จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ โดยให้บริการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องตัน พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่และผู้มีภาวะเสี่ยงสูงจำนวนมาก โดยเฉพาะในปี 2562 พบว่าผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนเพิ่มขึ้น และในปัจจุบันแม้ว่าการรักษาโรคเบาหวานและผู้ป่วยความตันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดีขึ้น กล่าวคือ มีแพทย์ออกให้บริการ ตรวจรักษาถึงในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ระบบการติดตามดูแลฟื้นฟู การให้ความรู้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิต และสังคม ภายหลังการรักษา ก็ยังมีระบบที่ไม่ดีเพียงพอ ทำให้ผู้ป้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานดังกล่าว มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ดังกล่าว จึงได้จัดทำการสร้างกระบวนงานการเรียนรู้ (Knowledge Management ) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกขอหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้

486.00 1.00
2 เพื่อให้ความรู้ด้านการบริโภคอาหารแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารแก่ผู้ป่วย

486.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 486
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน รายละเอียดดังนี้ 1.ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บ. x 6 ชม. = 3,600 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 50บ. x 486 คน x = 24,300 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ. x 486 คน x 2 มื้อ = 24,300 บาท 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ 4,000 บาท 5.ค่าป้ายโครงการ 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ได้รับความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับโรคของตนเอง
2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ประชาชนและร่วมด้วยเจาหน้าที่ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับตนเองและสมาชิกในครอบครัวเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


>