กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กตำบลปันแต ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

ห้องประชุม รพ.สต.ปันแตพื้นที่หมู่ที่ 1-13ตำบลปันแตอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

92.43
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

80.00
3 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

47.92

ภาวะสุขภาพและการพัฒนาการเด็กเป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนให้เห็นศักยภาพของคนไทยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา โดยเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์ มารดาต้องมีความพร้อมและมีภาวะสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เพราะภาวะการขาดสารอาหารของมารดาจะมีผลต่อพัฒนาการและสติ ปัญญาของเด็กแรกเกิด จากการศึกษาพบว่าระดับสติปัญญาเด็กไทยมีแนวโน้มลดลง ในปี พ.ศ.2540 เด็กไทยมีค่าเฉลี่ยระดับปัญญา 91 จุด และในปี 2545 เด็กไทยมีค่าเฉลี่ยระดับปัญญา 88 จุด ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( ค่าปกติ 90-110) นมแม่มีความสำคัญต่อทารกเพราะนอกจากจะให้สารอาหารที่ครบถ้วน สร้างภูมิต้านทานสติปัญญาให้กับบุตรแล้ว ยังสร้างความรักความอบอุ่นให้กับบุตรด้วย ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ นอกจากทำให้มารดาและทารกแรกคลอดมีอัตราการตายและเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าปกติ เช่นภาวการณ์คลอดก่อนกำหนด การแท้ง ทารกตายในครรภ์ ความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์แล้ว ยังมีผลทำให้น้ำนมไม่เพียงพอต่อเด็กแรกคลอด จากข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ปี2562 หญิงตั้งครรภ์จำนวน 35 คนพบว่า ฝากหลัง 12 สัปดาห์ จำนวน 3 คนคิดเป็นร้อยละ 8.57ทารกแรกคลอดจำนวน 35 คน มีน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม จำนวน 4 คน คิดเป็น 11.42 % และมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว 47.92%เนื่องจากมารดาและครอบครัวไม่มีความรู้ความเข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาหลังคลอดจึงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในอัตราต่ำ ฉะนั้นนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขแล้ว อสม.ในพื้นที่เป็นแกนนำที่สำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริม หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ครอบครัวและชุมชนให้มีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากสถานการณ์ดังกล่าว และประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเร่งด่วนในการพัฒนาศักยภาพ อสม.ให้เป็นแกนนำ สายใยรักฯ กองทัพนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี ๒๕๖3

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยลูกมีภาวะสมบูรณ์แข็งแรงและมีพัฒนาการที่สมวัย 2 เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน 3.เพื่อพัฒนางานอนามัยแม่ และเด็กทั้งหน่วยงานและชุมชน 3.3 เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย

1.อัตราเกิดมีชีพ ร้อยละ 100 ประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC ON Cloud
สสจ.พัทลุง 2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 80 ประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC ON Cloud สสจ.พัทลุง 3. น้ำหนักแรกเกิดคลอดไม่ต่ำกว่า2,500 กรัม ลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 5 ประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC ON Cloud สสจ.พัทลุง 4 มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC ON Cloud สสจ.พัทลุง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี/ หญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปันแต 2. กิจกรรมติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด 3. ตรวจประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก/ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 0-5

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี/ หญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปันแต 2. กิจกรรมติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด 3. ตรวจประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก/ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 0-5
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี/ หญิงวัยเจริญพันธุ์ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปันแต
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด  จำนวน 65 คน x 2  มื้อ x 25  บาท  เป็นเงิน 3,250  บาท -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด
จำนวน 65 คน x 1 มื้อ x 50  บาท  เป็นเงิน 3,250 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร มีรายละเอียดดังนี้     - นางมานิตา  เสรีประเสริฐ   จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท  เป็นเงิน 900 บาท     - นางวารินทร์  รอดขำ  จำนวน 2  ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท  เป็นเงิน 600 บาท      -นางสาวสุคนฑา  ยิ่งดำนุ่น  จำนวน 1 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท  เป็นเงิน 300 บาท -ค่าป้ายโรลอัพให้ความรู้เรื่องอนามัยแม่และเด็ก ขนาด กว้าง 60  ซม.  ยาว 160 ซม.จำวน 4 ป้าย x 1,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท                              รวมเป็นเงิน  12,300 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันสามร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อัตราเกิดมีชีพ ร้อยละ 100 ประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC ON Cloud
สสจ.พัทลุง 2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 80 ประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC ON Cloud สสจ.พัทลุง 3. น้ำหนักแรกเกิดคลอดไม่ต่ำกว่า  2,500 กรัม ลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 5 ประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC ON Cloud สสจ.พัทลุง 4 มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC ON Cloud สสจ.พัทลุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

11.1 ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยมีภาวะสมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
เด็กมีสติปัญญาและพัฒนาการสมวัย
11.2 เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย


>