กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเผชิญการระบาดของ COVID-19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

งานสุขาภิบาลทั่วไปสำนักปลัดเทศบาลตำบลเชิงแส

หมู่ที่ 1 - 4ตำบลเชิงแส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโครน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง 1-3% ร้อยแรงน้อยกว่า SARซึ่งมีอัตราการตาย 10 %

ซึ่งขณะนี้พบผู้ติดเชื้อในประเทศ จำนวน2,220คนเสียชีวิตแล้ว26รายและยังสถิติผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคนี้ดังนั้น มาตการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรค เป็นสิ่งสำคัญงานสุขาภิบาลทั่วไปสำนักปลัดเทศบาลตำบลเชิงแส จึงได้จัดทำโครงการเผชิญการระบาดของ COVID-19เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเชิงแส

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรค

ร้อยละของ ปชช.มีความร้เรื่องอาการของโรคการป้องกันโรค COVID-19

0.00
2 เพื่อให้มี อสม. และเจ้าหน้าที่ติดตามผู้มีภาวะเสี่ยง และมีการจัดตั้งศูนย์กักกันสังเกตการเริ่มป่วย

มี อสม. และเจ้าหน้าที่ติดตามผู้มีาภาวะเสียง และมีศูนย์กักกันสังเกตุอาการเริ่มป่วย

0.00
3 เพื่อให้มีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค COVID19

จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,800
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังกลุ่มบุคคลที่มาจากที่อื่น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังกลุ่มบุคคลที่มาจากที่อื่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขึ้นทะเบียนกับผู้ใหญ่บ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคของพื้นที่ ประเมินสภาวะสุขภาพของบุคคลที่มาจากที่อื่น ค่าใช้จ่าย 1.ค่าตอบแทน อสม.และทีมงาน(1 คนต่อ กลุ่มเสี่ยง จำนวน 5 คน ให้ 200 บาท/ลง 1 ครั้ง) เป็นเงิน  2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคคลกลุ่มเสี่ยงได้รับการเฝ้าระวังและคัดกรอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการผู้ป่วยขอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการผู้ป่วยขอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อกักกันเพื่อสังเกตุอาการเริ่มป่วยเป็นการจำกัดกิจกรรมของบุคคลที่มีสุขภาพดี เนื่องจากสัมผัสกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อระหว่างช่วงที่แพร่เชื้อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ถ้าบุคคลที่มีสุขภาพดีติดเชื้อจึงแยกตัวเพื่อเฝ่าสังเกตอาการเป็นเวลา14 วัน 1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 3 มื้อ ๆ 80 บาทวันละ240 บาทจำนวน14 วันเป็นเงิน3,360 บาท /คนจำนวน5คนเป็นเงิน16,800บาท 2.ค่าอาหารกลางและเครื่องดื่ม2มื้อ ๆ ละ 25 บาทวันละ50 บาท จำนวน14 วันเป็นเงิน700 บาท/คน จำนวน5 คนเป็นเงิน3,500 บาท 3.จัดซื้อถังขยะ และถุงใส่ขยะเป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค COVID -19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค COVID -19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค COVID-19 ดังนี้

1.ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค60 ลิตร ๆ ละ 520เป็นเงิน31,200 บาท

  1. เครื่่องฉีดพ่นสะพานหลัง ขนาด 16 ลิตร เครื่องละ 3,290 บาทจำนวน2 เครื่องเป็นเงิน6,580บาท

  2. ชุดฉีดพ่นป้องกันการระบาดพร้อมแว่นนิรภัย ชุดละ2,250บาท จำนวน2 ชุดเป็นเงิน4,500บาท

  3. เครื่องวัดอุณภูมิหน้ากากแบบไม่สัมผัส จำนวน1เครื่อง เป็นเงิน4,800 บาท

5.จัดซื้อถุงมือยาง จำนวน3กล่องๆ ละ300 บาทเป็นเงิน900 บาท

6.จัดซื้อหน้ากากอนามัยN 95เป็นเงิน500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48480.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 73,780.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ปชช.มีความเข้าใจเรื่องโรค Covid-19

2. ปชช.มีพฤติกรรมที่สามารถป้องกัน Covid

3. มีศูนย์กักกันผู้ป่วยของ อปท.

4. มีวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการป้องกันโรค


>