กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมฟื้นฟูอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแต

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลปันแต

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตพื้นที่หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดูแลผู้สูงอายุและการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านจิตใจผู้สูงอายุในชุมชน ถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน โดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากภาวะเสื่อมทางร่างกายของผู้สูงอายุ จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติทั่วไป และมักจะไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางสาธารณสุข ส่งผลให้ขาดการดูแล รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ลดลงรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล จากผลการดำเนินงานผู้สูงอายุที่ผ่านมาในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ทำให้ทราบถึงปัญหาในการเข้าถึงบริการเสริมสร้างและฟื้นฟูสมรรถภาพ และขาดการรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสร้างเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำให้ขาดโอกาสในการรับการสร้างเสริมและฟื้นฟูสภาพร่างกายให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ดี จากการสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปันแตมีปัญหาด้านสุขภาพและมีวิธีดูแลสุขภาพของตนเองและของครอบครัวยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญได้แก่ การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น โรคไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดขา โรคกระเพาะ ปัญหาโรคติดต่อ โรคติดต่อ และปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อครออบครัวด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่าย และด้านจิตใจ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพของครอบครัวเมื่อเกิดการเจ็บป่วย พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่จะทราบวิธีการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ดี นอกจากนี้ยังมีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลฟื้นฟูผู้พิการเพื่อลดปัญหาแผลกดทับ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้องนี้อาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือทำให้เกิดความพิการมากยิ่งขึ้น ทั้งๆ ที่สามารถป้องกันหรือรักษาได้ ด้วยเหตุนี้ หากมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวและชุชนสามารถดูแลผู้สูงอายุได้ มีระบบการเฝ้าระวังดุแลปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่อาจเกิดขึ้น เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต มีผู้สูงอายุจำนวน 1,200 คน แบ่งเป็นผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียง จำนวน 46 คน ซึ่งพบว่ายังมีปัญหาสุขภาพอีกมากมายที่มีบริการด้านต่างๆ ยังเข้าไปไม่ถึง แต่เนื่องจากยังคงมีองค์กรต่างๆ ในชุมชนอีกมากมาย หากมีการพัฒนาศักยภาพให้สามารถดูแลผู้สูงอายุในชุมชนได้ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้สูงอายุในชุมชน ดังนั้นทางศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลปันแต เล็งเห็นความสำคัญต่อสุขภาพผู้สูงอายุรวมทั้งผลกระทบที่จะตามมา จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ระยะยาว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่(Care Giver) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะ ความมั่นใจในการดูแลผู้สูงอายุ ข้อ 2 เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวใน ชุมชน ให้เหมาะสมตามบริบท ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน
  1. Care Giver มีความรู้ ความเข้าในและมีทักษะ ความมั่นใจ ในการดูแลผู้สูงอายุ 2.ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนให้เหมาะสมตามบริบท
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 46
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/05/2020

กำหนดเสร็จ 20/05/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมจำนวน 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมจำนวน 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมจำนวน 2 วัน รายการที่ใช้จ่าย  20,160 บาท 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัด จำนวน 25 คน x   4 มื้อ x 25  บาทเป็นเงิน 2,500 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 2 มื้อ x 25 คน x 50บาท เป็นเงิน   2,500 บาท
3. ค่าวิทยากร จำนวน 12  ชั่วโมง x     300 บาท เป็นเงิน  3,600 บาท 4.ปากกาลบคำผิด  จำนวน 17 เล่ม  30 บาท เป็นเงิน 510บาท
5. ค่ากระเป๋าใส่อุปกรณ์เยี่ยมบ้าน จำนวน 17 ใบ x 250 บาท  เป็นเงิน 4,250 บาท 6. ค่าปรอทวัดไข้ จำนวน 17 อัน ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 6,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2563 ถึง 20 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 Care Giver ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ พึ่งพิงระยะยาวในชุมชนให้เหมาะสมตามบริบท 2 ครอบครัวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการเยี่ยมบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,160.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.Care Giver ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ
พึ่งพิงระยะยาวในชุมชนให้เหมาะสมตามบริบท
2. ครอบครัวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการเยี่ยมบ้าน


>