กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม. ป้องกันโรคติดต่อในชุมชน (63-l4123-02-13)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี

1.นางเสาร์แก้วเจ๊ะแม
2.นางสาวมาพูเซาะบาราเฮง
3.นางเจะแยแวนิซอ
4.นางหะมิดะกามา
5.นางฮาสนะเลาะยะผา

บ้านตะบิงติงงีต.ตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน โดยจังหวัดยะลาเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องทุกปีจึงได้มีการเน้นให้มีการควบคุมโรคมาลาเรียเป็นนโยบายหลักของงานด้านสาธารณสุข อำเภอบันนังสตา เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียของจังหวัดยะลา โดยเฉพาะในเขตตำบลตลิ่งชัน มีการระบาดมากที่สุด ในปี 2561 – 2562 มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียทั้งสิ้น 10 ราย โรคไข้เลือดออก 32ราย สาเหตุจากยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพพื้นที่ของตำบลที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของโรค นอกจากนี้พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย เช่น การนอนไม่กางมุ้ง เป็นต้นจึงทำให้โรคไข้มาลาเรียจะมีการระบาดตลอดปี และมีการระบาดในทุกกลุ่มอายุ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิงติงงี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการควบคุมปัญหาดังกล่าว จึงมีการจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคมาลาเรียขึ้น และเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนำโดยแมลง ดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายมีการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายมีความตระหนักและสามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียได้

100.00 80.00
2 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและยุงก้นปล่อง

ได้รับการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและยุงก้นปล่อง

100.00 90.00
3 เพื่อค้นหาผู้ป่่วยรายใหม่โดยการเจาะเลือดหาเชื้อมาลาเรียเพือจะได้รับการรักษาทันที

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาได้ทันทีส่งผลให้ลดการระบาดของโรคมาลาเรียในพื้นที่

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 290
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่ ค้นหา ผู้ป่วยรายใหม่

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ ค้นหา ผู้ป่วยรายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ไข้มาลาเรีย พ่นติดฝาผนังและพ่น UIV

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยรายใหม่ไข้มาลาเรีย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40010.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ Big Cleaning Day

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ Big Cleaning Day
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ Big Cleaning Day ในหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หมู่บ้านสะอาด ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ยุงพาหะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,260.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการป้องกันตนเองและครอบครัวส่งผลให้ลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย
2.ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย
3.ประชาชนที่ได้รับการเจาะเลือดและพบเชื้อ ได้รับการรักษาทันที


>