กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม. ตรวจคัดกรองความดันเบาหวานเชิงรุก (63-l4123-02-20)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

อสม.รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี

1.นางเสาร์แก้ว เจะแม
2.นางสาวมาพูเซาะบาราเฮง
3.นางสาวเจะแยแวนิซอ
4.นางหะมิดะกามา
5.นางฮาแอเสาะเตาะสาตู

บ้านตะบิงติงงี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ของคนตำบลตลิ่งชันในปัจุบันพบว่า โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำกับต้น ๆ ปัจจุบันคนตำบลตลิ่งชันมีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม เพิ่มขึ้นรับประทานผักผลไม้น้อยลงและขาดการออกกำลังกาย ในปี 2562 ชายมีรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร ร้อยละ 42 และเพศหญิงมีรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร ร้อยละ 24 ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการได้รับการคัดกรองจาก อสม. ในเขตรับผิดชอบและสามารถรู้ของการเกิดโรคได้รวดเร็ว และ อสม. มีการส่งต่อให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในกรณีที่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีดังนั้นชมรม อสม.รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ อสม. คัดกรองความดันเบาหวานเชิงรุก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองความดันเบาหวานและสามารถดูแลตนเองมีการป้องกันตนเองจากโรค

ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รบการคัดกรองโรคความดันและเบาหวานร้อยละ 90

100.00 90.00
2 เพื่อกลุ่มดีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความตระหนักในการดูแลตนเอง สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีเมื่อรู้ว่าเป็นโรค

ร้อยละ 90 ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

100.00 90.00
3 เพื่อให้ อสม. มีความใกล้ชิดกับประชาชนเกิดใกล้บ้านใกล้ใจ

ร้อยละ 90 อสม. สามารถดูแลผู้ป่วยความดันเบาหวานได้อย่างคลอบคลุม

100.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อสม.ตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
อสม.ตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม. ตรวจคัดกรองความดัน เบาหวาน เชิงรุกพร้อมจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการคัดกรอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วัสดุ อุปกรณ์ ใช้ในการคัดกรอง กลุมเสี่ยง กลุ่มป่วย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรความดัน และเบาหวาน ปีละ 1 ครั้ง
2.ร้อยาละ 50 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการวัดความดันที่บ้านปกติ
3.ประชาชนที่ได้รัยการคัดกรองความดันเบาหวานสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นโรคฯ


>