กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกปี 2563 (63-l4123-01-24)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี

บ้านตะบิงติงงี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน/สังคมตามลำดับ การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ข้อมูลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2559 - 18 ตุลาคม 2559 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 2,838 ราย อำเภอบันนังสตา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลา มีการระบาดของโรคไข้าเลือดออกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2558-2562 อัตราป่วย 81.50,204.60,43.89,101.88, และ 557.23 ต่อประชากรแสนคน ตามลัำดับ (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา,2563) จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกคาดการณืจะมีการระบาดอย่างต่อเนื่องในปี 2563 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา มี 13 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกระจายทุกหมู่บ้าน ปี 2562มีรายงานป่วย จำนวน 55 ราย สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดอกในเขตพื้นท่ีรับผิดชอบ ของรพ.สต.บ้านตะบิงติงี ตำบลตลิ่งชัน รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน คือ 1,8,11,13 พบผู้ป่วยทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 2558-2562 พบว่า มีอัตราป่วย 21.04,106.74,42.48,42.17,627.48 ต่อประชากรแสนคน (สสอ.บันนังสตา,2563) จากข้อมูลปี 2562 มีจำนวนผู้ป่วย 30 ราย แยกเป็น หมุ่ 1 จำนวน 2 ราย หมู่ท่ี 8 จำนวน 19 ราย หมู่ท่ี 11 จำนวน 6 ราย และหมุ่ที่ 13 จนำวน 3 ราย โดยอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลังจะเห็นได้ว่าการมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปีและระบาดต่อเนื่อง ดังนั้น รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี จึงได้มีโครงการชุมชนร่วมใจป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญ และมีความรู้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการป้องกันตนเองอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มวัย

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

100.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและให้ความร่วมมือสามารถดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกในครัวเรืองร้อยละ 90 (ค่า HI ไม่เกิน 10)

100.00 90.00
3 เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ประชาชนมีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายสมำ่เสมอ

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พ่นหมอกควัน

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นหมอกควันในกรณีที่มีโรคระบาดในตำบลตลิ่งชัน พื้นที่ ม.1,8,11,13 จำนวน 14 วัน และ โรงเรียน ศาสนสถาน ปีละ 2 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พื้นที่ได้รับการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11340.00

กิจกรรมที่ 2 ทำลายแหล่งเพาะพันธ์

ชื่อกิจกรรม
ทำลายแหล่งเพาะพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสมำ่เสมอในตำบลตลิ่งชัน 4 หมู่บ้าน พื้นที่ ม.1,8,11,13

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24528.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,868.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
2.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
3.ประชาชนเกิดพฤติกรรม ในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย


>