กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จุดตรวจมลายูบางกอกในเขตเทศบาลนครยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

จุดตรวจมลายูบางกอกในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ลำดับที่ 14ซึ่งในการนี้สถานการณ์การระบาดของโรคทวีความรุนรงเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้าง
ในการนี้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ทั้งยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง จึงมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการระบาดครั้งใหญ่และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้น การระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวจึงเป็นสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งต้องใช้มาตรการเข้มงวดและเร่งด่วน เพื่อควบคุมมิให้โรคแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง สถานการณ์ในประเทศไทยประกาศจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ล่าสุด ณ วันที่ 1 เมษายน 2563 มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 120 ราย ยอดสะสมจำนวน 1,771 ราย รักษาอยู่โรงพยาบาล จำนวน 1,343 ราย เสียชีวิตสะสม จำนวน 12 ราย สำหรับจังหวัดยะลามีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ) ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 ราย ยอดสะสมจำนวน 41 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 2 ราย เสียชีวิตสะสม จำนวน 2 ราย โดยผู้เสียชีวิตเป็นผู้ป่วยในจังหวัดยะลา และมีผู้ป่วยในอำเภอเมืองยะลาที่ต้องเฝ้าสังเกตอาการ (Home Quarantine) จำนวน 2,268 ราย มีผู้สัมผัสที่มีอาการจำนวน 62 ราย ที่ส่งตรวจหาเชื้อ COVID-19
ทั้งนี้ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงบริเวณจุดตรวจมลายูบางกอกเพื่อให้การเฝ้าป้องกันโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จุดตรวจมลายูบางกอกในเขตเทศบาลนครยะลาโดยอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2563 ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม2563)ข้อ 10/1 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ 3 เมษายน 2563

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 คัดกรองประชาชนบริเวณจุดตรวจมลายูบางกอก เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครยะลา

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1.ร้อยละ 80 ของประชาชนได้มีการคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 2. ร้อยละ 100 กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและส่งต่ออย่างเป็นระบบ
ตัวชี้วัดความพึงพอใจ 3. มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในจุดคัดกรองร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองประชาชนบริเวณจุดตรวจมลายูบางกอก เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครยะลา

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองประชาชนบริเวณจุดตรวจมลายูบางกอก เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครยะลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับเกิดความตระหนักและเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2. ประชาชนในบริเวณจุดตรวจมลายูบางกอก มีสุขภาพที่ดีปราศจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


>