กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พื้นที่รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าไร่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พื้นที่รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าไร่

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่

ในพื้นที่ตำบลป่าไร่ หมู1 - หมู่ 7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ได้ขยายวงกว้างขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของจํานวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรง และทางอ้อม จนทําให้ภาครัฐต้องออกมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยการสั่งปิด สถานที่เป็นการชั่วคราว การระงับการให้บริการของสถานบริการ การระงับการเดินทางระหว่างจังหวัด จนไปถึง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร และปัจจุบันกรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุขได้ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เป็นระดับ 3 เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและ ต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยบริหารจัดการทรัพยากร เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวัง ค้นหาผู้ป่วย โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสที่มาจากต่างประเทศ โดยเน้นการคัดกรองไข้ ณ ช่องทางเข้าออกประเทศและพื้นที่ จังหวัดที่มีจุดผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมสําหรับรับมือเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID 19) ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0211.3/ว 1538 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2563 เรื่อง การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID 19) ในพื้นที่จังหวัด ที่ได้สั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการตาม มาตรการคัดกรอง แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกําหนดอย่างเคร่งครัด ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) กําหนดให้องค์การบริหารส่วนตําบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และ พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) องค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการ รักษาพยาบาล เพื่อให้การดําเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในพื้นที่ตําบลป่าไร่ เป็นไป ตามนโยบายของรัฐบาลและมาตรการคัดกรอง แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ที่คณะกรรมการโรคติดต่อ แห่งชาติกําหนด องค์การบริหารส่วนตําบลป่าไร่จึงได้จัดทําโครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัส โคโรนา (CoVD 19)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้ไม่มีจำนวนผู้ติดเชื้ออัตราป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลป่าไร่ 2. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้ 3. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแล เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการสัมผัสโรค 4. เพื่อให้มีการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

1.ประชาชนมีความรู้ ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

2.ประชาชนสามารถป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,834
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 เจลล้างมือขนาด1,000ml 20 แกลอน 650 13,000บาท 2 ถุงมือยาง 5 กล่อง 195 975บาท 3 เครื่องวัดอุณภูมิหน้าผากอินฟาเรด 2 เครื่อง3,5007,000บาท 4 เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิร่างกาย 12 อัน 2402,880บาท 5 หน้ากากอนามัยทางการแพทย์4ชั้น 4 กล่อง 800 3,200บาท 6 หน้ากากอนามัยแบบผ้า2,800ชิ้น 10 28,000บาท 7 หน้ากากเฟสชิลล์ 100 อัน 10 1,000บาท 8 ชุด PPE 10 ชุด 700 7,000บาท 9 ถังฉีดฝอยละอองชนิดสะพายหลัง 3 ถัง2,0006,000บาท 10 น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 3 ลิตร1,9005,700บาท 11 แว่นตาป้องกันฝุ่นละออง 8 อัน 280 2,240บาท 12 หน้ากากชนิดไส้กรองเดี่ยวป้องกันสารเคมี 5 อัน 700 3,500บาท และเชื้อไวรัส รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 80,495บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
และลดความเสี่ยงในการสัมผัสโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
80495.00

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,495.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1ไม่พบอัตราป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลป่าไร่.
2. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
3. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแล เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการสัมผัสโรค
4. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>