กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยสมุนไพรไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 10 บ้านปากปิง

1.นางจ๊ะ ไชยแก้ว
2. นางสาลาบี ไชยแก้ว
3.นางรุ่งนภา แซ่ตัน
4.นางศรีเรือน กูลเกื้อ
5.นายดานัน โทนเพ็ง

พื้นที่ หมู่ที่ 10 บ้านปากปิง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยซึ่งเกิดตามการเปลี่ยนแปลงของวัยที่เพิ่มขึ้น ปัญหาการปวดเข่าเกิด จากหลายสาเหตุ เช่น จากการทำงาน มีการบาดเจ็บที่เข่า ข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักตัวมากเกินไป อายุที่เพิ่มขึ้นตามสภาพของร่างกาย เป็นต้น ปวดเข่ามักจะเป็นสาเหตุของอาการปวดที่พบได้มากในกลุ่มของผู้สูงอายุและอาจจะมีในกลุ่มของประชาชนทั่วไป

จากการสุ่มสอบถามปัญหาสุขภาพของประชาชนในกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านปากปิง จำนวน 100 คน ซึ่งมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวทางกาย (ปวดเข่า) จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 54.00 ซึ่งข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าอาการปวดเข่าเป็นปัญหาที่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษาที่ต่อเนื่อง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และเป็นปัญหากับการประกอบอาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนในพื้นที่จะประกอบอาชีพเกษตรกร ทำให้การใช้ร่างกายหนักขึ้น เป็นผลทำให้สมรรถภาพการทำงานของร่างกายลดลง แต่ไม่สามารถประกอบกิจกรรมได้ลดลงจากเดิม ทำให้ไม่มีความสุขเกิดความทุกข์จากอาการที่ปวด การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาตามอาการที่เน้นในทางบรรเทาอาการปวด และป้องกันการทำลายข้อเพิ่มมากขึ้น มีแนวทางการรักษาต่างๆ เพื่อควบคุมอาการปวดที่เกิดขึ้นคือเป็นการใช้ยา เช่นยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ยาคลายกล้ามเนื้อ การฉีดยา และอีกหนึ่งทางเลือก คือกายภาพบำบัด การใช้ความร้อนเพื่อบรรเทาอาการปวด หรือการให้คำแนะนำเกี่ยวกับลักษณะอาการโรค การปฏิบัติตัว เช่น การลดน้ำหนัก อิริยาบถที่ถูกต้อง หรือการทำงานที่เหมาะสม สำหรับการรักษาโรคในปัจจุบันประชาชนหันมาใช้บริการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น โดยในพื้นที่ตำบลกำแพงเองก็มีการปลูกสมุนไพรหลากหลายชนิดทั้งใช้ในการบริโภคและการรักษาโรคเบื้องต้น และลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นได้

ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย การนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์และปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคและบรรเทาอาการปวดเข่าของประชาชนในชุมชน จึงได้นำสมุนไพรมาทำลูกประคบ ยาฟอกเข่าและน้ำมันไพร เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ลดการติดของข้อต่อ ลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเส้นเส้นเอ็น หรือบริเวณข้อต่างๆ ช่วยทำให้ผ่อนคลายและคลายความเครียด เป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนและกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ และยังสามารถทำได้ขณะอยู่บ้าน เป็นการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น ลดค่าใช้จ่าย ลดการใช้ยาแก้ปวด และทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยการใช้สมุนไพรไทยในการรักษาและลดอาการข้อเข่าเสื่อม
  1. ประชาชนที่มีอายุ 40-60 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 10 ได้รับการตรวจคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 100

  2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวโรคข้อและกระดูก

  3. กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 มีอัตราการปวดเข่าลดลง

  4. กลุ่มเป้าหมายที่มีอาการปวดรุนแรง ได้รับการส่งต่อและรักษาทุกราย

0.00
2 เพื่อลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยยาแผนปัจจุบัน
  1. ปริมาณการใช้ยาแผนปัจจุบันลดลง

  2. ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 นำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/02/2020

กำหนดเสร็จ 25/02/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 40-60 ปี

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 40-60 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. การคัดกรองเบื้องต้น โดยการคัดเลือกประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 40-60 ปี

  2. การคัดกรองอาการโดยใช้แบบประเมินระดับคะแนนการปวด

  3. จากนั้นคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดกรองที่มีระดับคะแนนการปวด 4 – 10 คะแนน จำนวน 50 คน เข้าร่วมโครงการ

เป้าหมาย

  • ประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 40-60 ปี

งบประมาณ

  • ค่าแบบประเมินระดับคะแนนการปวด เป็นเงิน 500 บาท

รวมเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 40-60 ปี ได้รับการคัดกรองทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวโรคข้อและกระดูก และการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้น แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวโรคข้อและกระดูก และการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้น แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

วันที่ 1 (ครึ่งวัน)

  • บรรยาย เรื่องโรคข้อและกระดูก อาการ สาเหตุและการรักษา

  • บรรยาย เรื่องการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษา ลดอาการปวดเข่า

วันที่ 2 (1 วัน)

  • สอน/สาธิต ขั้นตอนการทำลูกประคบสมุนไพร น้ำมันไพรและยาฟอกเข่า

  • สอน/สาธิต วิธีการนวด บริเวณจุดที่มีอาการปวด

  • สอน/สาธิต ท่าการบริหารร่างกาย

เป้าหมาย

  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน50คน

งบประมาณ

วันที่ 1

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 55 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,375 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.5 x 3.0 เมตรเป็นเงิน 675 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ และเอกสารอบรม จำนวน 50 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 50 ชุดๆละ 2 บาท เป็นเงิน 100 บาท

วันที่ 2

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 55 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 2,750 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 55 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65บาท เป็นเงิน 3,575 บาท
  • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการทำลูกประคบสมุนไพร เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการทำน้ำมันไพร เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการทำยาฟอกเข่า เป็นเงิน 2,500 บาท

รวมเป็นเงิน 24,375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคข้อและกระดูก และการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24375.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • รณรงค์ให้ครัวเรือนในชุมชนปลูกสมุนไพร

กลุ่มเป้าหมาย

  • ครัวเรือนในชุมชนบ้านปากปิง

งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนในชุมชนปลูกสมุนไพร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ติดตามอาการกลุ่มเป้าหมาย เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง

  2. ประเมินอาการโดยใช้แบบประเมินระดับคะแนนการปวด แล้วบันทึกผล

  3. การลงพื้นที่เยี่ยมติดตามอาการผู้ป่วย โดยแกนนำอาสาสมัครสาธรณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมทั้งให้คำแนะนำเบื้องต้น

  4. กรณีที่พบกลุ่มเป้าหมายที่มีอาการปวดระดับ 10 มีอาการปวดรุนแรงประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งต่อให้แพทย์แผนไทย ตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา

  5. ประชุมคณะทำงานสรุปผลการติดตาม จำนวน 3 ครั้ง

เป้าหมาย

  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน50คน
  • คณะทำงาน จำนวน 10 คน
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงาน จำนวน 10 คนๆละ 3 ครั้งๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท

รวมเป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามอาการทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

เป้าหมาย

  • คณะทำงานโครงการ  จำนวน  5  คน

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานผลฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,625.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อและกระดูกและสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่าเบื้องต้น
2. อาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกายของประชาชนในชุมชน มีอัตราการปวดลดลง
3. ปริมาณการใช้ยาและค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคลดลง


>