กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการไสใหญ่วัยใส ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านไสใหญ่

1. นางสาวสุขศิริ ไตรสกุล
2. นางสาวจิรารักษ์ แก้วกุก
3. นางกมล หวันตาหลา
4. นายประวิทย์ จิตต์หลัง
5. นางสาวเบญจมาศ สาจิ

โรงเรียนบ้านไสใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงเรียนบ้านไสใหญ่ ได้ให้ความตระหนักและใส่ใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและบริเวณชุมชนรอบข้าง ทั้งในเรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและบริเวณโรงเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งการมีสภาพแวดล้อมที่ดีจะส่งผลที่ดีกับนักเรียน และโรงเรียนได้เฝ้าระวังเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียนมาตลอด ส่งเสริมการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไข ป้องกัน ให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี มีพัฒนาการที่สมวัย แม้ว่าที่ผ่านมาโรงเรียนได้จัดกิจกรรมที่แก้ไขเกี่ยวกับภาวะโภชนาการนักเรียนมาแล้ว แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่หมดไป ในปี 2563 คิดเป็นร้อยละ 34 ยังจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ยังมีนักเรียนที่อ้วนและผอมอยู่ เด็กกลุ่มนี้ยังขาดวินัยในการบริโภคอาหาร และเลือกกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์และขาดการออกกำลังกายเช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพช่องปาก และปัญหาสุขภาพช่องปากแม้ว่าทางโรงเรียนได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบนักเรียนกลุ่มนี้ ร้อยละ 43 สาเหตุมาจากพฤติกรรมชองนักเรียน ที่ไม่ใส่ใจเรื่องฟันของตนเองและไม่แปรงฟันหลังรับประทานอาหารหรือก่อนนอน จำเป็นอย่างยิ่งที่ทางโรงเรียนจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน และที่ผ่านมาครูได้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของตนเอง เช่น บางคนเล็บยาว เป็นเหา แต่งกายมาโรงเรียนไม่ค่อยเรียบร้อย เป็นต้น ซึ่งการปลูกฝังนิสัย ระเบียบที่ดีให้กับเด็กถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ และการส่งเสริมให้เด็กได้ดูแลสุขภาพของตนเองถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่สามารถช่วยลดการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น การฝึกให้เด็กล้างมือทุกครั้งก่อนรับระทานอาหารหรือหลังจากเข้าห้องน้ำ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้นับว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ทางโรงเรียนต้องดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง เพื่อสุขภาพที่ดีของนักเรียน

จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านไสใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียน เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ สุขภาพช่องปาก และการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียน และการดำเนินการแก้ไขจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้รับการส่งเสริมและแก้ไขให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  1. เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ร้อยละ 50 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ
  2. เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ร้อยละ 50 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ
  3. นักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการส่งเสริม แก้ไขและรักษาที่ถูกวิธี และมีจำนวนลดลง
  1. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100
  2. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงฟันและโรคฟันผุลดลง
0.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง
  1. นักเรียนและผู้ปกครอง ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองตามหลักสุขอนามัย
  2. นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 116
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ประชุมครั้งที่ 1 ชี้แจงรายละเอียดโครงการ งบประมาณและกิจกรรม ปรึกษาหารือวางแผนการดำเนินงานโครงการ

  2. ประชุมครั้งที่ 2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม ปัญหาสุขภาพของนักเรียน เพื่อหาแนวทางแก้ไข และสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา

เป้าหมาย

  • คณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน จำนวน13คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 13 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 650 บาท

  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เป็นเงิน 500 บาท

รวมเป็นเงิน 1,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน มีการวางแผนการดำเนินโครงการและสรุปการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1150.00

กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

  • อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก พร้อมทั้งจัดทำปฏิทินอาหาร แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์

  • สร้างแกนนำ อสม.น้อย ในโรงเรียน เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังด้านสุขภาพ และอบรมให้ความรู้

  • แกนนำ อสม.น้อยร่วมกับคณะครู ติดตามพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและบันทึกผล เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง

  • แกนนำ อสม.น้อย รายงานผลการติดตามและแจ้งให้คณะครูทราบ พร้อมทั้งลงเยี่ยมบ้านนักเรียนและแจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ

  • นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารทุกชั้นเรียน

  • โรงเรียนขอความร่วมมือจากร้านค้า สหกรณ์ จำหน่ายอาหารคุณภาพให้กับนักเรียน

2.ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียน

  • สร้างแกนนำนักเรียน เพื่อเป็นแกนนำในการออกกำลังกายให้กับนักเรียนคนอื่นๆ

  • โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กปลูกผักปลอดสารพิษ

  • ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เช่น เก็บขยะ รดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาดห้องน้ำ อาคารเรียน เป็นต้น


    เป้าหมาย จำนวน 80คน

    • นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 12คน

    • นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน28 คน

    • ผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์จำนวน40คน

    • แกนนำ อสม.น้อย จำนวน20 คน

งบประมาณ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการ แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 85 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,250 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครอง จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3.0 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 675 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าเอกสารบันทึกการติดตามภาวะโภชนาการ จำนวน 40 ชุดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท

อบรม อสม.น้อย จำนวน 20 คน

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

รวมเป็นเงิน 17,425 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17425.00

กิจกรรมที่ 3 สอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
สอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. เสริมการประกอบอาหารให้กับผู้ปกครองและนักเรียนโดยการทำกิจกรรมร่วมกัน

  2. สอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

ครั้งที่ 1 - เมนูโจ๊กไข่ดาว

  • เมนูสลัดผัก ผลไม้

ครั้งที่ 2 - ไอศกรีมกล้วยหอม

  • เกี๊ยวน้ำลอยทะเล

  • ลูกชิ้นสายรุ้ง


    เป้าหมาย

  • ผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์จำนวน40คน

  • นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการจำนวน 12คน

  • นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์จำนวน28 คน

งบประมาณ

ครั้งที่ 1 - เมนูโจ๊กไข่ดาว

  • เมนูสลัดผัก ผลไม้

  • ค่าวัสดุในการทำเมนูโจ๊กไข่ดาว เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าวัสดุในการทำเมนูสลัดผัก ผลไม้เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

รวมเป็นเงิน 5,200 บาท

ครั้งที่ 2 - เมนูไอศกรีมกล้วยหอม

  • เมนูเกี๊ยวน้ำลอยทะเล

    • เมนูลูกชิ้นสายรุ้ง
  • ค่าวัสดุในการทำเมนูไอศกรีมกล้วยหอม เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าวัสดุในการทำเมนูเกี๊ยวน้ำลอยทะเล เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าวัสดุในการทำเมนูลูกชิ้นสายรุ้ง เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

รวมเป็นเงิน 6,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองของกลุ่มเป้าหมายสามารถทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11400.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ตรวจสุขภาพช่องปากโดยบุคลากรสาธารณสุขหรือครู อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่งต่อนักเรียนเพื่อรับบริการทันต กรรม โดยคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาโรคในช่องปาก และประสานกับเจ้าหน้าที่และผู้ปกครองในการพาเด็กไปรับบริการหรือเชิญเจ้าหน้าที่มาให้บริการเพื่อส่งต่อ

  2. ควบคุมอาหารหรือขนมที่เป็นอันตรายต่อฟัน โดยการลดหรืองดการขายขนม/เครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อฟันในโรงเรียน และร้านค้าบริเวณโรงเรียน

  3. แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

  4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน สร้างความตระหนักให้แก่ผู้ปกครอง ครอบครัว และชุมชน ถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กโดยเฉพาะการแปรงฟันก่อนนอน ควบคุมหรือลดปริมาณการกินขนม/เครื่องดื่มของเด็ก

  5. ประกวด นักเรียนฟันดี เพื่อยกย่องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนคนอื่นๆ

  6. จัดทำป้ายทันตสุขศึกษา ขั้นตอนการแปรงฟันที่ถูกวิธีติดบริเวณจุดที่แปรงฟัน และจัดทำป้ายกติกาของโรงเรียนเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เป้าหมาย

  • นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก จำนวน50 คน

  • ผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก จำนวน50 คน

  • เด็กอนุบาล จำนวน 44คน

  • ผู้ปกครองเด็กอนุบาล จำนวน 44คน

งบประมาณ

อบรมนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก และผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก

  • ค่าแผ่นภาพโปสเตอร์ และวัสดุในการจัดทำสื่อแต่ละห้องเรียน เป็นเงิน 3,000 บาท
  • จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ทันตสุขภาพ(โฟมบอร์ด)ขนาด ๐.๘๐ x๑.๒๐ ตารางเมตร จำนวน3ป้าย เป็นเงิน 2,010 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าแปรงสีฟันสำหรับสาธิตการแปรงฟัน จำนวน 50 ด้ามๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่ายาสีฟัน จำนวน 6 หลอดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 360 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

อบรมผู้ปกครองเด็กอนุบาล

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครอง จำนวน 44 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

รวมเป็นเงิน 14,570 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14570.00

กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัยนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัยนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. จัดหลักสูตรอบรมนักเรียนที่เข้าใหม่ ชั้น ป.1 และหลักสูตรอบรมฟื้นฟูสำหรับนักเรียนเก่า ชั้น ป.2 – 6 ร่วมกับผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป.1 เกี่ยวกับหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ และฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพของตัวเอง

  2. จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล จัดอาคาร สถานที่ ให้ร่มรื่น สะอาดเป็นระเบียบ น่าอยู่ ปลอดภัย ใช้หลัก Green /Clean/Safetyจัดห้องน้ำ ห้องส้วมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะตามแนวดำเนินงานส้วมสุขสันต์ และการรักษาความสะอาด การกำจัดขยะที่ถูกวิธี

  3. ตรวจสุขภาพนักเรียนก่อน – หลังดำเนินโครงการ

  4. จัดทำป้ายขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้อง

  5. จัดตั้งชมรมออกกำลังกายประจำโรงเรียนเพื่อเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพ

เป้าหมาย

  • นักเรียน ป.1-ป.6 จำนวน116คน

  • ครู จำนวน10คน

  • ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน16 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 142 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,100 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครองนักเรียน ป.1 จำนวน 16 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 1,040 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ จัดทำโครงงานจุลินทรีย์พิทักษ์ส้วม (กากน้ำตาล EM บัวรดน้ำ ขวดพลาสติกบรรจุภัณฑ์)เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าป้ายโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์การใช้ส้วมอย่างถูก สุขอนามัยและสุขนิสัย ขนาด 0.60 x1.00 ตารางเมตรจำนวน2 ป้าย เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าป้ายโฟมบอร์ดขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้อง ขนาด 0.06 x1.00 ตารางเมตรจำนวน3 ป้าย เป็นเงิน 1,800 บาท

รวมเป็นเงิน 16,140 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16140.00

กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

4.1.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

4.1.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

เป้าหมาย  - คณะทำงานโครงการ  จำนวน  5  คน

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,685.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี และอยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมีจำนวนลดลงและได้รับการรักษาที่ถูกวิธี
3. นักเรียน ผู้ปกครองและครู มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยของนักเรียน และนักเรียนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้


>