กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวันตามรอยพ่ออย่างพอเพียง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าประดู่

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลท่าประดู่

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลท่าประดู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในโยบายให้ดำเนินการโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนเพื่อให้บริการนักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันอย่างเพียงพอ ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการ อันจะช่วยให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค และเมื่อนักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ย่อมส่งผลให้มีการพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญาดีขึ้นด้วย นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เต็มศักยภาพ
นอกจากจะพบปัญหาด้านโภชนาการในกลุ่มเด็กและเยาวชนแล้ว ยังพบว่าปัญหาด้านความปลอดภัยในอาหารถือเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากการตรวจพบสารพิษตกค้างในพืชผักที่ใช้ในการประกอบอาหารที่ส่งผลในระยะยาวต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน อันเนื่องมาจากการขาดการดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาหาร
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าประดู่ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการอาหารกลางวัน โดยให้ความสำคัญกับวัตถุดิบที่จะนำมาประกอบอาหารกลางวันที่ปลอดจากสารพิษเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และสนองตอบนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้ทำโครงการเกษตรปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน โดยมุ้งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ทำการเกษตรแบบอินทรีย์ รู้จักการทำนา ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ไข่ และเลี้ยงปลา เป็นต้น เป็นการสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร เพิ่มผักในเมนูอาหาร ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของผู้เรียน ลดภาวการณ์ขาดสารอาหารและภาวะโภชนาการที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทั้งยังสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนและชุมชน ขยายต่อความรู้ด้านการจัดการอาหารปลอดภัยนำกลับไปทำที่บ้าน เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารภายในครัวเรือน ขยายต่อเป็นอาชีพ เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนให้เกิดขึ้นภายในครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑. เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน
2. เพื่อให้นักเรียนบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นภายในโรงเรียนนำมาประกอบอาหาร
3. เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำการเกษตรอินทรีย์และขยายต่อไปยังครอบครัวและชุมชน
4. เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และสร้างเป็นอาชีพได้ในอนาคต

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 37
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การปลูกผัก

ชื่อกิจกรรม
การปลูกผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเพาะเห็ด การปลูกผัก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56515.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,515.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีภาวะโภชนาการดีอยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านการเกษตรพื้นฐาน รู้จักพืชผักต่างๆ
3. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน
4นักเรียนมีอาหาร พืชผักปลอดสารพิษสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน
4นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครอง


>