กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขรพ.สต.สบ้านตำเสา

1.นางสาวอรุณีเจ๊ะโซ๊ะ
2.นางสาวสุดารัตน์มะนอ
3.นางสุดาราหู
4.นางแวซอบารียะห์ อาแซ
5.นางสาวแมะยาสมาแอ

หมู่ที่ 2 บ้านกะดูนงหมู่ที่ 5 บ้านผ่านศีกหมู่ที่ 6 บ้านตำเสา ตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคCOVID -19

 

90.00

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ในประเทศไทย ข้อมูลจังหวัดนราธิวาส ณ วันที่ 22 เมษายน 2563 พบผู้ป่วยสะสม 11 ราย การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านตำเสา
อสม.ในเขตรพ.สต.บ้านตำเสา รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงด้านสาธารณสุข ตามมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมอนามัยและกระทรวงมหาดไทย ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก“Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหู่เป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) ดังนั้น กลุ่ม อสม ในเขตรพ.สต.บ้านตำเสา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) เพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)ข้อที่ 2. เพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคและเฝ้าระวังควบคุม การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด ข้อ 3 เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)

ประชาชนในเขตรพ.สต.บ้านตำเสาปลอดภัยจากโรคระบาด COVID-19

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การออกตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การออกตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การออกตรวจคัดกรอง โดยอสม.เดินเคาะประตูบ้าน  เพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID19) ให้กับประชาชนในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 1.เครื่องตรวจอุณภูมิร่างกายแบบยิ่งหน้าผาก จำนวน 3 เครื่องๆละ 3,500 บาทเป็นเงิน10,500บาท 2.แอลกอฮอล์เจล ขนาด 300 ml จำนวน 12 ขวดๆละ 250 บาทเป็นเงิน 3,000บาท 3.ถุงมือยาง จำนวน 12 กล่องๆละ 190 บาท เป็นเงิน 2,280 บาท 4.แอลกอฮอล์สเปรย์ขนาด 1,000ml จำนวน 12 ขวด ๆละ 390 บาท เป็นเงิน 4,680 บาท 5.หน้ากกากอนามัย จำนวน 12 กล่องๆละ 750 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท 6.ขวดสเปรย์ปล่าว จำนวน 150 ขวดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท เป็นเงิน33,210บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดความตื่นตระหนักของประชาชนและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33210.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ในเรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ในเรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ในเรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 1.ป้ายรณรงค์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จำนวน 3 ป้ายๆละ 1,000 บาท
เป็นเงิน3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,210.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID19) ให้กับประชาชนในชุมชน
2. ลดความตื่นตระหนักของประชาชนและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดได้


>