กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน

หมู่ที่ 4 บ้านต้นสน หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ และหมู่ที่ 13 บ้านทุ่งนายพัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก รวม 207 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ เรือ Diamond Princess เรือ Grands Princess และเรือ MS Zaandam ในวันที่ 21 เมษายน จำนวน 2,491,325 ราย มีอาการรุนแรง 57,338 ราย เสียชีวิต 170,634 ราย โดยประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยยืนยัน 10 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 792,938 ราย สเปน 200,210ราย อิตาลี181,228 ราย ฝรั่งเศส 155,383 ราย เยอรมนี 147,065 ราย สหราชอาณาจักร 124,743 ราย ตุรกี 90,980 รายจีน 83,829ราย (รวม ฮ่องกง 1,026 ราย มาเก๊า45 ราย) อิหร่าน 83,505 ราย และรัสเซีย 52,763 ราย( วันที่ 21 เม.ย.2563 เวลา 09.00 น.) สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 2,792 ราย รักษาหายแล้ว 1999 ราย เสียชีวิต 47 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 21 เมษายน 2563) จังหวัดพัทลุง มีการส่งตรวจผู้ป่วยทางห้องปฏิบัติการ 173 ราย มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคสะสม 155 รายกลุ่มผู้สัมผัสที่ไม่มีอาการ สะสม 18 รายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ไม่พบเชื้อสะสม 159 รายพบเชื้อสะสม 14 รายอำเภอที่มีการระบาดของโรคได้แก่ อำเภอกงหรา 7 ราย อำเภอควนขนุน 3 ราย อำเภอป่าบอน 3 ราย อำเภอปากพะยูน 1 รายพบเชื้อรายสุดท้าย เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ สถานประกอบการ สถานศึกษา หน่วยราชการ ร้านค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน จึงได้จัดทำ โครงการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2563 ขึ้น ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้น

ประชาชนมีคู่มือ ความรู้สำหรับประชาชน ในการการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทุกหลังคาเรือน

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มีทรัพยากร พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครัวเรือน หมู่ที่ 4 ,8และ 13 ตำบลโคกสัก 500
ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 56

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/05/2020

กำหนดเสร็จ 30/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้คู่มือให้ความรู้ สำหรับประชาชน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้คู่มือให้ความรู้ สำหรับประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำคู่มือให้ความรู้ สำหรับประชาขน จำนวน  500 เล่ม x 15.50 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2563 ถึง 29 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7750.00

กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อเช่น หน้ากาก N95 แอลกอฮอล์เจล สำหรับ อสม.และผู้นำชุมชน และ ส.อบต ฯลฯ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระท

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อเช่น หน้ากาก N95 แอลกอฮอล์เจล สำหรับ อสม.และผู้นำชุมชน และ ส.อบต ฯลฯ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

หน้ากากอนามัย ชนิด N95 จำนวน 56  ชิ้นๆละ 99 บาท        เป็นเงิน 5,544  บาท แอลกอฮอล์เจล ล้างมือ ขนาด 500 Ml จำนวน 36 ขวดๆ ละ 287 บาท           เป็นเงิน 10,332 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15876.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,626.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
2. ประชาชนในพื้นที่ ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>