กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ

-

เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง 1-3% ร้อยแรงน้อยกว่า SAR ซึ่งมีอัตราการตาย 10% ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้นถือว่าจำเป็น สำหรับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน คือ การคัดกรองผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน บูรณาการความร่วมมือของบุคลากรในหมู่บ้าน/ชุมชนทุกภาคส่วน ได้แก่ ข้าราชการ สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล คณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) ร่วมกันค้นหาคัดกรอง ว่ามีคนในหมู่บ้านที่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง เข้ามาพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน หรือไม่ ดังนั้น สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ ในช่วงที่ผ่านมาถึงองค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ ได้ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคระบาดดังกล่าวไปแล้ว ทั้งการจัดอบรมความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 อบรมการทำหน้ากากอนามัยให้ครู ก. เพื่อสอนประชาชนจัดทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า การสนับสนุนหน้ากากอนามัยแบบผ้าแก่ประชาชนในพื้นที่ การจัดหาเจลล้างมือให้แก่มัสยิด การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โรคและการป้องกันควบคุมโรค การจัดรถแห่ประชาสัมพันธ์ การทำความสะอาดมัสยิด และศูนย์เด็กเล็ก เป็นต้น แต่ยังมีอีกหลายกิจกรรมที่ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคระบาด เช่น เรื่องการคัดกรองโรค และการกักตัวของผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ซึ่งขณะนี้องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละยังขาดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานควบคุมโรคดังกล่าวอีกหลายอย่างเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ เช่น เครื่องตรวจวัดอุณภูมิ หน้ากากอนามัย ถุงมือ เป็นต้น นั้น องค์การบริหารส่วนตำบล กายูคละ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประกอบกับประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563ข้อ 10/1 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ จึงได้จัดโครงการมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อคัดกรองผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชน

ประชาชนในพื้นที่ไม่มีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1.00
2 2.เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

พื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนไม่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8,130
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ยาและไม่ใช่ยาที่จำเป็นในการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ยาและไม่ใช่ยาที่จำเป็นในการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อวัสดุในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต้องกักตัว และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง 1.ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบยิงหน้าผาก (จำนวน 3 เครื่องๆละ 4,000 บ.) เป็นเงิน 12,000.- บาท 2.ค่าเจลล้างมือ (ขนาด 500 มล.xจำนวน 130 ขวดๆละ 380 บ.) เป็นเงิน 49,400.-บาท 3.ค่าแอลกอฮอล์ (ขนาด 1 ลิตรxจำนวน 5 แกลลอนๆละ 980 บ. )เป็นเงิน 4,900.-บาท 4.ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต (จำนวน 1 เครื่องๆละ 2,500 บ.) เป็นเงิน 2,500.-บาท 5.ค่าน้ำยาทำความสะอาดพื้น 3 m (ขนาด 3.8 ลิตรๆละ 320x9 แกลลอน) เป็นเงิน 2,880.-บาท 6.ค่าน้ำยาฆ่าเชื้อคลอรีน 10% (ขนาด 5 ลิตรๆละ 550x10 แกลลอน) เป็นเงิน 5,550.-บาท 7.ค่าน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ (ขนาด 3.8 ลิตรๆละ 320x4 แกลลอน) เป็นเงิน 1,280.-บาท 8.ถุงมือทางการแพทย์ (จำนวน 15 กล่องๆละ 350 บ.) เป็นเงิน 5,250.-บาท 9.หน้ากาก N 95 (จำนวน 20 ชิ้นๆละ 300 บ.) เป็นเงิน 6,000.-บาท 10.ค่าขวดสเปรย์ (จำนวน 10 ชิ้นๆละ 35 บ.) เป็นเงิน350.-บาท 11.ค่าไฮเตอร์ (จำนวน 48 ชิ้นๆละ 30 บ.) เป็นเงิน1,440.-บาท
12.ค่าชุด ppe (จำนวน 5 ชุดๆละ 980 บ.) เป็นเงิน4,900.-บาท 13.ค่าถุงมือยาง(แบบยาว) (จำนวน 35 คู่ๆละ 95 บ.) เป็นเงิน 3,325.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
99775.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,775.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถคัดกรองผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชนได้เบื้องต้น
2.สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


>