กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาจวก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิง

ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพช่องปากมีผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของเด็กหากเด็กเล็กมีฟันผุในระดับที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือมีการติดเชื้อของฟัน จะมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก อาทิ การมีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าปกติ (Acsและคณะ, 1992, Ayhan, Suskan และ Yidrim, 1996) เพราะในภาวะที่เด็กมีความเจ็บปวดและอยู่ในระหว่างการติดเชื้อของฟัน เด็กจะรับประทานอาหารได้น้อยลง ในขณะเดียวกันอัตราการเผาผลาญพลังงานโดยรวมในร่างกายเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ รวมถึงการมีความเจ็บปวดทำให้รบกวนการนอน ส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการเติบโตของร่างกาย ทำให้มีผลต่อพัฒนาการของเด็กในที่สุด นอกจากนี้ในเด็กที่มีการสูญเสียฟันน้ำนมด้านหน้าบนไปตั้งแต่อายุน้อยๆ จะส่งผลต่อพัฒนาการในการพูดและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กอีกด้วย(Davies,1998)
จากการสำรวจข้อมูลการตรวจสภาวะช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านาจวก ปีการศึกษา 2562 โดยงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิง พบว่า เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาจวกมีฟันผุอย่างน้อยหนึ่งซี่ ร้อยละ 77.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ทางกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้
จากปัญหาดังกล่าวนับได้ว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดนั้นต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ นั่นคือ การส่งเสริมและป้องกันโรค โดยการเน้นการให้ความรู้เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายสนับสนุนงบประมาณ จึงจำเป็นต้องขอสนับสนุนงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพมาใช้ในการดำเนินโครงการ เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาข้างต้น
งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิงได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาจวกขึ้น โดยร่วมมือกับทางองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วงและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาจวกจัดทำโครงการและดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพเด็กดีขึ้น

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองมีระดับคะแนนของแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพเด็กอย่างน้อยร้อยละ 60 จากคะแนนเต็ม

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพ เด็กดีขึ้น

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองมีระดับคะแนนของแบบวัดทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพเด็กอย่างน้อยร้อยละ 60 จากคะแนนเต็ม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง - Pre-test ก่อนการให้ทันตสุขศึกษา - ให้ทันตสุขศึกษา - ฝึกแปรงฟันให้เด็ก - Post-test หลังการให้ทันตสุขศึกษา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง - Pre-test ก่อนการให้ทันตสุขศึกษา - ให้ทันตสุขศึกษา - ฝึกแปรงฟันให้เด็ก - Post-test หลังการให้ทันตสุขศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร 600 บ.x6 ชั่วโมง= 3,600 บ. ค่าอาหารกลางวัน 60 บ.x80 คน = 4,800 บ. ค่าอาหารว่าง 25 บ.x80 คน×2 มื้อ = 4,000 บ. ค่าวัสดุ
- สื่อให้ความรู้ (โรลอัพ) ขนาด 80×200 ซม. 2,200 บ.×3 ชิ้น = 6,600 บ. - โมเดลสอนแปรงฟัน
1,000 บ.×1 ชุด = 1,000 บ. - ชุดแปรงสีฟันเด็ก 45 บ.×80 คน = 3,600 บ. - ชุดแปรงสีฟันผู้ใหญ่ 55 บ.×80 คน = 4,400 บ. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 2×4 ม.
2,000 บ.×1 ป้าย = 2,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

80 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. ผู้ปกครองและเด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
๓. ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากดียิ่งขึ้น


>