กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นบาสโลบ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

ชมรมสุขภาพดีเริ่มที่ตัวเราเอง

1. นางสำรวย บุญคลองเตย
2. นางณัฐพัชร์ ชูคง
3. นางโชติกา สินจรูญวงศ์
4. นางอังคณา สมเสนาะ
5.นางอาภรณ์ ทองแสง

ชุมชนประชาสรรค์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

30.00
2 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

30.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

40.00
4 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

45.00
5 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

45.00

การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งภูมิต้านทานโรค สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลของประชาชน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เข้าร่วมการออกกำลังกายได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง มีสุขภาพทางกายและจิตที่ดีและห่างไกลยาเสพติดพร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างความรักความสามัคคีและสัมพันธภาพที่ดีต่อกันของสมาชิกในชุมชนและครอบครัวซึ่งที่ผ่านมาชุมชนประชาสรรค์และพื้นที่ใกล้เคียง ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยในชุมชนบ้านคลองแหและชุมชนใกล้เคียงมาอย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการชุมชน เครือข่ายสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห และประชาชนชุมชนประชาสรรค์ ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน จึงได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพแบบยั่งยืน เน้นการสร้างสุขภาพและเล็งเห็นว่ากิจกรรมการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ในรูปแบบบาสโลบการ แอโรบิก เพื่อสุขภาพ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน และหลอดเลือดสมองซึ่งในปีงบประมาณ 2563 กลุ่มชมรมสุขภาพดีเริ่มที่ตัวเราเอง เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพชุมชนประชาสรรค์และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆการมีสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และมีการเพิ่มกิจกรรมทางกาย พร้อมทั้งสร้างแกนนำในการออกกำลังกายของชุมชน ซึ่งชุมชนประชาสรรค์ได้ส่ง้สริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นบาสโลบ ซึ่งประชาชนในชุมชนและพื้นที่ข้างเคีงให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก โดยมีการเต้นทุกวันและจากการประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีสุขภาพโดยรวมดีขึ้นร้อยละ 70 และมีการออกกำลังกายในชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จากการประชุมประชาสรรค์และชุมชนข้างเคียง มีมติร่วมกันให้มีกิจกรรมนี้ต่อไป โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

30.00 40.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

45.00 35.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

45.00 35.00
4 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

40.00 50.00
5 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

30.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครสมาชิกรายใหม่เข้าร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครสมาชิกรายใหม่เข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครสมาชิกรายใหม่เข้าร่วมกิจกรรม

1.กิจกรรมรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมรายใหม่ และยืนยันสมาชิกในรายเก่า

-ค่าแบบฟอร์มในการสมัคร จำนวน 100 ชุด ชุดละ 1 บาท รวมเป็นเงิน 100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนชุมชนประชาสรรค์ และพื้นที่ใกล้เคียง รับทราบการดำเนินโครงการดังกล่าว

  2. มีจำนวนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ

-ค่าแผ่นไวนิล ขนาด 2x3 เมตร ตารางเมตรละ 120 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 720 บาท

  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1 คนๆละ 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท

-ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท/มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท

-แบบประเมินสุขภาพ จำนวน 100 ชุด เป็นเงิน 100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม

  2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3270.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  1. กิจกรรมการออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบ

-ค่าผู้นำออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงๆละ 300 บาท สัปดาห์ละ 3 วัน ไม่เกิน 4 สัปดาห์/เดือน รวม 5 เดือน เป็นเงิน 18,000 บาท

-ค่าน้ำดิ่ม (5 เดือน) เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพกาย และจิตใจดีขึ้น

2.จำนวนผู้เสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน)ลดลง

3.จำนวนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพและสรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพและสรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพและสรุปผลโครงการ

  1. กิจกรรมตรวจปีะเมินสุขภาพหลังเข้าร่วมกิจกรรมและคีย์ข้อมูลทางด้านสุขภาพให้กับสมาชิกชมรมและประชาชนในพื้นที่

  2. กิจกรรมประชาชนในชุมชนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประเมินสุขภาพ

  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1 คนๆละ 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท

  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท/มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท

-แบบประเมินสุขภาพ จำนวน 100 ชุดๆละ 1 บาท เป็นเงิน 100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจประเมินสุขภาพหลังจากเข้าร่วมกิจกรรม

  2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพให้ปลอดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน)

3.ประชาชนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงสนใจเข้า่ร่วมกิจกรรมมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,920.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ(ออกแบบละเอียด)
1. ประชุมกรรมการชุมชน เครือข่ายสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห และประชาชนชุมชนระชาสรรค์ เพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการ
2. ประชาสัมพันธ์ในชุมชนถึงการดำเนินโครงการ “โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห”และดำเนินการ รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการรายใหม่
3. ประเมินสภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน รอบเอว ก่อน - หลัง ดำเนินโครงการ
4. อบรมให้ความรู้ในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกวิธี และเหมาะสมกับวัย
5. ดำเนินการออกกำลังกายทุกวันและต่อเนื่อง จัดให้มีผู้นำการออกกำลังกายมานำการออกกำลังกายที่ถูกวิธีใน เวลา 18.00 น. - 19.30 น. อย่างน้อยสัปดาห์ละ ไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยมีผู้นำออกกำลังกายวันละ 1 คน
6. บันทึกจำนวนผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมทุกวัน
7. ประเมินผลก่อน – หลังดำเนินโครงการโดยการประเมินสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีการใส่ใจตัวเองในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

2.ประชาชนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายโดยการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆเพิ่มขึ้น

3.ประชาชนชุมชนประชาสรรค์และชุมชนใกล้เคียงมีสุขภาพกายจิตดี


>