กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะชุมชนป่ากัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

คณะทำงานเครือข่ายสาธารณสุขเทศบาลเมืองคลองแหชุมชนป่ากัน

1. นางสุวิมล อิ้วเส้ง ประธาน
2. นางอมร ยืนเพ็ง เลขานุการ
3. นางเหวียน อินทะมะโน กรรมการ
4. นางแดงคงมี กรรมการ
5. นางสาวธัญธิตาสารชู กรรมการ

ชุมชนป่ากัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

850.00
2 ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก (คน)

 

450.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองคลองแห มีแนวโน้มสูงขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาไปที่การกำจัดยุงตัวเต็มวัย การพ่นหมอกควัน เป็นต้น โดยไม่ได้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และไข่ลูกน้ำยุงลาย จึงทำให้มียุงรุ่นใหม่เกิดได้ตลอดช่วงเวลา จึงไม่สามารถขจัดโรคไข้เลือดออกให้หมดไปจากชุมชนได้
เครือข่ายสาธารณสุขเทศบาลเมืองคลองแหชุมชนป่ากัน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ในชุมชนป่ากัน ขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้น ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ลดอัตราการป่วยและลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเอง โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคและร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคและร่วมกับชุมชนบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

850.00 350.00
2 ลดอัตราป่วยด้วย โรคไข้เลือดออกในชุมชนประชาสรรค์และป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ลดอัตราป่วยด้วย โรคไข้เลือดออกในชุมชนประชาสรรค์และป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ ของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

300.00 600.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน 250
กลุ่มผู้สูงอายุ 200
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/06/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมอบรม/วางแผนทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมอบรม/วางแผนทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมอบรม/วางแผนทำงาน

  1. ประชุมวางแผนของคณะทำงานชุมชนเพลินจิต-เมืองใหม่ 5

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ประชุมเตรียมการ 1 ครั้ง(เครือข่ายสาธารณสุขเทศบาลเมืองคลองแห กรรมการชุมชน เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม) จำนวน 20 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท

2.ประชุมสรุปผลการดำเนินงานของคณะดำเนินงานของคณะทำงานชุมชนเพลินจิต-เมืองใหม่ 5

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ประชุมสรุปผลโครงการ 1 ครั้ง(เครือข่ายสาธารณสุขเทศบาลเมืองคลองแห กรรมการชุมชน เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม) จำนวน 20 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กรกฎาคม 2563 ถึง 2 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แผนการดำเนินงานป้องกันการเกิดโรคระบาดที่มียุงลายเป็นพาหะ

2.เตรียมกิจกรรมครัวเรือนต้นแบบปราศจากลูกน้ำยุงลาย

3.ประเมินสถานการณ์การโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

4.จัดการเตรียมแผนการรับมือในอนาคต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์และเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์และเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์และเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกิจกรรมรณรงค์ 4 ครั้ง (เครือข่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองคลองแห กรรมการชุมชน เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และประชาชน จำนวน 20 คนๆละ 25 จำนวน 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 2,000 บาท)

2.ค่าจัดไวนิล 4 ผืน (ขนาด 1.20 x 2.5 ม.) ตารางเมตรละ 120 บาท รวมเป็นเงิน 1,440 บาท

3.วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ - ไฟฉาย เป็นเงิน 1,000 บาท - ถ่านไฟฉายขนาด AA (1 กล่อง) เป็นเงิน 800 บาท

4.สารกำจัดลูกน้ำยุงลาย 4 ถังๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท

5.วัสดุโครงการ(แบบสำรวจลูกน้ำ ปากกา สมุด) รวมเป็นเงิน 2,000 บาท

กรณีบ้านกลุ่มเสี่ยง(ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ป่วยติดเตียง)

1.สเปย์ตะไคร้หอม จำนวน 150 ขวดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท

2.โลชั่นทากันยุง จำนวน 500 ซองๆละ 8 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจ โรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

2.ประชาชนมีความตระหนักรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

3.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะมีจำนวนลดลง

4.จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34240.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

1.สเปย์ตะไคร้หอม จำนวน 50 ขวดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,0000 บาท

2.โลชั่นทากันยุง จำนวน 400 ซองๆละ 8 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะลดลง

2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมครัวเรือนต้นแบบปราศจากลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมครัวเรือนต้นแบบปราศจากลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมครังเรือนต้นแบบปราศจากลูกน้ำยุงลาย

1.ค่าเกียรติบัตรพร้อมกรอบ จำนวน 5 ชุดๆละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีครัวเรือนตัวอย่างในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

2.จำนวนการครัวเรือนได้รับการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะเพิ่มมากขึ้น

3.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะมีจำนวนลดลง

4.จำนวนกลุ่มเสี่ยงลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,940.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดจำนวนผู้ป่วยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 50
2. ดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง และลดอัตราป่วยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
3. มีครัวเรือนต้นแบบในการใช้เป็นตัวอย่างแก่บ้านข้างเคียงได้


>