กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม . ห่วงใย ครอบครัวใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

ชมรมอสม.บ้านนาท่าม

ชมรมอสม.บ้านนาท่าม

รพ.สต.บ้านนาท่าม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดูแลสุขภาพถือเป็นความรับผิดชอบของบุคคลแต่ละคนโดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพซึ่งหมายถึง การกระทำของบุคคลที่มีผลต่อสุขภาพโดยแสดงออกให้เห็นได้ในลักษณะของการกระทำในสิ่งที่เป็นผลดีต่อสุขภาพและการไม่กระทำในสิ่งที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ แต่ในปัจจุบันมีพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพมากยิ่งขึ้น
โรคที่เกิดจากพฤติกรรมนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากขึ้นทุกปี เนื่องจากเป็นสาเหตุการป่วย พิการและเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันควรจำนวนมากได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และหนึ่งในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอย่างมากในปัจจุบันคือ พฤติกรรมการบริโภคโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย ทั้งในรูปของอาหารขนมเครื่องปรุงรสจากรายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของคนไทย การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 ในกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 2,696 คน อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป พบว่า คนไทยบริโภคโซเดียมจากอาหารเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 19-59 ปี บริโภคโซเดียมสูงถึง 2,961.9 – 3,366.8 มิลลิกรัม/วัน หรือประมาณ 1.5-1.8 เท่า ของปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน คือ ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วันและอันตรายของการบริโภคโซเดียมเกินความต้องการคือการก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมามากมาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้นเมื่อเกิดการเจ็บป่วยแล้วก็จะต้องมีการรักษาและการใช้ยาตามมา และแน่นอนว่าโรคหลายๆโรคเป็นโรคเรื้อรัง (Chronic disease) หมายถึง โรคที่เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการหรือต้องรักษาติดต่อกันนาน เป็นแรมเดือนแรมปี หรือตลอดชีวิต และปัญหาการใช้ยาก็จะตามมามากมาย เช่นปรับขนาดยาเองตามใจชอบด้วยความเชื่อที่ว่ารับประทานยามากไม่ดี เมื่ออาการดีขึ้นแล้วก็หยุดยาเอง นำยาของคนอื่นมาใช้ ด้วยความเอื้อเฟื้อจากเพื่อนบ้านหรือคนในบ้านเดียวกัน เมื่อฟังว่ามีอาการเหมือนกัน ก็ขอยาที่เพื่อนใช้มาทดลองใช้บ้างเก็บยาไม่ถูกต้องทำให้ยาเสื่อมก่อนถึงวันหมดอายุประสิทธิภาพยาลดลง
จากผลการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่ามอำเภอเมือง จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2563เป้าหมายการดำเนินงาน ๑,๘๖๑ คน สามารถดำเนินการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้๑,๘๐๙ คนคิดเป็นร้อยละ ๙๗.๒๐ สามารถจำแนกข้อมูลตามกลุ่มต่าง ๆ กล่าวคือ การตรวจคัดกรองเบาหวาน ทั้งหมด ๑,๕๐๙ คน พบปกติ ร้อยละ ๗๔.๕ ตาลในเลือดสูงกว่าปกติ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเบาหวาน ร้อยละ ๓,๕๗๖ ตรวจคัดกรองความดันโลหิตทั้งหมด ๑,๖๔๖ คน พบปกติร้อยละ ๗๓.๒๖ ความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๒๖.๗๓ มีผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในคลินิกโรคเรื้อรัง293 คน เป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง238 รายสามารถควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ได้ 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.54ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 55รายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ได้ 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 20 ซึ่งยังมีผู้ที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้อีกจำนวนมากโดยมีความเกี่ยวข้องทั้งการรับประทานยาอย่างถูกต้องตามแพทย์สั่งและที่สำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตัวผู้ป่วยเองโดยเฉพาะการรับประทานโซเดียมที่เกินค่ามาตราฐานในภาพรวมของระดับประเทศ
ดังนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่ามอำเภอเมือง จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการอสม. ห่วงใยครอบครัวใส่ใจสุขภาพขึ้นเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาระดับชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. สร้างเครือข่าย“ใช้ยาปลอดภัย อุ่นใจทุกครัวเรือน”เพื่อความเข้มแข็งในการเฝ้าระวังและจัดการยา/ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

มีเครือข่ายความเข้มแข็งในการเฝ้าระวังและจัดการยา/ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน 1 เครือข่าย

80.00 80.00
2 2. ลดการใช้ยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น ประมวลผลด้วยระบบฐานข้อมูลHosXp ไม่เกินร้อยละ 20

จำนวนการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นลดลง

20.00 20.00
3 เพื่อลดอัตราการสูญเสียยาโดยไม่จำเป็น

อัตราการใช้ยาที่ไม่จำเป็นลดน้อยลง

20.00 20.00
4 เพื่อให้ครอบครัวมีความตระหนักถึงอันตรายของการบริโภคโซเดียมที่มากเกินเกณฑ์

จำนวนครอบครัวที่ตระหนักถึงอันครายของการบริโภคโซเดียมที่มากเกินเกณฑ์

90.00 90.00

1. สร้างเครือข่าย“ใช้ยาปลอดภัย อุ่นใจทุกครัวเรือน”เพื่อความเข้มแข็งในการเฝ้าระวังและจัดการยา/ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน
2. ลดการใช้ยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น
3. ลดอัตราการสูญเสียยาโดยไม่จำเป็น
4.เพื่อให้ครอบครัวมีความตระหนักถึงอันตรายของการบริโภคโซเดียมที่มากเกินเกณฑ์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 29
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ติดตามเยี่ยมบ้าน แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้าน แลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานโครงการ
  2. จัดทำและขออนุมัติโครงการ และขอความร่วมมือในการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. เตรียมข้อมูล เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช่ในการดำเนินงาน
  4. จัดหาอุปกรณ์สำหรับการจัดตั้งเครือข่าย “ใช้ยาปลอดภัย อุ่นในทุกครัวเรือน”
  5. ดำเนินการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามการใช้ยาในกลุ่มโรคเรื้อรัง และสุ่มตรวจโซเดียมในอาหาร
  6. ให้คำแนะนำเรื่องการปฎิบัติตัวที่เหมาะสมสอดคล้องกับโรค เน้นเรื่องการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการบริโภคโซเดียมเกินเกณฑ์
  7. ดำเนินการรับคืนยาที่เกินความต้องการจากชุมชน
  8. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสรุปปัญหาที่พบ แนวทางการแก้ไขปัญหา งบประมาณ -ค่าอาหารว่าง1 มื้อๆละ25 บาท จำนวน 29 คน เป็นเงิน 725 บาท -ค่าป้ายไวนิลเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการอสม.ห่วงใย ครอบครัวใส่ใจสุขภาพ ขนาด 1.5 x 2 ม
    เป็นเงิน 540 บาท -ค่าแบบสอบถาม 186 ชุด ( 7 หน้า) ชุดละ 3.5 บาทเป็นเงิน 651 บาท -ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่องโซเดียม 650 ชุด(หน้า-หลัง)ชุดละ 1บาทเป็นเงิน 650 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สร้างเครือข่ายความเข้มแข็งในการเฝ้าระวังและจัดการยา/ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน 1 เครือข่าย
  2. ลดการใช้ยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น ประมวลผลด้วยระบบฐานข้อมูลHosXp ไม่เกินร้อยละ 20
  3. ลดอัตราการสูญเสียยาโดยไม่จำเป็น โดยผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรังนำยาที่เหลือใช้มาคืนในทุกรอบของการรักษา ร้อยละ100 4.เพื่อให้ครอบครัวมีความตระหนักถึงอันตรายของการบริโภคโซเดียมที่มากเกินเกณฑ์และทราบผลของโซเดียมในอาหารบ้านของตัวเอง โดยใช้เครื่องตรวจโซเดียมในอาหารประเมินผลร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2566.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 2,566.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

แกนนำสุขภาพสามารถนำความรู้ไปใช้สร้างสุขภาพที่ดีแก่ประชาชนในชุมชนได้


>