กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

รพ.สต.บ้านนาท่าม

1. นายบรรจบแก้วละเอียด
2. นางสาวอรณิชชายังช่วย
3. นางสาวสุปราณีเทพจันดา

รพ.สต.บ้านาท่าม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศ ไทย ซึ่งท้าให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็น อันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปาก มดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่ เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องท้าการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษา ให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จ้าเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทาง ตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ในเขตพื้นที่ รพ. สต.บ้านนาท่ามพบว่ากลุ่มเป้าหมาย568รายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในปี 2563 จำนวน53ราย คิดเป็นร้อยละ 9.33 กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่มารับบริการส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่สนใจและให้ความสำคัญ แต่จะมีเป้าหมายอีกกลุ่มที่ไม่ยอมเข้ารับการตรวจฯและจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองกลุ่มป้าหมาย 35 ปีขึ้นไปจำนวน 719ราย ได้รับการคัดกรองโดย อสม. 704 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.91 ไม่พบความผิดปกติ ร้อยละ 100( ข้อมูล HDC วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ) สิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอย่างหนึ่งคือความตระหนักและความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมหากชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองก่อนการเกิดโรคย่อมทำให้การดำเนินงานมะเร็งปากมดลูกง่ายขึ้นดังนั้น รพ.สต.บ้านนาท่ามจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2563ขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจโรคมะเร็ง สามารถป้องกัน และอยู่ร่วมกับมะเร็งได้ในกรณีป่วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

จำนวนผู้เข้าร่วมคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

20.00 20.00
2 2.เพื่อให้ผู้ที่มีผลการตรวจผิดปกติหรือสงสัยได้รับการส่งต่อและดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

จำนวนผู้ที่มีผลการตรวจผิดปกติหรือสงสัยได้รับการส่งต่อ

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. ตัวแทนหญิงอายุ 30 ปี ขึ้นไป
2. สตรีอายุ 30 -70 ปี หมู่ที่ 1,3,6,7

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ มะเร็งเพื่อนฉัน ”

ชื่อกิจกรรม
เวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ มะเร็งเพื่อนฉัน ”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
  2. จัดเวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ มะเร็งเพื่อนฉัน ”เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของโรคมะเร็ง อาการอาการแสดง การตรวจพบโรค การรักษาและการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมะเร็งอย่างมีความสุข จากผู้ป่วยจริง
  3. ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
  4. ส่งต่อผู้ที่มีผลการตรวจผิดปกติหรือสงสัย งบประมาณ
  5. ค่าป้ายไวนิลเวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ มะเร็งเพื่อนฉัน ” ขนาด 1.5X2 ม.ๆละ 150 บาทเป็นเงิน 450 บาท
  6. ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ มะเร็งเพื่อนฉัน ”จำนวน 60คน 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1500 บาท
  7. ค่าเอกสารแผ่นพับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ( หน้า – หลัง ) ใบละ 1 บาท650 ใบเป็นเงิน 650บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เฝ้าระวังการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกโดยการตรวจคัดกรอง      ร้อยละ 20
  2. ผู้ที่มีผลการตรวจผิดปกติหรือสงสัยได้รับการส่งต่อและดูแลรักษาอย่างเหมาะสม  ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 2,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนหญิงอายุ 30 ปีขึ้นไปปลอดภัยจากโรคมะเร็งและชุมชนมีความตระหนักต่อการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก


>