กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพคลินิกเบาหวาน ความดัน ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

รพ.สต.บ้านนาท่าม

1. นายบรรจบแก้วละเอียด
2. นางสาวอรณิชชา ยังช่วย
3. นางสาวสุปราณีเทพจันดา

รพ.สต.บ้านนาท่าม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นสถานบริการระดับปฐมภูมิ ที่ให้การดูแลสุขภาพประชาชนแบบองค์รวม เน้นบริการหลักในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของพื้นที่ทั่วประเทศที่คอยให้บริการทั้งเชิงรุก และเชิงรับเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดการ เจ็บป่วย ลดความพิการ และการสูญเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อการพัฒนาระบบบริการของคลินิกโรคไม่ติดต่อ (NCD) เป็นหัวใจสำคัญเชิงระบบ ส่งผลต่อกระบวนการ และคุณภาพของการให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่าม จึงได้ดำเนินงานคลินิก NCD คุณภาพ (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขึ้น เพื่อให้ รพ.สต. ประยุกต์ใช้ดำเนินงานพัฒนาคุณภาพของคลินิก NCD ปรับให้เหมาะสม ตามบริบทที่ที่แตกต่างกันนของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนสามารถนำไปปรับใช้กับโรคไม่ติดต่ออื่น ๆ ได้ จะเป็นประโยชน์ในการสร้างโอกาสพัฒนาคุณภาพระบบบริการของคลินิก NCD ใน รพ.สต.ต่อไป ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่ามให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน293คนแบ่งเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง238 คน ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 55คนและมีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงมารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังใน รพ.สต. เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจากการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในปี 2562 พบกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 113 คน และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 3 คนคิดเป็นร้อยละ2.65กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 80 คนพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 7 คนคิดเป็นร้อยละ8.75
ปัจจุบันแม้ว่าการรักษาโรคเบาหวานใน รพ.สต. จะดีขึ้น กล่าวคือ มีแพทย์ออกให้บริการตรวจรักษาถึงในระดับ รพ.สต. บางส่วนแต่ระบบการติดตามดูแลฟื้นฟู การให้ความรู้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิต และสังคม ภายหลังการรักษา ก็ยังมีระบบที่ไม่ดีเพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังดังกล่าว มีภาวะแทรกซ้อน เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น รพ.สต.บ้านนาท่ามจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการตามเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนผู้ป่วยได้รับบริการตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยจัดบริการตามมาตราฐาน NCD clinic ร้อยละ100

100.00 100.00
2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความรุนแรงของโรค โดยใช้แบบประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80

จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความรุนแรงของโรค

80.00 80.00
3 3. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคและสามารถดูแลสุขภาพตนเองอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยได้รับการประเมินCVD risk ร้อยละ100

จำนวนผู้ป่วยที่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างมีความสุข

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 63
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดคลินิกNCDคุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดคลินิกNCDคุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทุก 1 เดือน
  2. เรียนรู้การควบคุมความดันโลหิตผ่านการตรวจวัดระดับโซเดียมในอาหารเป็นประจำทุกเดือน
  3. จัดการเรียนรู้ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การควบคุมระดับความดันโลหิตผ่านกลุ่มย่อยตามความสมัครใจโดยคัดเลือกจากกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถควบคุมระดับความดันได้
  4. เสริมสร้างแรงจูงใจในการควบคุมระดับความดันโลหิตในแต่ละเดือน
  5. จัดอาหารว่างสำหรับผู้ป่วยในคลินิก งบประมาณ ค่าอาหารว่าง 63 คน ๆ ละ25 บาท 8 เดือน เป็นเงิน 12600บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการตามเกณฑ์มาตรฐาน NCD clinic ร้อยละ100
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความรุนแรงของโรค โดยใช้แบบประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80
  3. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคและสามารถดูแลสุขภาพตนเองอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยได้รับการประเมินCVD risk ร้อยละ100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยได้รับบริการตามเกณฑ์มาตรฐาน NCD clinic ร้อยละ100
2. ผู้ป่วยมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความรุนแรงของโรค โดยใช้แบบประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80
3. สามารถลดภาวะแทรกซ้อนของโรคและสามารถดูแลสุขภาพตนเองอยู่ได้อย่างมีความสุข
โดยได้รับการประเมินCVD risk ร้อยละ100
4. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีสุขภาพดี ห่างไกลจากภาวะแทรกซ้อน


>