กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตำบลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน 6 บ้านกันขี้เหล็ก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด มีอัตราป่วย๑๑๙.๑๐ , ๗๐๘.๗๔ ,๙๐๑.๓๑ ต่อแสนประชากรตามลำดับและสำหรับอัตราตาย๘๕.๐๔ , ๓.๖๔ , ๕๕.๒๙ ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๐)ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่การขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มันจัดเค็มจัดหวานจัด รวมทั้งกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุราจากผลการสำรวจของกรมอนามัยในปี๒๕๕๐พบว่า คนไทยมีเพียง ๕ ล้านคนเท่านั้นที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้
อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านกันขี้เหล็ก ตำบลดอนทราย ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวประกอบกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงได้มีนโยบายให้สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งในสังกัด พัฒนาหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบเป็นหมู่บ้านต้นแบบลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านกันขี้เหล็ก จึงได้จัดโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดประจำปี๒๕63ขึ้น โดยดำเนินการในพื้นที่ ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓-๕ วัน ๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาทีควบคู่ไปกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละครึ่งกิโลกรัม หรือรับประทานผักในปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ และลดการรับประทานอาหารไขมันอันจะนำไปสู่การลดความความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด และประชาชนมีสุขภาพดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆ ละ อย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อย ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป
  1. ประชาชนออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆ ละ อย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อย ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป ร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
  1. มีภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อย่างน้อย ๔ ภาคี
0.00
3 3.เพื่อให้เป็นตำบลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
  1. เป็นตำบลต้นแบบปรับเปลี่่ยนพฤติกรรมลด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
1.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าทำป้ายไวนิล ขนาด 2*4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน   1,200  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 2 2.ประชุมให้ความรู้คณะทำงานเพื่อกำหนดกรอบ แนวทางในการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
2.ประชุมให้ความรู้คณะทำงานเพื่อกำหนดกรอบ แนวทางในการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ จำนวน 30 คนๆละ ๑ มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน  750  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมการอบรมให้ความรู้สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย - รุ่นละ 50 คน

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมการอบรมให้ความรู้สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย - รุ่นละ 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ ๑ มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน  7,000  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ จำนวน 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน  5,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 4 4. จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ผักสนับสนุนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
4. จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ผักสนับสนุนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก (ผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง มะเขือ) จำนวน  ๕ ชนิดๆ ละ ๑๐๐ ซองๆละ ๑๐  บาท  เป็นเงิน  ๕,๐๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค
2. ประชาชนมีการนำความรู้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ
3. ประชาชนมีพฤติกรรมออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
4. ประชาชนมีพฤติกรรมการกินผัก ผลไม้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


>