กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนโอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุข สวย รวย ดี สุขกาย สุขใจ สุขเงิน สุขสามัคคี บ้านดอนเรือ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนโอง

บ้านดอนเรือ

นายพชรพลบุตรศาสตร์
นายคำสิงห์ขนันแข็ง
นางพัฒนาทวีศักดิ์
นายบุญล้อมมะโน
นายสายทองทิพโชติ

บ้านดอนเรือ หมู่ที่ 1 ตำบลดอนโอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

45.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

20.00

สถานการณ์ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้ หรือเรียกว่าโรควิถีชีวิตซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญลำดับต้นๆที่ระบาดอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตที่คาดว่าจะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหากปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินไปโดยมิได้ดำเนินการสกัดกั้นปัญหาอย่างจริงจังซึ่งแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ได้ต่อยอดความคิดเชิงลึกในแต่ละประเด็นปัญหาสานต่อแนวคิดสุขภาพพอเพียงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา สร้างสมดุลการพัฒนาในทุกมิติและสร้างภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งให้กับคนไทยและประเทศผ่านมุมมองแบบบูรณาการเป็นองค์รวมในบริบทแวดล้อมที่กว้างขวาง การสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของประชาชน ที่มีความชัดเจนของเป้าหมาย การพัฒนาที่มุ่งสร้างวิถีชีวิตที่พอเพียงเพื่อการมีสุขภาพที่ดีของคนไทยด้วยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกระดับทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศให้ก้าวไปสู่ระบบสุขภาพพอเพียงและสังคมอยู่เย็นเป็นสุขและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรังมาโดยตลอด ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ โดยได้ดำเนินโครงการที่หลากหลาย ได้แก่ ๑) โครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ.๒)โครงการหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ๓) โครงการคนไทยไร้พุง ๔) โครงการสุขภาพดีวิถีไทย ๕)โครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ๖) โครงการเด็กไทยไม่กินหวาน ๗)การจัดมหกรรมสุขภาพดีวิถีไทย วิถีพอเพียง การดำเนินงานดังกล่าว พบว่ามีความก้าวหน้าในการดำเนินงานในเบื้องต้นคือ ประชาชนในหมู่บ้านต้นแบบมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมขึ้นทั้งด้านการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร และการจัดการสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี รวมทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบจึงเห็นได้ว่าควรมีการพัฒนาโครงการให้ต่อเนื่อง
ตำบลดอนโอง ได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ เครือข่ายสุขภาพตำบลได้รับการสนับสนุนจากทุกหมู่บ้านและได้ขยายหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดีเพิ่มเติมทั้งนี้การประสานงานได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ในการร่วมดำเนินการซึ่งได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนโอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนโอง กศน.ตำบลดอนโอง และ

- ๒ –
โรงเรียนในพื้นที่ เป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถดูแลส่งเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพปัญหาวิถีชีวิต และบริบทของชุมชน ส่งเสริมการออกกำลังกาย และพัฒนาเป็นชุมชนพอเพียงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมแบบบูรณาของชุมชน ทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

45.00 60.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/06/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายตามกลุ่มวัย

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายตามกลุ่มวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การรวมกลุ่มออกกำลังกายในกลุ่มวัยทำงาน จำนวน 40 คน * ค่าอาหารว่าง 25 บาท * 12 ครั้ง = 12,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มวัยทำงานมีการรวมกลุ่มออกกำลังกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมการออกกำลังกายและส่งเสริมสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมการออกกำลังกายและส่งเสริมสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การรวมกลุ่มออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัยและส่งเสริมสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน* อาหารว่าง 25บาท*4ครั้ง  =4,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายสุขภาพที่เหมาะสมตามวัยและมีการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 3 การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดซื้อวัสดุด้านเพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารที่เหมาะสมต่อการบริโภค
   -ค่าวัสดุพันธุ์พืชผักสวนครัว(ผักชี ผักชีหอม โหระพา พริก ฯลฯ) = 1,850 บาท    -ค่าวัสดุงานเกษตร ถังหมักชีวภาพ ถุงดำ ดินปลูก ปุ๋ยคอก ถุง กระถาง = 3,500 บาท    -ค่าวัสดุเชื้อเพลิงรณรงค์ทำความสะอาด วัสดุกำจัดยุงลายและแมลงนำโรค = 5,750 บาท    -ค่าวัสดุงานบ้านงานครัวสำหรับรณรงค์ทำความสะอาด(ถุงดำ ไม้กวาด) = 1,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หมู่บ้านมีการผลิตอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพไว้รับประทานเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริม ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริม ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ความรู้ การส่งเสริมออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 ป้าย*600 บาท=1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีความรู้ ความเข้าใจ ในการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามกลุ่มวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในหมู่บ้านลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือด
2.ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน


>