กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงห่างไกลโควิด 19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน

ชื่อองค์กร กลุ่มคน (ระบุ 5 คน) 1. นางอุมา รินชะ 2.นายประสิทธิ์ เหล็มนุ้ย 3.นางสาวนัยนา จันทร์ชู 4.นางสุดารัตน์ แก้วรอด 5.นางสาวยุพยงค์ เพชรสังข์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

COVID-19 เป็นเชื้อไวรัสชนิดใหม่ในกลุ่มโคโรนา (coronavirus) ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World health organization ; WHO) ได้ประกาศว่า COVID-19 ได้มีการระบาดและเป็นภาวะฉุกเฉินของโลก รวมถึงยังไม่มียารักษาที่ เฉพาะเจาะจง เชื้อนี้สามารถติดต่อได้ในทุกกลุ่มอายุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (มากกว่า 80%) ไม่แสดงอาการหรือมีอาการคล้าย ไข้หวัดเพียงน้อยนิด ซึ่งสามารถดูแลรักษาตามอาการ โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบผู้ป่วยที่มี อาการรุนแรง 15 % และ ผู้ป่วยเข้าขั้นวิกฤตประมาณ 5 % บางรายอาจมีอาการอื่นๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ หรือท้องเสีย โดยอาการอาจแสดงออกได้หลังจากรับเชื้อนี้ ภายใน 3-7 วัน แต่ในบางรายอาจใช้เวลาถึง 14 วัน จึงจะแสดงอาการ COVID-19 แพร่กระจายผ่านละอองอากาศที่กระจายตัวเมื่อผู้ติดเชื้อพูด จามหรือไอ และสามารถอยู่รอดได้ในสิ่งแวดล้อมขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและชนิดของวัสดุต่างๆดังนั้นมันจึงสามารถแพร่ผ่านการสัมผัสได้อีกด้วย เช่น การ ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับหยดอากาศในสภาพแวดล้อมหรือพื้นผิวต่างๆ และจากนั้นสัมผัสปากหรือจมูกทำให้มีการติดเชื้อได้ คำแนะนำของประเทศส่วนใหญ่ถือว่ากลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคหอบหืด เป็นผู้มีภาวะเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่ายและอาจมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป สำหรับผู้เป็นเบาหวานที่มีการติดเชื้อ การรักษาจะมีความซับซ้อนและระมัดระวังมากกว่าคนปกติเนื่องจาก ระดับ น้ำตาลที่ผันผวนค่อนข้างสูง ร่วมกับโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และยังมีสาเหตุอื่นๆอีก ได้แก่ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ต่ำลงทำให้ยากต่อการต่อสู้กับไวรัส
ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยจากโรคโควิด-19 (COVID-19) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน จึงได้จัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงห่างไกลโควิด 19 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์
2. เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 149
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/06/2020

กำหนดเสร็จ 10/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดซื้ออุปกรณ์ในการติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่บ้าน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดซื้ออุปกรณ์ในการติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่บ้าน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(๑) เครื่องวัดความดันโลหิตราคาเครื่องละ 2,500 บาท จำนวน 4 เครื่อง  เป็นเงิน    10,000   บาท          (๒) เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดราคาเครื่องละ 2,800 บาท จำนวน 2 เครื่อง เป็นเงิน    5,600    บาท          (3) กระเป๋าปฐมพยาบาล ราคาใบละ 1,800 บาท จำนวน 4 ใบ               เป็นเงิน    7,200    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2563 ถึง 10 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ ร้อยละ 40
  2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ตามเกณฑ์ ร้อยละ 50
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยเจ้าหน้าที่ค่าชุดอุปกรณ์เยี่ยมบ้านสำหรับเจ้าหน้าที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยเจ้าหน้าที่ค่าชุดอุปกรณ์เยี่ยมบ้านสำหรับเจ้าหน้าที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(๑) กระเป๋าปฐมพยาบาล  จำนวน 1 ใบ                                          เป็นเงิน    1,800    บาท          (๒) เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 1 เครื่อง                                    เป็นเงิน    2,500    บาท          (3) หูฟังทางการแพทย์  จำนวน 1 เครื่อง                                        เป็นเงิน    4,900     บาท          (4) เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง                                เป็นเงิน    2,800     บาท          (5) เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟาเรด จำนวน 1 เครื่อง                  เป็นเงิน    3,000     บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2563 ถึง 10 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.  ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการเยี่ยมบ้านในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์
2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ตามเกณฑ์
3. ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลง


>