กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

การให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและภัยสุขภาพแก่ประชาชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านโฮ่ง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลี้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและภัยสุขภาพแก่ประชาชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านโฮ่ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลี้

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปวงคำ

1.นายม้วนอุปปินใจ
2.เสน่ห์มะโนจิตต์

วัดบ้านโฮ่ง หมู่ที่ 11ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ(ไข้หวัดใหญ่) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง,อาหารเป็นพิษ) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก,) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านโฮ่ง ตำบลลี้จึงได้จัดทำโครงการ การให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและภัยสุขภาพแก่ประชาชน เพื่อส่งเสริมแกนนำสุขภาพประจำบ้านและผู้สนใจสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่ออบรมให้ความรู้แก่แกนนำและประชาชน ในการดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพ 3. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
  1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับอัตราป่วยที่คำนวณมาจากค่ามัธยฐานผู้ป่วยย้อนหลัง 5 ปี
  2. ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน House Index น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10
  3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่เกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
  4. ลดเหตุการณ์การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ/โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ร้อยละ 50 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วิธีดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
วิธีดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงาน ๑. ประชุมทีม อสม., สำรวจ วางแผน วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพเพื่อจัดทำโครงการ ๒. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ๓. นำเสนอแผนงานงาน/โครงการ/กิจกรรมให้คณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา ๔. ดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ 4.1. ประชุมชี้แจงแนวทางกับแกนนำ อสม.ระดับหมู่บ้าน 4.2. แจ้งผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ
4.3 จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคติดต่อและภัยสุขภาพ 4.4. ประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และ กำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยตนเองสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 4.5. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านโดยอสม./จนท./ผู้นำชุมชน
เดือนๆละ 1 ครั้ง หากเป็นพื้นที่เกิดโรค เดือนละ 2 ครั้ง 4.5. ประชาสัมพันธ์เรื่องโรคติดต่อและภัยสุขภาพให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบอย่างต่อเนื่องและ
      ทันเหตุการณ์ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และคนชุมชนได้ 4.6. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปและประเมินผลการดำเนินงาน 5. ประเมินผลโครงการ 6. สรุปผลโครงการ ส่งให้กับ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลี้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคติดต่อและการดูแลสุขภาพที่ทันเหตุการณ์ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และคนชุมชนได้
  2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร่วมป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและภัยสุขภาพแก่ประชาชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและภัยสุขภาพแก่ประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

08.00 - 08.30 น.        ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 08.30 – 09.00 น.    ทำแบบทดสอบและประเมินตนเอง 09.00 – 10.30 น    บรรยายความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก 10.30 - 12.00 น.    บรรยายความรู้เรื่องโรคอุจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ 12.00 – 13.00 น.    พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.30 น.    บรรยายความรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ 14.30 – 15.30 น.    บรรยายความรู้เรื่องภัยสุขภาพอื่นๆ (หมอกควัน, ฮีทสโตรก)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคติดต่อและการดูแลสุขภาพที่ทันเหตุการณ์ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และคนชุมชนได้
  2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร่วมป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 งบประมาณ

ชื่อกิจกรรม
งบประมาณ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลี้ จำนวน 10,450 บาท รายละเอียดดังนี้ 1.ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการอบรม  จำนวน 80 คน ๆ ละ 1 มื้อ
มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรม  จำนวน 80 คน ๆ ละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 3.ค่าป้าย ไวนิล โครงการ ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 450 บาท
4.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,450 บาท (หนึ่งหมื่นสี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคติดต่อและการดูแลสุขภาพที่ทันเหตุการณ์ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และคนชุมชนได้
  2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร่วมป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคติดต่อและการดูแลสุขภาพที่ทันเหตุการณ์ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และคนชุมชนได้
2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร่วมป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>