กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้านภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาแบง

1.นายเจ๊ะกาก กองบก ประธานศูนย์
2. นายดนหมาดหนาบ เกษม กรรมการ ตัวแทนผู้ปกครอง
3. นางสาวฝาตีหมะ เวชศักดิ์ กรรมการ หัวหน้าสถานศึกษา
4. นางสาวธิดารัตน์ หนูหมาด กรรมการครู
5. นางสาวฮาซีซ๊ะ แสะหมูดกรรมการเลขานุการ ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก

ศ฿นย์พัฒนาเด็กเล็ดบ้านกาแบง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โภชนาการที่ดีเป็นรากฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพที่ดีโดยเฉพาะเด็กวัยเรียน เนื่องจากเด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสที่จะต้องส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ หากเด็กได้รับอาหาร ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี และผอม หากขาดสารอาหารเป็นเวลานานเรื้อรัง จะทำให้เด็กเตี้ย ส่งผลต่อการพัฒนาสมองโดยระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่มีเด็กที่ส่วนสูงตามเกณฑ์พัฒนาการล่าช้า อีกทั้งเด็กที่มีภาวะเตี้ยมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคเรื้องรังเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่นโรคอ้วน เบาหวานความดันโลหิตสูง ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กในวัยเรียนได้กินอาหารในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดี มีส่วนสูงในระดับดีและรูปร่า ครบถ้วน งสมส่วน รวมทั้งป้องกันปัญหาภาวะทุกโภชนาการ (อ้วน ผอม เตี้ย ) ได้จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี2560พบภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอายุ6-14 ปีสูงดีสมส่วนเพียงร้อยละ65.1 ภาวะผอมเริ่มอ้วน และเตี้ยพบร้อยละ5.11.2 และ5.1 ตามลำดับ
ดังนั้นการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชทุกวันนาการ ครบถ้วน เหมาะสม ตามวัย ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดีทั้งร่างกายและสมอง โดยเด็กวัยเรียนควรดื่มนมจืดวันละ 2แก้วหรือ 400 มิลลิลิตรทุกวัน รวมถึงการนอนหลับที่มีคุณภาพอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงจะมีผลต่อความสูงที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ควรให้กินไข่ วันละ 1 ฟอง เพราะไข่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายมีแร่ธาตุและวิตามิน ช่วยเพิ่มความจำและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก นอกจากนี้ยังพบปัญหาว่าเด็กวัยเรียนบริโภคผัก ผลไม้น้อยกว่าปริมาณตามคำแนะนำ
จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าวทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาแบง ซึ่งมีเด็กทั้งหมดจำนวน 34 คน รวมทั้งปัญหาทางด้านทุพโภชนาการซึ่งมีเด็กอ้วนร้อยละ 5.12เด็กเสี่ยงอ้วนร้อยละ 5 .12 เด็กค่อนข้างเตี้ยร้อยละ 12.8 เด็กเตี้ยร้อยละ 10.25 และเด็กปกติสมส่วนร้อย 74.35สาเหตุส่วนใหญ่มจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมไม่ได้รับอาหารเช้า เนื่องจากเด็กบางคนไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ พ่อแม่ไปทำงานต่างจังหวัดรวมทั้งปัญหาครอบครัวพ่อแม่แยกกันอยู่ ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาแบงจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพด้านภาวะทุกโภชนาการ เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนเติบโตเต็มศักยภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงต่อไปในอนาตค อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อเฝ้าระวังภาวะทุกโภชนาการของเด็ก
  • มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของเด็กในวัยเรียนที่มีปัญหา
0.00
2 2เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และเข้าใจถึงภาวะโภชนาการของเด็กในวัยเรียน
  • ผู้ปกครองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจด้านภาวะโภชนาการที่เหมาะสมและมีการบริโภคที่ถูกต้อง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 25
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดหาอาหารให้กับเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
จัดหาอาหารให้กับเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดหาอาหารเช้าให้กับเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ  จำนวน 25คน×25 บาท × 19 มื้อ

จำนวน 11,875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้รับอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11875.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการเฝ้าระวังในเด็กภายในศูนย์และบันทึกผลภาวะทุกโภชนาการ

เป้าหมาย

เด็กที่มีปัญหา จำนวน ๒๕ คน

ไม่ขอใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของเด็กในวัยเรียนที่มีปัญหา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาอุปกร์ในการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
จัดหาอุปกร์ในการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ - ค่าจัดซื้อเครื่องชั่ง น้ำหนัก จำนวน 1 ชิ้นจำนวน 1,500 บาท

  • ค่าจัดซื้อเครื่องวัดส่วนสูง จำนวน 1 ชิ้น  จำนวน  1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลและรายงานการจัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลและรายงานการจัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำรายงาน เข้าเล่ม จำนวน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานผลการทำกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,475.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการเฝ้าระวังและประเมินภาวะโภชนาการเด็กในวัยเรียนทุกคน

2. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการชั่งน้ำหนักส่วนสูงทุกคน

3. เด็ก ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการของเด็กในวัยเรียน

4. กลุ่มเด็กที่มีปัญหาภาวะทุกโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสมและอยู่ในเกณฑ์ปกติ


>