กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสกัดกั้นนักดื่มรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดการถึงแหล่งจำหน่าย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มดื่ม) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตนเพื่อฝึกความสามารถในการควบคุมตนเอง/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ/การตัดสินใจ/การปฏิเสธ/การจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
5. ขอความร่วมมือร้านค้าชุมชนไม่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี และห้ามขายตามเวลาที่กฎหมายกำหนด
stars
แนวทางดำเนินงาน : 2. เพื่อจัดบริการช่วยเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มที่ดื่มแบบเสี่ยง/แบบอันตรายและแบบติดสุราเรื้อรัง
label_important
วิธีการสำคัญ
เกณฑ์การวินิจฉัยการติดสุรา
• ต้องเพิ่มปริมาณการดื่มมากขึ้น
• มีอาการทางร่างกายเมื่อไม่ได้ดื่ม
• ควบคุมการดื่มไม่ได้
• หมกมุ่นอยู่กับกับการดื่ม
• พยายามเลิกหลายครั้งแล้ว แต่เลิกไม่สำเร็จ
• มีความบกพร่องในหน้าที่ทางสังคม/การงาน
• ยังคงดื่มอยู่ทั้งๆ ที่มีผลเสียเกิดขึ้นแล้ว

วิธีการ

1. เน้นการค้นหาและวินิจฉัยผู้มีปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะการดื่มแบบเสี่ยงและแบบอันตราย) ร่วมกับการทำฐานข้อมูล ของผู้ดื่มในชุมชนที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
2. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน เช่น Mobile Clinic และการบำบัดแบบสั้น ที่เน้นการดูแลให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ดื่มแอลกอฮอล์
3. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงาน โดยสามารถใช้เครื่องมือในการคัดกรองชนิดต่างๆ การติดตามเยี่ยมเยียนผู้มารับบริการในกลุ่มที่ดื่มแบบเสี่ยง/แบบอันตราย/แบบติด
4. การจัดบริการส่งต่อผู้ดื่ม ที่มีอาการทางจิตประสาทและไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ หรือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยานานในขณะถอนพิษสุรา โดยเน้นการรักษาระยะยาวสำหรับผู้ที่ติดสุราเพื่อไม่ให้กลับไปใช้สุราอีก
stars
แนวทางดำเนินงาน : พัฒนาทางเลือกในการช่วยลด ละหรือเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามบริบทชุมชน เช่น หมู่บ้านรักษาศีลห้า
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือกเพื่อช่วยเลิกที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. พัฒนาทีมงานจิตอาสาในการค้นหาผู้ดื่มที่สร้างปัญหาและทำให้เกิดผลกระทบในชุมชน
3. การออกแบบโปรแกรมที่ดำเนินการโดยชุมชน เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มของบุคคล
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสร้างและพัฒนามาตรการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ทั้งผู้บริโภคและผู้ขาย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. มีคณะกรรมการชุมชน ที่ทำหน้าที่กำหนด/ประกาศ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มในชุมชน เข่น งดดื่มในงานบุญ งานวัด งานแต่ง งานประเพณี และเทศกาลรื่นเริง
2. การประกาศและการบังคับใช้ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมทั้งการบริโภคและการจำหน่ายในชุมชน เช่น การไม่ขายให้เด็กและเยาวชน และขายตามช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
3. มีกรรมการชุมชนทำหน้าที่ติดตามประเมินผล การปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
4. กำหนดมาตรการชุมชนโดยการไม่รับการอุปถัมภ์กิจกรรมด้านกีฬาหรือด้านศิลปวัฒนธรรมที่มาจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. ให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาต หรือสั่งปิดร้านจำหน่ายสุราที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
6. สนับสนุนให้ดื่มและจำหน่ายเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ (nonalcoholic cocktail) ในทุกกิจกรรมของชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อลดความรุนแรงจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เช่น การเกิดอุบัติเหตุจราจร การทะเลาะวิวาท การทำร้ายร่างกาย)
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำกับควบคุมโดยคณะกรรมการชุมชน เช่น มาตรการในการป้องกันปัญหาจากการขับรถขณะเมาสุรา (กฎการดื่มไม่ขับ) การมีจุดสุ่มตรวจแอลกอฮอล์ในชุมชน การติดตามประเมินความเรียบร้อยในชุมชนจากเหตุทะเลาะวิวาท หรือ การทำร้ายร่างกายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. การสร้างเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ สายด่วนชุมชน กรณีเกิดการก่อเหตุความรุนแรงในครัวเรือนที่มาจากการดื่มสุรา
3. การจัดกองทุนหมู่บ้านเพื่อการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยผู้ก่อความเสียหายมีส่วนร่วมในการจ่ายค่าชดใช้ (การลงโทษทางสังคม)
4. กำหนดมาตรการ การเพิกถอนหรือระงับใบขับขี่ การปรับ การให้ทำงานรับใช้ชุมชนเมื่อดื่มแล้วขับ ถ้าระดับแอลกอฮอล์เกินกำหนด เช่น หากผู้ขับขี่ที่อายุไม่ถึง 20 ปีถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 1 การป้องกันการระบาดของโควิด-19
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโควิด-19
1.1 การเผยแพร่สื่อป้องกันโรคโควิค-19 ให้เข้าถึงประชาชนในชุมชน เช่น สื่อเอกสารจากเว็ปไซด์ไทยรู้สู้โควิด โดย สสส.หนังสั้น คลิปสั้น ที่เป็นสื่อเข้าใจง่าย เป็นภาษาท้องถิ่นและคนทั่วไปเข้าใจง่ายนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง
1.2 ประชาสัมพันธ์ดูแลตนเองเพื่อป้องกันโควิด-19 ผ่านการจัดรายการวิทยุชุมชน การใช้เสียงตามสาย เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้คนทั่วไปได้ตระหนักในการป้องกันตนเองจากโควิด-19
1.3 เผยแพร่คู่มือคำแนะนำในการจัดการโควิด-19 แจกจ่ายตามสถานที่ ได้แก่ คู่มือการป้องกันและจัดการโควิด-19 ในที่สาธารณะ (ตลาด สถานีขนส่ง) ในศาสนสถาน ในบ้าน ในชุมชน และในกรณีการจัดงานพิธีต่างๆ เช่น งานศพ ตัวอย่างสื่อ ได้แก่ ตลาดปลอดภัย ลดเสี่ยงโควิด-19 พ่อค้าแม่ค้า เจ้าของตลาด และผู้ปฏิบัติงานในตลาด
1.4 เผยแพร่สื่อคู่มือ โปสเตอร์ สำหรับประชาชน โดยใช้ภาษาท้องถิ่น เข้าใจง่าย ในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ 7 ท่า นานอย่างน้อย 20 วินาที ตามที่กรมอนามัยแนะนำ การใส่-ถอดหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การผลิตหน้ากากผ้า การสังเกตอาการเบื้องต้นและการตัดสินใจไปพบแพทย์ การปฏิบัติตนเมื่อกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง การจัดการขยะอุปกรณ์ปนเปื้อน เช่น หน้ากากอนามัย สำหรับชุมชน
1.5 เผยแพร่คู่มือ สื่อ การป้องกันโควิด-19 ตามหลักศาสนา การเยียวยาจิตใจในผู้ป่วยผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
1.6 สร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกิดการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ให้ทานอาหารครบห้าหมู่ มีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ เข้มงวดในการสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ล้างมือบ่อย ๆ ทุก ครึ่ง -1 ชั่วโมง รวมทั้งการงดเหล้าและบุหรี่
1.7 รณรงค์ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในบ้านที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มวัย การลดเหล้าหรือบุหรี่ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิต้านทาน ผ่านสื่อออนไลน์
1.8 เตรียมความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่แพทย์เมื่อมีการเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสกับผู้ป่วย
1.9 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรคทั้งระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน การจัดทำหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ รวมทั้งการทำความสะอาดบ้านและพื้นที่ที่มีคนใช้บ่อย ด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำ หรือน้ำยาซักผ้าขาว ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เท่ากับแอลกอฮอล์ 70%
1.10 พัฒนาระบบแอพลิเคชั่น เว็ปเพจการซื้อขายสินค้าออนไลน์ การควบคุมราคา และมาตรฐานคุณภาพสินค้าด้านโภชนาการ
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการจัดการโควิด-19
2.1 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ทีมอสม. ชรบ. อปพร. ให้มีทักษะที่จำเป็น เช่น การวัดไข้ การสังเกตอาการป่วยเบื้องต้น การให้คำปรึกษาแนะนำคนในชุมชนต่อการป้องกันโควิด-19 การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และการสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนให้รู้ว่าโควิด-19 ไม่ได้น่ากลัวและน่ารังเกียจ แต่รักษาหายได้ เพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยโดยไม่แบ่งแยก
2.2 จัดทำระบบการส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ให้ถึงมือแพทย์เร็วที่สุด โดยเริ่มจากผู้ป่วยเริ่มสงสัยตัวเองและไปพบแพทย์ การจัดการรถรับส่งในกรณีผู้ป่วยที่เดินทางลำบากไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือไม่มีญาติพี่น้อง
2.3 พัฒนาศักยภาพเยาวชนและผู้ที่สนใจทั่วไปจัดทำสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวกับการป้องกันโควิด-19 เช่น การทำคลิปวิดีโอ การทำเสื้อ การจัดการประชุมออนไลน์ เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเองจากโควิด-19 และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้
2.4 อบรมเชิงปฏิบัติการให้เครือข่ายต่าง ๆ ในชุมชนเตรียมการเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในช่วงโควิด-19 เรื่องการปลูกผัก เพาะพันธุ์พืชผักไว้ทานเอง การเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การแปรรูปสินค้าและอาหารสด การถนอมอาหาร และการเตรียมให้มีอาหารไว้ในครัวเรือน การทำอาชีพเสริม รวมทั้งการจัดการด้านการเงินในระดับครัวเรือนและชุมชน
3. การสร้างสภาพ แวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19 และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 การจัดเตรียมสถานที่กลางในหมู่บ้านหรือตำบล หรือสถานประกอบการลักษณะห้องพัก รีสอร์ทที่สมัครใจเข้าร่วม เพื่อกักตัวกลุ่มเสี่ยง และผู้สัมผัสใกล้ชิด
3.2 การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด ห้องน้ำสาธารณะ ศาสนสถาน เพื่อฆ่าเชื้อโรค และจัดตั้งเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรืออ่างล้างมือและสบู่ไว้ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง
3.3 การปรับรูปแบบตลาด แหล่งจำหน่ายสินค้า ให้มีระยะห่างของร้านค้า ผู้ขาย-ผู้ซื้อ อย่างน้อย 1-2 เมตร สร้างวินัยการมีระยะห่างเข้าแถวซื้อสินค้า วัดไข้ก่อนเข้าตลาด หรือจัดทำตลาดออนไลน์
3.4 การหาจิตอาสา ที่สมัครใจในการช่วยเหลืองานโควิด-19 และการบริจาคอาหาร อุปกรณ์ สิ่งของที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนคนทำงาน กลุ่มเปราะบาง ผู้ยากจน
3.5 จัดทำโครงการ matching model (การพัฒนาระบบตลาดครบวงจร) จับคู่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค ช่วยพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพ การจำหน่ายที่ได้ราคา จัดทำตลาดกลางในหมู่บ้านเป็นแหล่งกระจายสินค้า
3.6 พัฒนาศักยภาพแกนนำ คณะกรรมการกองทุนฯ ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร การประชุมผ่านออนไลน์
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19
4.1 จัดทำข้อตกลง ธรรมนูญ มาตรการชุมชน ที่คนในชุมชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกันจัดทำขึ้น
4.2 มีมาตรการและด่านคัดกรอง ป้องกันโควิด-19 ในชุมชน จัดทำข้อตกลง social distancing การรักษาระยะห่างทางสังคมอย่างน้อย 1 เมตร
4.3 จัดทำแผนฟื้นฟูชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบทั้งระยะต้น ระยะกลาง และระยะยาว
4.4 ทบทวนกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน และจัดตั้งกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือในช่วงที่ไม่มีรายได้ และพักชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนในชุมชน
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการโควิด-19
5.1 สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงาน ผู้นำชุมชน อสม. อาสาสมัคร จัดตั้งเป็นคณะกรรมการเฝ้าระวัง คัดกรอง และติดตามค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน
5.2 สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย และผู้สัมผัสเพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนรับมือกับโรค โควิด-19
5.3 จัดทำแผนชุมชนในการป้องกันโควิด-19
5.4 สร้างหรือพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน ทั้งด้านการเฝ้าระวังการระบาด การสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน เช่น ระบบแอพฯ NIEMS-Care เพื่อเฝ้าระวังการระบาดระดับครัวเรือน โดยประชาชนรายงานสถานะสุขภาพประจำวัน ทีมตำบลสามารถเห็นข้อมูลครัวเรือนว่าอยู่ในสถานะเขียว เหลือง ส้ม แดง; ระบบแอพฯ greens mile เพื่อใช้เป็นข้อมูลกลางของเกษตรกรที่ทำเรื่องอาหารปลอดภัย เก็บข้อมูลร่วมกัน ดูข้อมูลร่วมกันและวางแผนการผลิตร่วมกันกับพื้นที่ที่อยู่ในโซนใกล้เคียงกัน รวมทั้งใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนผลผลิต
5.5 สนับสนุนกลไกทางศาสนา เช่น ชมรมอิหม่ามระดับอำเภอ ในการตีความและสื่อสารนโยบายต่างๆ มาตรการใช้หลักศาสนา คำสั่งจากทางจังหวัด และสำนักจุฬาราชมนตรี สำนักอิสลามประจำจังหวัด ในการป้องกันโควิด-19 ลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ เช่น การประกาศขอความร่วมมือในการงดละหมาดวันศุกร์ งดการละหมาดในช่วงรอมฏอน
5.6. การสร้างเครือข่าย อสม.เพื่อจัดส่งยารักษาต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
5.7 การสร้างระบบบริการส่งต่อผู้ป่วยโรคไตเพื่อการเข้าถึงการฟอกไต
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 2 การแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารในการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
1.1 เผยแพร่ข้อมูลโควิด-19 เกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค-19 อาการ กลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการคัดกรอง การปฏิบัติตนขณะเป็นโควิด-19 พฤติกรรมที่ควรเลี่ยง พฤติกรรมที่ต้องปฏิบัติ การกักตัว การรักษา เพื่อให้คนในชุมชนรับรู้ ตระหนัก แต่ไม่ตระหนก อาจเผยแพร่โดยกลุ่ม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์ชุมชน/รถแห่
1.2 เผยแพร่ความรู้แก่คนที่ไม่เป็นโรค ในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับผู้ป่วย และหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหายแล้ว (ไม่ตื่นตระหนก และไม่แสดงออกถึงการรังเกียจ) โดยทีม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์/รถแห่
1.3 สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชน ต่อการเข้ามาของคนที่มาจากพื้นที่เสี่ยงสูงแล้วต้องมากักตัวในพื้นที่ ไม่ให้รังเกียจหรือต่อต้านการเข้าพื้นที่ อาจใช้การประชุมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้และรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะของคนในชุมชนด้วย
1.4 สร้างความเข้าใจกับครอบครัวที่มีสมาชิกเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง ต่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เช่น การให้คนที่เดินทางมาได้กักตัว การเว้นระยะห่างทางสังคม การจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับใช้ส่วนตัว โดยทีม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์
1.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศพแก่ญาติ กรณีมีการเสียชีวิตด้วยโควิด-19 โดยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ กลุ่มอสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
2.1 จัดกระบวนการให้กลุ่ม หน่วยงานต่างๆ มีแผนมีโครงการควบคุมโควิด-19
2.2 ในการทำโครงการให้มีกระบวนการเก็บข้อมูล วางแผนโดยใช้ข้อมูล นำแผนสู่การปฏิบัติ มีการติดตามประเมินผล (PDCA)
2.3 ให้ความรู้และสนับสนุนต่อแกนนำ/กลุ่ม ให้มีทักษะในการเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19 และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 ใช้รูปแบบการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นผ่านการโทรศัพท์ การสื่อสารทางไลน์ แทนการติดต่อแบบเผชิญหน้า เพื่อสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยโควิด-19
3.2 การทำกิจกรรมร่วมกันผ่านสื่อต่างๆ เช่น ออกกำลังกายร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ รับประทานอาหารร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ (Zoom, facebook live, Line, chat)
3.3 ระดมทุนในชุมชนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงที่ถูกกักตัวและผู้ป่วยขณะถูกกักโรค
3.4 ชุมชนให้การช่วยเหลือ ดูแล และเอาใจใส่ครอบครัวที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามความเหมาะสม
3.5 จัดสถานที่/พื้นที่กักตัวผู้ป่วยให้เหมาะสม (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
3.6 จัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยเพื่อลดความเครียดขณะรักษาตัว เช่น การมีกิจกรรมทางกายที่เอื้อต่อผู้ป่วยที่ถูกกักตัวพร้อมๆ กันผ่านการวิดีโอคอล การเปิดกลุ่มสนทนา การประสานให้ญาติที่ไม่เก่งด้านเทคโนโลยีได้คุยกับผู้ป่วย ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อลดความเครียดและสร้างกำลังใจ
3.7 ชุมชนช่วยกันจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการป้องกันโควิด-19 แจกจ่ายคนในพื้นที่ให้เพียงพอ เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ
3.8 รับสมัครจิตอาสาในการดูแลผู้ถูกกักตัว รวมทั้งการระดมทุน รับบริจาคอาหารเพื่อคนยากลำบากที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหาร จากผลกระทบจากโควิด-19 ในรูปการตั้งโรงทาน ตู้ปันสุข ในชุมชน
3.9 การทำความสะอาดสถานที่เสี่ยงต่อการมีโควิด-19 ในชุมชน เช่น ตลาดนัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล รวมทั้งการกำจัดขยะที่อาจปนเปื้อนโควิด-19 โดยหาข้อมูลได้จากhttps://multimedia.anamai.moph.go.th/
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
4.1 สร้างข้อตกลง ความร่วมมือในการงดกิจกรรมการรวมตัว
4.2 สร้างมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในกรณีงานชุมชน งานประเพณีตามวิถีปกติใหม่ (New Normal)
4.3 สร้างข้อตกลงกับโรงเรียน/ที่ทำงานในชุมชน หยุดเรียน/หยุดงาน/อนุญาตให้กลุ่มเสี่ยง Work Form Home ได้
4.4 สร้างข้อตกลงในการรวมกลุ่ม ให้สวมหน้ากากอนามัยทุกคน และจัดสถานที่นั่งให้ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร และมีเจลล้างมือบริการ
4.5 มีมาตรการให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ถูกกักตัวและผู้ติดเชื้อโควิด-19 เช่น สนับสนุนของใช้ส่วนตัว อาหารที่มีประโยชน์ ค่าชดเชยการขาดรายได้
4.6 มีมาตรการให้การช่วยเหลือ ดูแล และเอาใจใส่ครอบครัวที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เช่น ผู้ป่วยอยู่กับหลาน ชุมชนควรให้การช่วยเหลือดูแลหลานขณะที่ยายต้องรักษาตัวให้หายจากโรค
4.7 ชุมชนมีมาตรการต้อนรับผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 กลับสู่ชุมชน (ไม่ตีตราผู้ป่วย)

5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
5.1 การทำระบบข้อมูลรายชื่อและจำนวนสถิติผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ป่วยสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต และผู้ป่วยที่กลับบ้านได้ รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงรอการยืนยัน ของแต่ละวัน แยกตามพื้นที่
5.2 นำข้อมูลที่ได้มาวางแผนแก้ไขโควิด-19 ทำแผนชุมชนในการป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟู ชุมชนในการจัดทำโมเดลชุมชนจัดการโควิด-19 โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทั้งนี้อาจใช้การประชุมออนไลน์
5.3 มีการแบ่งบทบาทการทำงานในลักษณะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปทำงานเพื่อลดความเครียด เช่น ฝ่ายจัดซื้อของ ฝ่ายสถานที่ การอยู่เวรกลางวัน กลางคืน ฝ่ายสาธารณสุข
5.4 กำกับติดตามและประเมินผลตามแผนงานอย่างใกล้ชิด
5.5 ถอดบทเรียนผลที่เกิดขึ้น ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค เพื่อปรับปรุงแก้ไข และสร้างโมเดลต้นแบบชุมชนจัดการโควิด-19
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 3 การฟื้นฟูและเยียวยาภายหลังการระบาดของโควิด-19
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโควิด-19
1.1 พัฒนาระบบการสื่อสารกับสาธารณชนอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต้องรู้ รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้โควิด-19 กลับมาแพร่ซ้ำ เผยแพร่โดยกลุ่ม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์ชุมชน/รถแห่
1.2 สื่อสารแนวคิด ชีวิตวิถีใหม่ (New normal) ให้กับชุมชน ในการสร้างการพึ่งพาตนเองให้อยู่ได้เมื่อมีโรคระบาด การใช้การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
1.3 สื่อสารความรู้เกี่ยวกับมีพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การเพิ่มกิจกรรมทางกายภายในบ้าน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดหวาน ลดเค็ม การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สารเสพติด
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการจัดการโควิด-19
2.1 การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือก การดำเนินชีวิตวิถีใหม่ เพื่อช่วยฟื้นฟูให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.2 ส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้คน ครอบครัว ในชุมชน เช่น การเย็บหน้ากากผ้าการตัดเสื้อ ซ่อมรถ การเกษตรในครัวเรือน เช่น การปลูกผัก เลี้ยงปลา รวมทั้งการวางแผนการเงินของบุคคลและครัวเรือน เพื่อให้มีเงินออมไว้ใช้ในยามวิกฤติ (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
2.3 สนับสนุนสมาชิกของครอบครัวที่ถูกเลิกจ้างงานและกลับมาอยู่ในชุมชนให้มีอาชีพด้านการเกษตร มุ่งสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ เพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชนในอนาคต (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
2.4 พัฒนาทีมงานจิตอาสาในการฟื้นฟูสุขภาพชุมชนด้านต่างๆ
2.5 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน กลุ่มต่างๆ ในชุมชน ในการวางแผน ดำเนินการ ติดตามประเมินผลในการจัดการฟื้นฟูสุขภาพชุมชนหลังโรคระบาด รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยบรรเทาทุกข์เพื่อปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มูลนิธิการกุศลอย่างต่อเนื่อง
2.6 พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารปลอดภัยและโภชนาการที่สมวัย
2.7 พัฒนาทักษะแกนนำในชุมชน ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ชีวิตวิถีใหม่ เช่น การใช้ห้องประชุมออนไลน์ การทำตลาดออนไลน์ การให้ความรู้ชุมชนในการจัดการการเงิน การทำบัญชีครัวเรือน (รายรับ-รายจ่าย-การออม) เพื่อให้มีความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือน สามารถมีเงินออมใช้จ่ายยามวิกฤตได้ (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19 และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
3.1 การจัดกองทุนหมู่บ้าน เพื่อการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
3.2 พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน
3.3 ยกระดับและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน
3.4 การจัดทำตลาดออนไลน์ เพื่อสร้างพื้นที่กลางในการซื้อขายสินค้าของคนในชุมชน
3.5 จัดทำโครงการ “ข้าวแลกปลา” เพื่อแลกเปลี่ยนอาหารแทนการซื้อขาย
3.6 การจัดทำครัวกลาง/ครัวรวม ในภาวะวิกฤติ
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19
4.1 กำหนดข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน
4.2 มาตรการชุมชนในการสนับสนุนการประกอบอาชีพเกษตรกร เพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชนในอนาคต (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการโควิด-19
5.1 จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยา
5.2 พัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมของประชาชนเพื่อระบุความเสี่ยง และควบคุมโรคระบาดในอนาคต เช่น การเดินทาง, การดื่มเหล้า/สูบบุหรี่, การออกกำลังกาย
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสกัดกั้นนักสูบรายใหม่ในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
โดยการ:
- คัดกรองและปรับพฤติกรรม
- พัฒนาศักยภาพแกนนำ
- จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังในชุมชน

วิธีการสำคัญ
1. ระบุกลุ่มเป้าหมายที่อาจกลายเป็นผู้สูบรายใหม่ของชุมชน เช่น เด็ก เยาวชน และสตรี ฯลฯ พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน เช่น บ้าน ชุมชน โรงเรียน
2. จัดตั้งทีมปฏิบัติการชุมชน เพื่อสำรวจ และค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน หรือ เสี่ยงที่จะเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบได้โดยง่าย
3. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสูบ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
4. พัฒนาแกนนำ และเครือข่ายป้องกันระดับเยาวชน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมยาสูบ
5. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
6. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
7. ส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาของชุมชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยให้มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องการควบคุมยาสูบและการเลิกยาสูบ และสนับสนุนให้มีโครงการสร้างผู้นำนักศึกษาในด้านการควบคุมยาสูบ
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อส่งเสริมกลไกในการลดการเข้าถึงยาสูบ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการกลไกในการลดการเข้าถึงยาสูบ เช่น ร้านค้าชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียน และตัวแทนชุมชนที่จะร่วมมือกันควบคุมยาสูบในชุมชน
2. ส่งเสริมร้านค้าชุมชนให้มีการจดทะเบียนและปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ คือ
- กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
- ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่ ได้แก่
(1) วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
(2) สถานพยาบาลและร้านขายยา
(3) สถานศึกษาทุกระดับ
(4) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
- กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต
- ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรมซีเอสอาร์ อุปถัมภ์สนับสนุนบุคคล หรือองค์กร ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองยาสูบ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น
- ห้ามแบ่งซองขายยาสูบเป็นรายมวน
- ให้เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบยาสูบในเขตปลอดยาสูบเป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท
- กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดยาสูบ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบยาสูบในเขตปลอดยาสูบ หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ เจ้าของสถานที่มีโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อจัดบริการช่วยเลิกหรือส่งเสริมการเลิกยาสูบอย่างเป็นระบบ
label_important
วิธีการสำคัญ
บริการช่วยเลิกหรือส่งเสริมการเลิกยาสูบอย่างเป็นระบบ เช่น
- กิจกรรมช่วยเลิกเชิงรุก
- คลินิกเคลื่อนที่
- คลินิกชุมชน
- และการติดตามอย่างต่อเนื่อง

โดยระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น
- ในกลุ่มสูบ
- กลุ่มต้องการเลิกสูบ
- และกลุ่มที่พยายามเลิกและยังเลิกไม่สำเร็จ

วิธีการ

1. การค้นหาและทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชน ผู้สูบที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
2. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน และการค้นหาผู้สูบที่ต้องการเลิกและการให้บริการช่วยเลิกยาสูบในชุมชน
3. การพัฒนาบุคลากรในชุมชนมาเป็นเครือข่ายช่วยเลิกยาสูบ หรือ การให้คำปรึกษา เช่น บุคลากรสาธารณสุข อสม. ครู ฯลฯ
4. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงานด้านการติดตามเยี่ยมเยียน ต่อผู้มารับบริการเลิกยาสูบให้สามารถเลิกได้สำเร็จ
5. การพัฒนากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเลิกยาสูบในชุมชน
6. การจัดบริการส่งต่อผู้สูบที่ไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่
7. การจัดกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การหลีกเลี่ยงการทดลองสูบยาสูบ และการลดและเลิก การสูบยาสูบ และไม่ควรสูบยาสูบในที่สาธารณะ
8. การกำหนดระยะเวลาในการติดตามความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ชัดเจน เช่น 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน เพื่อประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสถานะของผู้สูบ เช่น ยังสูบอยู่ ลดปริมาณการสูบลง หรือ สามารถเลิกสูบได้แล้ว เป็นต้น
9. กำหนดวิธีการติดตามความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ชัดเจน เช่น เยี่ยมบ้าน โทรศัพท์ การส่งข้อความทางไลน์ หรือ เฟสบุ๊ค รวมทั้ง การใช้บริการผ่านอสม.เป็นต้น
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อพัฒนาทางเลือกในการช่วยเลิกยาสูบตามบริบทชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
(ระบุวิธีช่วยเลิกและกลุ่มเป้าหมาย)
- การเพิ่มจำนวนผู้เลิกสูบ
- การลดจำนวนผู้กลับมาสูบซ้ำ
- การลดปริมาณการสูบสำหรับผู้ที่สูบอยู่

วิธีการ

1. การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือกเพื่อช่วยเลิกยาสูบแบบอื่นๆ ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. สนับสนุนการสร้างกลุ่มอาชีพเสริมรายได้ครัวเรือนในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกยาสูบในชุมชน
3. ส่งเสริมการแพทย์แผนไทยให้มีบทบาทในการเลิกสูบยาสูบ เช่น
- การใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาว ทีถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติปี 2555 โดยมีฤทธิ์ทำให้ลิ้นฝาดและไม่อยากสูบยาสูบ
- การนวดกดจุดสะท้อนเท้า เน้นกดที่ตำแหน่งจุดสะท้อนไปยังส่วนของสมองเพื่อกระตุ้นให้หลั่งสารเคมีออกมา ทำให้ร่างกายอยากสูบยาสูบลดน้อยลงซึ่งเป็นการช่วยเลิกยาสูบโดยไม่ใช้ยา
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายโดยการสร้างและพัฒนามาตรการควบคุมยาสูบในระดับชุมชน สำหรับควบคุมการสูบและการจำหน่าย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. กำหนดนโยบายการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดการสูบยาสูบในชุมชน เช่น วัด มัสยิด สถานที่สาธารณะ
2. มีคณะกรรมการชุมชน ที่ทำหน้าที่กำหนดกฎ กติกา และมาตรการควบคุมยาสูบในชุมชน
3. การประกาศและการบังคับใช้ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมยาสูบในชุมชน ที่มีเงื่อนไขจากการได้ประโยชน์จากการปฏิบัติตามกฎ และ เสียประโยชน์จากการไม่ปฏิบัติตาม (การให้คุณให้โทษทางสังคม)
4. การสอดแทรกเรื่องยาสูบในทุกกิจกรรมของชุมชน เช่น การบรรยายทางศาสนา ธรรมเทศนา หรือ การอ่านคุตบะห์ในการละหมาดวันศุกร์
5. การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมยาสูบของชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบยาสูบโดยลดการสัมผัสควันยาสูบมือสอง
label_important
วิธีการสำคัญ
โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบในชุมชน
- การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น มีนโยบายห้ามสูบยาสูบในอาคาร สถานที่ทำงาน และยานพาหนะสาธารณะ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคม เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เช่น การเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมต่อการสูบยาสูบ

วิธีการ

1. การประกาศนโยบายขยายเขตปลอดยาสูบในชุมชนเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบยาสูบในทุกสถานที่ที่มีผู้คนชุมนุมกัน เช่น
- ตลาดนัดถนนคนเดินปลอดยาสูบ และ ร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศ
- งานบุญงานประเพณีปลอดยาสูบ
- นโยบายครัวเรือนปลอดควันยาสูบ (smoke free home)
- การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของที่ทำงานให้ปราศจากการสูบยาสูบในอาคาร
2. กำหนดให้สถานที่สาธารณะที่ประกาศงดสูบยาสูบตามกฎหมายจะต้องปลอดการสูบยาสูบ 100% โดยการแสดงเครื่องหมายเขตปลอดยาสูบ และแสดงอัตราโทษกรณีที่มีการละเมิด ได้แก่
2.1 สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพทุกประเภท
• คลินิก โรงพยาบาล รวมถึงสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
• คลินิก โรงพยาบาลสัตว์ รวมถึงสถานพยาบาลสัตว์
• สถานีอนามัย สถานบริการสุขภาพทุกประเภท
• ร้านขายยา
• สถานประกอบกิจการนวดแผนไทย หรือแผนโบราณ
• สถานที่ให้บริการอบความร้อน อบไอน้ำ อบสมุนไพร
• สถานประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ กิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือกิจการนวดเพื่อความงาม
2.2 สถานศึกษา
• สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน
• โรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาระดับที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา
• สถานกวดวิชา สถานที่สอนกีฬา ดนตรี ขับร้อง การแสดง ศิลปะป้องกันตัว ศิลปะ ภาษาและอื่นๆ ศิลปะ ภาษาและอื่นๆ
• สถานฝึกอบรมอาชีพ
• อุทยานการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ หรือศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
• หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์สถาน หรือสถานที่จัดแสดงศิลปวัฒนธรรม
2.3 สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
• อัฒจันทร์หรือสถานที่ดูกีฬาทุกประเภท
• สถานที่ออกกำลังกาย ซ้อมกีฬา เล่นกีฬา หรือสนามแข่งขันกีฬาทุกประเภท ทั้งในร่มและกลางแจ้ง
• สระว่ายน้ำ
2.4 ร้านค้า สถานบริการ และสถานบันเทิง
• โรงมหรสพ โรงละคร โรงภาพยนตร์
• สถานที่จัดเลี้ยงทั้งหมด
• สถานบริการตามพระราชบัญญัติสถานบริการ
• สถานที่ให้บริการคาราโอเกะหรือสถานบันเทิงอื่นๆ
• สถานที่บริการคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต หรือเกมส์
• สถานที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารและเครื่องดื่มที่มีระบบปรับอากาศ
• อาคารร้านค้าประเภทห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า
• สถานที่จำหน่าย แสดง จัดนิทรรศการสินค้าหรือบริการ
2.5 บริเวณโถงพักคอย และบริเวณทางเดินทั้งหมดภายในอาคาร
• โรงแรม รีสอร์ท หรือสถานที่พักตากอากาศ
• ห้องเช่า หอพัก อพาร์ทเมนต์ คอร์ท หรือสถานที่ที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน
• อาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม
2.6 สถานบริการทั่วไป
• อาคารหรือสถานที่ที่ใช้ในการจัดประชุม อบรม สัมมนาหรือ สันทนาการ
• ร้านตัดผม สถานเสริมความงาม ร้านตัดเสื้อผ้า
• ธนาคารหรือสถาบันการเงิน
2.7 สถานที่สาธารณะทั่วไป
• ห้องสมุด
• สุขา
• ตู้โทรศัพท์สาธารณะ หรือบริเวณที่ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
• ลิฟต์โดยสาร
• สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก
• สนามเด็กเล่น
• ตลาด
2.8 ยานพาหนะสาธารณะ ในขณะให้บริการไม่ว่าจะมีผู้โดยสารหรือไม่ก็ตาม
• รถโดยสารประจำทาง
• รถแท็กซี่
• รถไฟ รถราง
• รถตู้โดยสาร
• รถรับส่งนักเรียนหรือนิสิตนักศึกษาทุกประเภท
• ยานพาหนะโดยสารที่ใช้ในภารกิจที่เป็นลักษณะส่วนกลางของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งของเอกชน
• กระเช้าโดยสาร/เรือโดยสาร/เครื่องบิน
• ยานพาหนะโดยสารอื่นๆ ทั้งประเภทประจำทางและไม่ประจำทา
• สถานีขนส่งสาธารณะ และที่พักผู้โดยสาร
• ป้ายรถโดยสารประจำทาง และบริเวณที่ใช้รอก่อนหรือหลังการใช้บริการยานพาหนะโดยสารทุกประเภท
2.9 ศาสนสถาน /สถานปฏิบัติธรรมในศาสนาและนิกายต่างๆ
เช่น วัด มัสยิด โบสถ์ เป็นต้น
3. การประเมินติดตามผล และกำหนดมาตรการให้คุณให้โทษแก่ผู้ที่ปฏิบัติตาม หรือต่อผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารข้อมูลยาสูบในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
เน้นการตื่นรู้ของชุมชนให้รู้เท่าทันพิษภัยยาสูบและกลยุทธ์อุตสาหกรรมยาสูบ (ระบุ รูปแบบการสร้างกระแส/พัฒนารูปแบบการสื่อสาร/ชุดทดลองอันตรายจากยาสูบ ฯลฯ)

วิธีการ

1. กิจกรรมการสร้างกระแสรณรงค์ตามช่องทางต่างๆ เช่น เสียงตามสาย รายการวิทยุชุมชน
2. พัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับการรณรงค์ทางสังคมให้เกิดการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมการไม่สูบยาสูบ
3. การสร้างสื่อเชิงประจักษ์ เช่น ชุดทดลอง/อุปกรณ์สาธิตอันตรายจากยาสูบ
4. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านยาสูบและสุขภาพของชุมชน เช่น สถิติการป่วย-การตายของประชากรในชุมชน สถิติอุบัติการณ์ความชุกโรคไม่ติดต่อและพิการ และจัดให้มีการสะท้อนข้อมูลเหล่านี้สู่ชุมชน เพื่อร่วมกันควบคุมแก้ไขปัญหา
5. ส่งเสริมการผลิตสื่อหรือการละเล่นในชุมชน เช่น หนังตะลุง มโนราห์ ที่เน้นการให้ความรู้ การชี้แนะ (Advocate) ของพิษภัยยาสูบต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อเพิ่มผู้ขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบในระดับพื้นที่
label_important
วิธีการสำคัญ
1. สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านท้องถิ่น ในระดับตำบล หมู่บ้าน เช่น ในรูปของกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้ไม่สูบยาสูบ ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมปอดสะอาด
2. ส่งเสริมให้กลุ่ม / ชมรม เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน และกลุ่มอาสาเฝ้าระวังยาสูบในชุมชน
3. จัดประชุมกลุ่มเพื่อนำเสนอปัญหาและหาทางแก้ไข ประจำสัปดาห์ /เดือน
4. การเสวนาระดับท้องถิ่น / ชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกัน
5. จัดโปรแกรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเลิกสูบยาสูบ หรือค่ายเลิกยาสูบโดยชุมชน
6. ส่งเสริมให้กลุ่ม / ชมรม / สมาคม องค์กรเอกชนต่างๆ ในชุมชน มีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ เช่น เวทีสมัชชาสุขภาพของจังหวัด
7. ส่งเสริมการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของกลุ่มคนทำงานด้านการควบคุมยาสูบที่ทำงานในระดับพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยการสร้างพื้นที่และบุคคลต้นแบบด้านการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชนแบบครบวงจร
label_important
วิธีการสำคัญ
• ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
• หอชุมชนแสดงรางวัลเชิดชูเกียรติ (บุคคลต้นแบบ และพื้นที่ต้นแบบ)
• กลุ่มเยาวชนแกนนำในการขับเคลื่อน
• ทำเนียบบุคคลต้นแบบด้านการ ลด ละ เลิกยาสูบ
• แหล่งรวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ

วิธีการ

1. การกำหนดความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมร่วมกันของชุมชน (mindset) ว่า ยาสูบในชุมชนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้
2. การสร้างทีมปฏิบัติการชุมชนแบบบูรณาการ ที่ประกอบด้วย ผู้บังคับใช้กฎหมาย เช่น ตำรวจ ผู้นำศาสนา ผู้นำทางศรัทธา เช่น เจ้าอาวาส พระ ปราชญ์ในหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ผู้แทนในระดับท้องถิ่น หน่วยบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการด้านสุขภาพในท้องถิ่น และ ตัวแทนสมาคม ชมรม ต่างๆ ในชุมชน เป็นต้น
3. การสำรวจทุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบในชุมชน เช่น
• ด้านการบริหารงานโครงการ โดยเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถในการขับเคลื่อนบริหารจัดการโครงการ
• ด้านแกนนำชุมชน เป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือและเป็นผู้ที่มีความสามารถกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนได้
• ด้านผู้นำด้านสุขภาพ เป็นแกนนำในการหาข้อมูลเชิงลึก การลงพื้นที่ การประสานงานโดยตรงกับประชาชน
• ด้านศาสนาเป็นบุคคลที่มีเป็นผู้นำการสั่งสอน ให้รู้ถึงศีลธรรม วัฒนธรรมอันดี เพื่อโน้นน้าวจิตใจของประชาชน โดยมีศาสนาเป็นสื่อนำ
• ด้านการศึกษา โดยเป็นแกนนำที่คอยสนับสนุนและส่งเสริมด้านการศึกษา ให้ความรู้แก่นักเรียนและประชาชนทั่วไปได้
• กลุ่มทางสังคม องค์กรชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ สภาเด็กและเยาวชน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชมรมคนพิการ
4. การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้ม สภาพปัญหาและความต้องการควบคุมการบริโภคยาสูบของพื้นที่ เพื่อประเมินสภาพชุมชนร่วมกันว่ามีกิจกรรมดำเนินงานเพื่อการจัดการและควบคุมยาสูบในชุมชนหรือไม่ เช่น
• ในชุมชนมีหน่วยบริการสุขภาพที่มีระบบบริการช่วยเลิกยาสูบหรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีการประเมินการบริโภคยาสูบของประชาชนหรือไม่
• ในชุมชนมีการคัดกรอง การประเมินการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่
• ในชุมชนมีการให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับโทษของการบริโภคยาสูบและการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่
• ในชุมชนมีระบบส่งต่อผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรหรือการบริการของชุมชนสำหรับการหยุดบริโภคยาสูบหรือไม่
• ในชุมชนมีบุคคลหรือพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการควบคุมยาสูบหรือไม่
5. กำหนดทิศทางและแนวทางการจัดการปัญหาการบริโภคยาสูบในเขตของพื้นที่รับผิดชอบ เช่น
• การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน
• เน้นการศึกษาให้รู้ข้อมูล/ความจริง
• การทำงานเชิงรุกแทนการตั้งรับ
• คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องรอบด้าน
• มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและเป็นระบบ
• ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันดำเนินงาน
6. การต่อยอดให้เป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบของชุมชน ที่อาศัยทั้ง
(1) นักบริหาร
(2) นักวิชาการชุมชนท้องถิ่น
(3) นักจัดการและนักจัดกระบวนการชุมชน
(4) นักจัดการข้อมูล และ
(5) นักสื่อสารสุขภาพในชุมชน
7. ติดตามอย่างต่อเนื่องและเสริมพลังอำนาจของทุกฝ่าย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
2. การใช้ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพ การบริโภคที่ถูกต้อง
2. การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังเบาหวาน จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย แผล เป็นต้น
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกายลดโรคเรื้อรัง เช่น การออกกำลังกาย การใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
2. กิจกรรมตลาดอาหารปลอดภัย
3. โรงเรียนหรือศูนย์พฒนาเด็กเล็กปลอดหวาน หรือขนบกรุบกรอบ
4. หมู่บ้านปลอดน้ำหวาน น้ำอัดลม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างระบบกลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
การสร้างแกนนำต้นแบบด้านเสร้างเสริมสุขภาพ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างกติกาหรือนโยบายสาธารณะชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำหนดกติกาชุมชน หรือหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. จำนวนโครงการและงบประมาณที่กองทุนสุขภาพตำบล
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• การเพิ่มที่ผลิตอาหารในบ้าน โรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะในชุมชน
• การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยในระดับครัวเรือน /ชุมชน หน่วยงานเช่นโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
• การเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชน
• การปรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานอาหารปลอดภัยและสุขาภิบาลอาหาร
• การใช้บริบท วัฒนธรรม ภูมิปัญญาทางด้านอาหาร เพื่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
• การทำระบบกระจาย หรือเชื่อมโยงผลผลิต (matching model) โดยการเชื่อมโยงอาหารจากผู้ผลิตไปยังหน่วยงานเช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ร้านอาหาร หรือผู้บริโภค

วิธีการ

1. การส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ หรือการส่งเสริมการทำสวนผักในเมืองในพื้นที่ๆ เป็นชุมชนเมือง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยแก้ปัญหาอาหารโภชนาการและอาหารปลอดภัย
2. ส่งเสริมการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาการขาดอาหาร เช่นการปลูกผัก นาข้าว การเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลา ฯลฯ
3. ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน
4. การใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัยในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน และชุมชน
5. การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในโรงครัว โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่
6. การพัฒนาตลาด (ตลาดปลอดภัย/ตลาดสีเขียว/ตลาดอินทรีย์/ตลาดน่าซื้อ ตลดออนไลน์ ฯลฯ ของชุมชน)
7. การส่งเสริมการบริโภคโดยใช้เมนูอาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารเป็นยา เมนูชูสุขภาพ ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อการส่งเสริมป้องกันโรค
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในชุมชน
• การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามกลุ่มวัย (วัยเด็ก/วัยเรียน.วันทำงาน/วัยสูงอายุ)

วิธีการ

1. การพัฒนาศักยภาพครู ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ด้านอาหารในโรงเรียนและชุมชน เช่นการอบรมโปรแกรม Menu Thai School Lunch
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเช่น เด็ก/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ ฯลฯ เช่น การส่งเสริมการบริโภค ผัก ผลไม้
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน /โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก และชุมชน เช่น ลด หวาน มัน เค็ม ลดการบริโภคน้ำหวานน้ำอัดลม
4. การฝึกทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
5. การสร้างบุคคล ครัวเรือน ต้นแบบ (Role model)
6. การส่งเสริมความรอบรู้เรื่องสุขภาพ (Health literacy) ความรอบรู้เรื่องอาหาร (food literacy)
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเรื่องการจัดการอาหารในชุมชน
• การพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
• การจัดตั้งชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร
• การใช้กลไกคณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดในการดำเนินงานอาหารปลอดภัย

วิธีการ

1. การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กและในโรงเรียน
2. การใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch เพื่อจัดการอาหารในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
3. การติดตามภาวะโภชนาการของคนในชุมชน โดยเฉพาะ กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
4. การสนับสนุนชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร เช่น กลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ.เกษตรอินทรีย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ฯลฯ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• ชุมชนสามารถจัดการข้อมูลอาหารและโภชนาการได้
• ชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชนด้านระบบอาหารแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล กำหนดแผนงาน โครงการร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน และร่วมติดตามประเมินผล

วิธีการ

1. พัฒนาแกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
2. การทำแผนชุมชน การทำแผนท้องถิ่น การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับชุมชน
3. สนับสนุนให้ชุมชนที่ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อการมีและเข้าถึงอาหาร ทำให้มีอาหารปลอดภัยบริโภค และบริโภคที่ถูกต้อง มีโภชนาการที่สมวัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• เกิดธรรมนูญสุขภาพ เรื่องระบบอาหาร
• เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วมเรื่องระบบอาหาร
• เกิดมาตรการของชุมชนและท้องถิ่นเรื่องระบบอาหาร

วิธีการ

1. การกำหนดนโยบายชุมชนเรื่องการไม่ขายเครื่องดื่มน้ำหวาน ขนมขบเคี้ยวในบริเวณ ใกล้หรือในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
2. นโยบายชุมชนปลอดน้ำอัดลม เหล้า สุรา ในงานเลี้ยง งานบุญ งานประเพณี
3. ข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือน
4. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตร
5. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชน
6. นโยบายบายการนำอาหารสุขภาพไปถวายพระ (ปิ่นโตเพื่อสุขภาพ)
7. การส่งเสริมให้เกิดธรรมนูญลุ่มน้ำ ธรรมนูญป่าชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ