กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการมหกรรมการส่งเสริมสุขภาพตามช่วงกลุ่มวัยพัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชนโดย“หมอประจำครอบครัว” ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหกรรมการส่งเสริมสุขภาพตามช่วงกลุ่มวัยพัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชนโดย“หมอประจำครอบครัว” ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด
ชื่อนางกาญจนรัตน์วิริยะสุข
เบอร์โทรศัพท์ ๐62-9626491
ที่อยู่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด หมู่ที่ 2ตำบลคลองขุดอำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล๙๑๐๐๐

หมู่ที่ 1,2,5 และ 6 ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน

 

160.00
2 จำนวนกลุ่มสูบบุหรี่ ที่ต้องได้รับการติดตามช่วยเลิก

 

80.00
3 จำนวนผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียง /ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการเยี่ยม ติดตาม ดูแลที่บ้าน

 

60.00
4 จำนวนเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ต้องได้รับการประเมินพัฒนาการเด็กและติดตามการรับวัคซีนตามช่วงอายุ

 

50.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เป้าหมายหลักหรือผลผลิตของบริการปฐมภูมิที่สำคัญมี 2 ประการคือ การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ( Selfcare) และ การส่งเสริม ให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็น และเพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย W E C A N D O เข้าถึงบริการสุขภาพและพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ กลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญคือการมีหมอประจำครอบครัว เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีญาติเป็นหมอและสามารถพึ่งพาได้ทุกเมื่อ และในปัจจุบันการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของคนในชุมชนลดลง จึงได้พัฒนานักสุขภาพครอบครัวเป็นหมอประจำครอบครัวเพื่อเข้าไปดูแลและจัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชนแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชนที่ตนเองรับผิดชอบ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเด็กและสตรีกลุ่มเด็ก0-5 ปีกลุ่มวัยเรียนกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงานกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส และ กลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งนี้การสร้างแกนนำประจำครอบครัว เพื่อให้มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นสามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพการป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภค และพัฒนาระบบบริการสุขภาพในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการให้บริการสุขภาพในชุมชนโดย“หมอประจำครอบครัว” ตามวิถีชุมชนโดยนักสุขภาพประจำครอบครัว (นสค.) และ อาสาสมัครสาธารณสุขโดยยกระดับเป็น “หมอประจำบ้าน” ที่จะร่วมกันพัฒนาระบบการออกให้บริการเชิงรุกทั้งการคัดกรองภาวะสุขภาพ การให้สุขศึกษา การแนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไข้เลือดออก กลุ่มติดบ้านติดเตียง ผู้สูบบุหรี่ แอลกอฮอล์เและการออกเยี่ยมบ้าน ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งสร้างระบบฐานข้อมูล รายครัวเรือน รวมเป็น Community Folder (แฟ้มชุมชน) ของหมู่บ้านให้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้ โดยสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด ชุมชนได้รับทราบข้อมูลของตนเอง มีการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด ได้จัดทำโครงการ พัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชนโดย “หมอประจำครอบครัว” ตามวิถีชุมชน ในปีงบประมาณ๒๕๖3โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคลองขุด

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 500
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 160
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มสูบบุหรี่ ที่ต้องได้รับการติดตามช่วยเลิก 80
ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียง /ผู้ป่วยระยะสุด 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพ นสค./อสม.เชี่ยวชาญ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพ นสค./อสม.เชี่ยวชาญ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพ นสค./อสม.เชี่ยวชาญ ในการจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัยและกิจกรรมเยี่ยมบ้าน เพื่อสรุปวิเคราะห์ข้อมูล แยกกลุ่ม WECANDO ( วัยทำงาน,วัยรุ่น,วัยเรียนวัยเด็ก,แม่และทารก,กลุ่มโรคเรื้อรัง DM/HT,ผู้พิการและผู้สูงอายุ,ผู้สูบบุหรี่,ผู้ดื่มสุรา ) ตามหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
งบประมาณ กิจกรรมอบรม  จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 50 คน รุ่นละ 2 วัน 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้รับการอบรม/เจ้าหน้าที่
        จำนวน 50 คน x ๒๕ บาท x 4 มื้อ x 2 รุ่น               เป็นเงิน    10,000 บาท

2.ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้ารับการอบรม/เจ้าหน้าที่         จำนวน 50 คน x 60 บาท x 2 มื้อ x 2 รุ่น                   เป็นเงิน    12,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต นสค.และ อสม. จำนวน 88 คน ผลลัพธ์ นสค.และ อสม. ปฏิบัติงานร่วมกันเป็น “หมอประจำครอบครัว”อย่างมีคุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมออกตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมออกตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.กิจกรรมออกตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/มะเร็งเต้านม/ปากมดลูก/ มะเร็งลำไส้ใหญ่/บุหรี่สุรา/แอลกอฮอล์/หัวใจและหลอดเลือด /กิจกรรมให้สุขศึกษา/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม/คุ้มตรองผู้บริโภค/ไข้เลือดออก 2.จัดทำแฟ้มข้อมูลประจำบ้านในเขตรับผิดชอบ
งบประมาณ กิจกรรมตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป/ให้สุขศึกษารายกลุ่ม 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมตรวจคัดกรอง/จนท./แกนนำ         จำนวน 500 คน x 25 บาท จำนวน 1 มื้อ              เป็นเงิน 12,500 บาท 2.ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ใช้ในการออกพื้นที่ติดตาม ดูแลกลุ่มเป้าหมาย/ กลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เป็นเงิน 53,800 บาท 2.1ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบพกพา (กิจกรรมวัดความดันโลหิตที่บ้าน Home BP)     จำนวน 4 เครื่องๆละ x 2,500บาท              เป็นเงิน   10,000 บาท 2.2.เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 4 เครื่องๆละ x 1,200 บาท              เป็นเงิน      4,800 บาท 2.3.เครื่องเป่าปอดสำหรับวัด CO2 ในผู้สูบบุหรี่     จำนวน 1 เครื่องๆละ x 35,000 บาท            เป็นเงิน   35,000 บาท 2.4.หูฟังทางการแพทย์(Stethoscope) 3M Littmann Classic จำนวน 1  อัน x  4,000 บาท                เป็นเงิน      4,000 บาท ค่าวัสดุในการจัดทำข้อมูล เป็นเงิน 34,000 บาท 3.1 ค่าจัดทำแฟ้มประวัติสำหรับกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง
จำนวน 160 แฟ้ม x 100 บาท                    เป็นเงิน    16,000 บาท 3.2 ค่าจัดทำเอกสารคู่มือ อสม.เชี่ยวชาญในการปฎิบัติงาน         จำนวน 90 เล่ม x 100 บาท                เป็นเงิน       9,000 บาท 3.3 ค่าจัดทำสมุดบันทึกการปฏิบัติงานในชุมชน     จำนวน 90 เล่ม x  100 บาท                  เป็นเงิน    9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ประชาชนในครัวเรือนในพื้นที่หมู่ที่ 1,2,5,6                      จำนวน    500 ครัวเรือน ผลลัพธ์ 1.ครัวเรือนในเขตรับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายมีหมอประจำครอบครัวทุกครัวเรือน ร้อยละ 100 2.สามารถพัฒนา Community Folder และฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม ออกเยี่ยมบ้าน โดยเยี่ยมรายกลุ่มและรายบุคคล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ออกเยี่ยมบ้าน โดยเยี่ยมรายกลุ่มและรายบุคคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.กิจกรรมประชุมเยี่ยมติดตามกลุ่มเป้าหมาย 2.กิจกรรม ออกเยี่ยมบ้าน โดยเยี่ยมรายกลุ่มและรายบุคคล พร้อมให้สุขศึกษา โดยหมอครอบครัว (นสค.และ อสม.เชี่ยวชาญ. ) แก่ประชาชนทั่วไป ตามกลุ่มวัย เยี่ยมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและ ออกเยี่ยมบ้าน กลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ และอื่นๆที่สมควรรับการเยี่ยม อย่างน้อย รายละ 2 ครั้ง / ปี หรือตามความเหมาะสม 1.ประชาชนทั่วไป
2.ผู้สูงอายุผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียง /ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
3.ผู้พิการ
4.เด็ก 0-5 ปี
5.ผู้ป่วยเรื้อรัง 6.กลุ่มสูบบุหรี่ ที่ต้องได้รับการติดตามช่วยเลิก
งบประมาณ
กิจกรรมประชุมเยี่ยมติดตามกลุ่มเป้าหมาย/ กลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุม/จนท.
        จำนวน 92 คน x 25 บาท x  3 มื้อ               เป็นเงิน    6,900 บาท 2.ค่าพาหนะเดินทางแกนนำออกติดตามกลุ่มเป้าหมายในชุมชน         จำนวน 12 คน x 50 บาท จำนวน 24 ครั้ง        เป็นเงิน  14,400 บาท กิจกรรมประชุมสรุปผลงาน
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุม
        จำนวน 92 คน x 25 บาท x 1 มื้อ                   เป็นเงิน    2,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียง /ผู้ป่วยระยะสุดท้าย    จำนวน    60 คน
2.ผู้พิการ                      จำนวน      5 คน 3.เด็ก 0-5 ปี                  จำนวน    50 คน 4. ผู้ป่วยเรื้อรัง                  จำนวน  160 คน 5.กลุ่มสูบบุหรี่ ที่ต้องได้รับการติดตามช่วยเลิก        จำนวน    80 คน ผลลัพธ์ กลุ่มเป้าหมาย W E C A N D O เข้าถึงบริการสุขภาพและพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 145,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นสค.ทราบกลุ่ม WECANDO และสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ มีฐานข้อมูล ที่ถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2.ชุมชนทราบสถานะสุขภาพของตนเองและมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาของชุมชน
ทุกกลุ่มเป้าหมายและสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็น


>