กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและใส่ใจดูแลแม่และลูกโดยเครือข่ายชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

รพ.สต.บ้านคำหมูน

บ้านยางคำบ้านโนนแพงบ้านโคกสำราญบ้านคำหมูนและบ้านคำเจริญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

78.95
2 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี

 

14.29

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยและเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ และคลอดที่บ้านผดุงครรภ์โบราณ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำหมูน ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ ๗๘.๙๕ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๙๐) หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๗๘.๙๔ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๖๐)อัตราแม่ที่มีอายุน้อยกว่า ๒๐ปี คลอดบุตรร้อยละ ๑๔.๒๙ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๑๐) ซึ่งยังมีบางตัวชี้วัดต่ำกว่าเกณฑ์ จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำหมูน จึงจัดทำโครงการโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและใส่ใจดูแลแม่และลูกโดยเครือข่ายชุมชน เพื่อให้มีระบบการดูแม่และลูกในชุมชนตามบริบทของตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 มีระบบการดูแลสุขภาพมารดา และทารกในชุมชน

ทุกหมู่บ้านมีระบบการดูแลสุภาพมารดา และทารกในชุมชน โดยเครือข่ายชุมชน

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.  อสม. ค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ต้องการตั้งครรภ์จ่ายยา Folic ก่อนตั้งครรภ์ ๓ เดือน ๒.  ฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพโดยเน้นครอบครัวมีส่วนในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงหลังคลอด
๓.  จัดอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่องการดูแลแม่และลูกในชุมชนการป้องการตั้งครรภ์ไม่พร้อม การดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดโดยครอบครัวการเฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงในชุมชน ๔.  ออกเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ในหมู่บ้านร่วมกับ อสม. ในหมู่บ้าน ๑ ครั้ง / เดือนเพื่อติดตามการการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์
๕.  ออกเยี่ยมหญิงหลังคลอด จนถึงหลังคลอด ๖ เดือนเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ๖.  อสม. รายงาน กลุ่มเสี่ยงการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์  หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด ทุกเดือน
๗.  สรุปผลการดำเนินโครงการ เพื่อส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเดื่อศรีคันไชย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ผลลัพธ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนัก มากกว่า 2,500 กรัม ตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักตามเกณฑ์


>