กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพ ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียนและ เด็กวัยเรียนซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสติปัญญาประกอบกับการพัฒนาในด้านต่างๆ มีผลต่อการกำหนดลักษณะ พฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัว ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กวัยนี้จะต้องมีภาวะโภชนาการที่ดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนและตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10 ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
ให้เด็กแรกเกิด- ๗๒เดือน มีการเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานอายุตามน้ำหนักไม่น้อยกว่าร้อยละ
๙๓ จากผลการดำเนินงานของในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ๗.๔๑ซึ่งสูงกว่าที่เป้าหมายกำหนดไว้ไม่มากกว่าร้อยละ ๗ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าวเนื่องจากผู้ปกครองเด็กขาดความรู้ด้านโภชนาการมีพฤติกรรมการ บริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งผู้ปกครองมีลูกมาก ไม่มีเวลาดูแลลูก เพราะฉะนั้นการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กจำเป็นที่ผู้ปกครองจะต้องมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กและตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี ต้องได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ไข้สมองอักเสบ หัด หัดเยอรมัน คางทูม และโปลิโอ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จากการสำรวจข้อมูลและผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาทั้ง ๔ กลุ่มอายุ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐พบว่า ผลงานความครอบคลุมการได้รับวัคซีน ร้อยละ ๗๒.๗๙ ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงตั้งไว้ คือร้อยละ ๙๐ซึ่งจะต้องเร่งรีบให้วัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็ก เพื่อความปลอดภัยจากโรคที่กำลังระบาดในพื้นที่ โดยเฉพาะโรคคอตีบ และโรคหัด

ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพ ในเด็กอายุ ๐-๕ ปีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพฟันและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก

ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพฟันและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กได้อย่างถูกต้อง

60.00 70.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี สามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมตามวัยให้แก่เด็กที่ ขาดสารอาหารได้อย่างถูกต้อง

ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี สามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมตามวัยให้แก่เด็กที่ ขาดสารอาหารได้อย่างถูกต้อง

60.00 75.00
3 เพื่อลดภาวะขาดสารอาหารในเด็ก 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กขาดสารอาหารลดลงจากเดิม

70.00 100.00
4 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ

เด็กได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

90.00 100.00
5 เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพเด็ก 0-5ปี ส่งผลกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาได้เต็มศักยภาพ

เด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องโภชนาการและงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องโภชนาการและงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท* 120 คน เป็นเงิน  6,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท 2 มื้อ120 คน  เป็นเงิน  6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2562 ถึง 30 กันยายน 2562
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การดูเเลสุขภาพฟันเเละการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กได้อย่างถูกต้อง
-ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี สามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะตามวัยให้แก่เด็กที่ขาดสารอาหารได้อย่างถูกต้อง -ร้อยละของเด็กขาดสารอาหารลดลงจากเดิม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเเละเด็กที่ได้รับวัคซีน ไม่ครบตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเเละเด็กที่ได้รับวัคซีน ไม่ครบตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท50 คน เป็นเงิน2,500 บาท -ค่าอาหารว่าง 25 บาท2มื้อ50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แกผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี เป็นเงิน 4,000 บาท กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและวัคซีนไม่ครบเป็นเงิน 2,550 ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 2
1 เมตร เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2562 ถึง 30 กันยายน 2562
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100 เด้กได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ร้อยละ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การดูเเลสุขภาพฟันเเละการสร้างเสริมภูมิคุม้กันโรคในเด็ก
2. จำนวนเด็กที่มีปัญหาขาดสารอาหารในพื้นที่ ที่มีภาวะขาดสารอาหารลดลง
3. จำนวนเด็กที่ขาดรับวัคซีนตามเกณฑ์ ได้รับการฉีดวัคซีน ร้อยละ 90


>