กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนอำเภอระโนดจังหวัดสงขลา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนอำเภอระโนดจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

30.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

5.00

สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและของประเทศไทย ทั้งใน มิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม โดยเฉพาะสถานการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จึงส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ เช่น ภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูง และระดับ ความดันโลหิตสูง นำไปสู่อาการของโรคที่รุนแรงขึ้น อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ซึ่งส่วนสำคัญ ในการจัดการปัญหาสุขภาพดังกล่าวคือการพัฒนาระบบบริการของสถานบริการสาธารณสุขเพื่อจัดการ โรคไม่ติดต่อให้มีคุณภาพ และมีการดำเนินงานที่ครอบคลุมเข้าถึงผู้รับบริการ ทั้งนี้เครือข่ายสุขภาพและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่ออีกด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด จำนวน 546 คน มารับการรักษาที่ รพ.สต.ท่าบอน จำนวน 50 คน เป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมน้ำได้ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 60 ซึ่งมีจำนวนมาก ตามแนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ถ้าหากควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ควรได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานเอง แต่สำหรับผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน และไม่ต้องการไปรับการรักษาที่ โรงพยาบาลชุมชนเนื่องจากเกิดความล่าช้า เสียเวลาการเดินทาง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่ต้องการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนจึงมีแนวคิดเพื่อทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับ HbA1c ได้ ≤7 อย่างน้อยร้อยละ 50
30.00 30.00
2 มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้อย่างยั่งยืน

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเมินภาวะแทรกซ้อน พบไม่เกิน ร้อยละ 10

30.00 30.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลได้ โดยมี HbA1C (ค่าน้ำตาลในเม็ดเลือดแดง) ≤7

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับ HbA1c ได้ ≤7 อย่างน้อยร้อยละ 50

30.00 30.00
4 ผู้ป่วยมีผลการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้าปกติ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเมินภาวะแทรกซ้อน พบไม่เกิน ร้อยละ 10

30.00 30.00
5 ผู้ป่วยมีผลการตรวจเท้าปกติ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเมินภาวะแทรกซ้อน พบไม่เกิน ร้อยละ 10

30.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/07/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน คนละ50บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาทจำนวน 30 คน เป็นเงิน1,500 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 3 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าคู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบเข้มข้น จำนวน 30 เล่ม ๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับ HbA1c ได้ ≤7 อย่างน้อยร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการประเมินผลที่ได้รับ หลังจัดการอบรมและกลับไปปฏิบัติตัวเป็นเวลา 6 เดือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการประเมินผลที่ได้รับ หลังจัดการอบรมและกลับไปปฏิบัติตัวเป็นเวลา 6 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าการจัดประกวด ผลค่า HbA1C (ค่าน้ำตาลในเม็ดเลือดแดง) น้อยที่สุดและต้องน้อยกว่า 7 รวมเป็นเงิน600บาท รางวัลที่ 1 เกียรติบัตรพร้อมกรอบ มีค่า HbA1Cค่าน้ำตาลในเลือดน้อยที่สุดเป็นเงิน200บาท รางวัลที่ 2 เกียรติบัตรพร้อมกรอบ มีค่า HbA1Cค่าน้ำตาลในเลือดน้อยที่สุดรองลงมา เป็นเงิน 200บาท
    รางวัลที่ 3 เกียรติบัตรพร้อมกรอบ มีค่า HbA1Cค่าน้ำตาลในเลือดน้อยที่สุดรองลงมาอันดับ 3เป็นเงิน 200บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับ HbA1c ได้ ≤7 อย่างน้อยร้อยละ 50
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเมินภาวะแทรกซ้อน พบไม่เกิน ร้อยละ 10
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
2. มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้อย่างยั่งยืน
3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลได้ โดยมี HbA1C (ค่าน้ำตาลในเม็ดเลือดแดง) ≤7
4. ผู้ป่วยมีผลการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้าปกติ
5. ผู้ป่วยมีผลการตรวจเท้าปกติ


>