กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการตกน้ำ จมน้ำในเด็กนักเรียน ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสุคิริน

โรงพยาบาลสุคิริน

โรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลสุคิริน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กนักเรียนในวัยเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับอันตรายหรืออันตรายถึงชีวิตจากพฤติกรรมการเล่นน้ำที่ไม่ปลอดภัยของกลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนเด็กชั้นอนุบาลจะมีความเสี่ยงของการตกน้ำ จมน้ำได้ง่ายกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆหากโรงเรียนมีแหล่งน้ำเสี่ยงควรได้รับการแก้ไขทันที
จากตัวเลขสถิติการเสียชีวิตที่ไม่น้อย ทำให้ "การจมน้ำ" จึงถูกองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเป็นหนึ่งในภัยเร่งด่วนต่อสุขภาพของสาธารณชน โดยในทางปฏิบัติ WHO และประเทศสมาชิกทั่วโลก ต่างพยายามสร้างความตระหนักและส่งเสริมการดำเนินงานขับเคลื่อนที่สอดประสานกันเพื่อป้องกันภัยจากการจมน้ำร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง ในปีหนึ่ง ๆ ทั่วโลก ต้องสูญเสียชีวิตผู้คนไปกว่า 3 แสนคน จากอุบัติเหตุจมน้ำ โดยกว่าร้อยละ 90 ในจำนวนนี้เป็นประชากรในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง ซึ่งครึ่งหนึ่งนั้นยังเป็นเด็กและเยาวชนอนาคตของชาติ โดยเฉพาะเด็กเล็กในวัย 1-4 ปี ถือเป็นวัยที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ขณะที่ในประเทศไทย "การจมน้ำ" เป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเป็นอันดับ 1 ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่กระทบต่อคุณภาพ
ดังนั้นความรู้ในการป้องกันตนเอง การช่วยฟื้นคืนชีพ รวมทั้งทักษะในการช่วยชีวิต โดยใช้หลักการตะโกน โยน ยื่น พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากพื้นที่เสี่ยงต่อการตกน้ำจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ เด็กมีชีวิตรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฟันได้ งานสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาเพื่อลดการเสียชีวิตของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ในพื้นที่อำเภอสุคิริน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนและเยาวชน ทักษะและการปฏิบัติในหลักการ ตะโกน โยน ยื่น และการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)

เด็กนักเรียนและเยาวชน มีทักษะและการปฏิบัติในหลักการ ตะโกน โยน ยื่น และการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลสามารถใช้หลักการ อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม ได้

เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลสามารถใช้หลักการ อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม ได้ ร้อยละ 80

80.00
3 เพื่่อสอนและฝึกหัดให้เด็กนักเรียน และเยาชนสามารถว่ายน้ำเป็น จนเอาชีวิตรอดจากการประสบเหตุทางน้ำ

เด็กนักเรียน และเยาชนสามารถว่ายน้ำเป็น จนเอาชีวิตรอดจากการประสบเหตุทางน้ำ ร้อยละ 80

80.00
4 เพื่อสอนและฝึกหัดให้เด็กนักเรียนและเยาวชนรู้จัก และสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามวิธีมาตรฐานสากล

เด็กนักเรียนและเยาวชนรู้จัก และสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามวิธีมาตรฐานสากล ร้อยละ 80

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 25
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 หนูจ๋า รู้ไว้ จะปลอดภัยจากการจมน้ำ อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม ตะโกน โยน ยื่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 หนูจ๋า รู้ไว้ จะปลอดภัยจากการจมน้ำ อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม ตะโกน โยน ยื่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ3,625 บาท ( สามพันหกร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน) ดังนี้ ค่าอาหารว่าง จำนวน 25 คน X 25 บาท X 1 มือ เป็นเงิน 625 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์
- สระน้ำขนาด 3 เมตร + สูบลมไฟฟ้า จำนวน 1 ชุดเป็นเงิน 1,000 บาท - เสื้อชูชีพเด็กเล็ก จำนวน 25 ชุด ชุดละ 80 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลสามารถใช้หลักการ อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3625.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 วัคซีนป้องกันเด็กจมน้ำ ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 2-3

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 วัคซีนป้องกันเด็กจมน้ำ ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 2-3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ 22,500 บาท ( สองหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมโดยขอถัวจ่ายทุกรายการ ดังต่อไปนี้ ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน3คน X 5 ชม.X 600 บาท X 1 รุ่น เป็นเงิน 9,000 บาท ค่าสระน้ำ จำนวน 50 คน X 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ค่ารถเดินทาง จำนวน 50 คน X 60 บาท ไป-กลับ เป็นเงิน 3,000 บาท ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน X 50 บาท X 1 มือ เป็นเงิน 2,500 บาท ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน X 25 บาท X 2 มือ เป็นเงิน 2,500 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์
- เสื้อชูชีพเด็กโต จำนวน 5 ชุด ชุดละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - เชือกลอยน้ำ 8 มม.*20 เมตร เป็นเงิน 1,000 บาท - แผ่นโฟมลอยน้ำรูปตัว u 5 อัน อันละ 100 บาท เป็นเงิน500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนและเยาวชน มีทักษะและการปฏิบัติในหลักการ ตะโกน โยน ยื่น และการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 อบรมพี่เลี้ยงในเด็กมัธยม (ผู้ก่อการดี) ในการป้องกันและช่วยเหลือคนจมน้ำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 อบรมพี่เลี้ยงในเด็กมัธยม (ผู้ก่อการดี) ในการป้องกันและช่วยเหลือคนจมน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ  10,500 บาท (หนึ่งหมื่นห้าร้อยบาทบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมโดยขอถัวจ่ายทุกรายการดังต่อไปนี้      ค่าตอบแทนวิทยากร    จำนวน  1  คน X 5 ชม.X 500 บาท           เป็นเงิน 2,500 บาท      ค่าอาหารกลางวัน      จำนวน 50 คน X 50 บาท X 1 มือ              เป็นเงิน 2,500 บาท      ค่าอาหารว่าง            จำนวน 50 คน X 25 บาท X 2 มือ              เป็นเงิน 2,500 บาท      ค่าวัสดุอุปกรณ์
    - แฟ้มใส่เอกสาร จำนวน 50 อัน อันละ 30 บาท      เป็นเงิน 1,500 บาท     - สมุดโน้ต จำนวน 50 เล่ม เล่มละ 15 บาท          เป็นเงิน    750 บาท     - ปากกาลูกลื่นหมึกน้ำเงิน 50 ด้าม ด้ามละ 8 บาท      เป็นเงิน    400 บาท     - กระดาษ A4  1 ริม ริมละ 100 บาท              เป็นเงิน    100 บาท     - ค่าถ่ายเอกสาร 50 ชุด ชุดละ 5 บาท          เป็นเงิน    250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนและเยาวชนรู้จัก และสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามวิธีมาตรฐานสากล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 สำรวจและจดการแหล่งน้ำเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 สำรวจและจดการแหล่งน้ำเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ  5,750 บาท (ห้าพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมโดยขอถัวจ่ายทุกรายการ ดังต่อไปนี้     ค่าอาหารว่าง      จำนวน 50 คน X 25 บาท X 1 มือ    เป็นเงิน 1,250 บาท     ค่าป้ายไวนิล      ขนาด 3 X 3.5 m X 1,500 บาท  เป็นเงิน 1,500 บาท     ค่าวัสดุอุปกรณ์
    - แฟ้มใส่เอกสาร จำนวน 50 อัน อันละ 30 บาท      เป็นเงิน 1,500 บาท     - สมุดโน้ต จำนวน 50 เล่ม เล่มละ 15 บาท          เป็นเงิน    750 บาท     - ปากกาลูกลื่นหมึกน้ำเงิน 50 ด้าม ด้ามละ 8 บาท      เป็นเงิน    400 บาท     - กระดาษ A4  1 ริม ริมละ 100 บาท              เป็นเงิน    100 บาท     - ค่าถ่ายเอกสาร 50 ชุด ชุดละ 5 บาท          เป็นเงิน    250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนและเยาวชนรู้จัก และสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามวิธีมาตรฐานสากล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,375.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายร่วมกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อำเภอสุคิรินไม่มีผู้เสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำในพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยการจมน้ำ
2. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการว่ายน้ำ ลอยน้ำ ทักษะการช่วยผู้ประสบเหตุตกน้ำจมน้ำได้
3. เด็กนักเรียนและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกสอนว่ายน้ำทุกคน จะสามารถว่ายน้ำเป็นเมื่อจบกิจกรรม
4. เด็กนักเรียนและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกสอนว่ายน้ำทุกคน จะมีความรู้และทักษะเบื้องต้นในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ


>