กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

กองสวัสดิการสังคม

1.นายทศพร ชาติสุวรรณ
2.นางสาวนงลักษณ์ สืบชนะ
3.นายปิยะ แสงรัตน์
4.นางอภิญญามีชัยชนะ
5.นายสถิตย์ โชติรุ่งโรจน์

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันปรากฏว่า มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยเป็นปัญหาที่เป็นภัยร้ายแรงในสังคมไทยมายาวนานโดยมีรูปแบบการแพร่กระจายที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งปรากฏว่าในกลุ่มเยาวชนเป็นกลุ่มที่มีโอกาสติดยาเสพติดมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากความอยากรู้อยากลอง รวมทั้งประชาชนทั่วไปในกลุ่มผู้ว่างงาน อาชีพรับจ้าง ฯลฯ อีกทั้งมีปัจจัยจากสภาพแวดล้อม สังคม หรือค่านิยมต่างๆ ที่เป็นแรงผลักดัน ประกอบกับสถานการณ์ราคายาเสพติดที่ลดลง ส่งผลให้หาซื้อยาเสพติดประเภทต่างๆได้ง่าย ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เสพ รวมถึงผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศโดยรวม ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2563 – 2565ให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปีให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว
เทศบาลเมืองสะเดา ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญในการที่จะดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาล กิจกรรมอบรมให้ความรู้ตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของโทษและพิษภัยของยาเสพติด ตามการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อหยุดยั้งและลดระดับการขยายตัวของปัญหายาเสพติดในพื้นที่ให้มากที่สุด แต่เนื่องจากงบประมาณในการดำเนินการมีไม่เพียงพอ จึงได้จัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กิจกรรมอบรมให้ความรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยภาพรวม ของประเทศต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจนโยบาย และมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด ตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด
  • สมาชิกชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสะเดา คณะกรรมการชุมชน  กลุ่มสตรีชุมชน  อสม. เครือข่ายการทำงานยาเสพติดในพื้นที่ประกอบด้วย เช่น ตัวแทนโรงพยาบาลอำเภอสะเดา , ตัวแทนสถานีตำรวจภูธรสะเดา , ตัวแทนตำรวจตระเวนชายแดน ค่าย 437 , ตัวแทนโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสะเดา , ตัวแทนกองร้อย ร.5021 ,  ตัวแทนกองทุนแม่ของแผ่นดิน  มีส่วนร่วมในกิจกรรม  ไม่ต่ำกว่า  100  คน
  • คดียาเสพติดในพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดาลดลง
0.00
3 เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

 

0.00
4 เพื่อสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการสัมมนาทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างครบถ้วน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการสัมมนาทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างครบถ้วน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กำหนดตารางการหัวข้อสัมมนา ระยะเวลา สถานที่ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระที่จะให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กำหนดตารางการหัวข้อสัมมนา ระยะเวลา สถานที่ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระที่จะให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดสัมมนา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้โทษของยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
จัดสัมมนา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้โทษของยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สมาชิกชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสะเดา คณะกรรมการชุมชนกลุ่มสตรีชุมชนอสม. เครือข่ายการทำงานยาเสพติดในพื้นที่ประกอบด้วย เช่น ตัวแทนโรงพยาบาลอำเภอสะเดา , ตัวแทนสถานีตำรวจภูธรสะเดา , ตัวแทนตำรวจตระเวนชายแดน ค่าย 437 , ตัวแทนโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสะเดา , ตัวแทนกองร้อย ร.5021 ,ตัวแทนกองทุนแม่ของแผ่นดินมีส่วนร่วมในกิจกรรมไม่ต่ำกว่า100คน
  • คดียาเสพติดในพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดาลดลง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28500.00

กิจกรรมที่ 4 ดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุป รายงานผลการดำเนินงาน เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในการจัดโครงการครั้งต่อไป

ชื่อกิจกรรม
สรุป รายงานผลการดำเนินงาน เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในการจัดโครงการครั้งต่อไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,500.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ
จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา จำนวน 28,500 บาท (สองหมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ในแต่ละกิจกรรมจะเบิกเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง อาศัยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๕๗ และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงาน การจัดการแข่งขันกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๕๙ เป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้

รายการ ระเบียบ/หลักเกณฑ์/แนวทาง
1. ค่าวัสดุอุปกรณ์/ป้ายไวนิล - ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.๕x๔ เมตรเป็นเงิน ๗๒๐ บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ (จัดทำเอกสารการอบรม) เป็นเงิน ๙๘๐ บาท
ระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๕๗ หมวด ๒ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ส่วนที่ ๑ข้อ ๑๒ (๓)
๒. ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม - ค่าอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑ มื้อๆละ ๗๕ บาท/คน จำนวน ๑๐๐ คน เป็นเงิน ๗,๕๐๐ บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ มื้อๆ ละ ๒๕ บาท/คน จำนวน ๑๐๐ คน เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ฯ พ.ศ.๒๕๕๙ หมวด ๑ ข้อ ๒ (ก) (ข)
๓. จัดนิทรรศการ - จัดนิทรรศการ เป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ฯ พ.ศ.๒๕๕๙ หมวด ๑ ข้อ ๕
4. ค่าสมนาคุณวิทยากร - ค่าสมนาคุณวิทยากรหน่วยงานภาครัฐ ภาคเช้า จำนวน ๑ คน จำนวน ๓ ชั่วโมง ๆ ละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยาการหน่วยงานภาครัฐ ภาคบ่าย จำนวน ๕ คน ๆ ละ ๓ ชั่วโมง ๆ ละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๙,๐๐๐ บาท
ตามระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม พ.ศ.๒๕๕๗ หมวด ๒ ส่วนที่ ๑ ข้อ ๑๒,๑๗ (๑) (ก) (ข) (จ) (๒) (ก) (๓)
(ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้)

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจนโยบายและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สามารถนำไปขยายผลหรือขับเคลื่อนในพื้นที่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
2.ทำให้ประชาชนได้เห็นได้เห็นความสำคัญของพิษภัยและโทษยาเสพติด เข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด
3.ทำให้หน่วยงานของรัฐ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ภาคประชาชน/ภาคเอกชน ได้มีโอกาสเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
4.ทำให้เกิดเครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดมากขึ้น


>