กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง ตำบลคลองขุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง ตำบลคลองขุด

ชื่อองค์กร......ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง............................
กลุ่มคน (ระบุ 5 คน)
1. นางสาวพรรณรัตน์ พันธ์พงษ์ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง
2. นางรินรชากอมาศวงศกร สมาชิก
3. นางสมพรซึ้งหฤทัย สมาชิก
4. นางสุวรรณี อ่อนแก้ว สมาชิก
5. นางปราณี ฉัตรชัยวงค์ สมาชิก

หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนอายุ 15-35 ปี ได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรัง

 

40.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 -34 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิต

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองด้วยแบบสอบถามเบื้องต้น (verbal screening) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 2. ประชาชนที่มีผ่านการคัดกรองด้วย (Verbal screening) ได้รับการตรวจยืนยันด้วย (DTX Strip test) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง

40.00 70.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ เพื่อให้การรักษาในระยะเริ่มต้นอย่างทันท่วงที

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขอย่างน้อยร้อยละ 90

60.00 90.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

1.ประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และพฤติกรรมเพื่อการลดภาวะเสี่ยง ร้อยละ 60 ของจำนวนประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง 2.ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนสามารถควบคุมภาวะเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

45.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 418
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) ประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป และให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ แบ่งเป็น 4 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนมิตรสัมพันธ์, ชุมชนบ้านหน้าเมือง, ชุมชนสนามบิน,ชุมชนเขตพื้นที่ (ที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 6)

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) ประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป และให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ แบ่งเป็น 4 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนมิตรสัมพันธ์, ชุมชนบ้านหน้าเมือง, ชุมชนสนามบิน,ชุมชนเขตพื้นที่ (ที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 6)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ๑. สำรวจ และรวบรวมข้อมูล ๒. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ 3. ประชุมชี้แจง แนวทาง  ขั้นตอน รายละเอียดของการดำเนินงานให้สมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง ตำบลคลองขุด จำนวน 418 คน 4. คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) ประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป และให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ แบ่งเป็น 4 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนมิตรสัมพันธ์, ชุมชนบ้านหน้าเมือง, ชุมชนสนามบิน,ชุมชนเขตพื้นที่ (ที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 6) 5. สรุปผลการคัดกรองแยกกลุ่มผู้ที่พบภาวะเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการอบรมให้ความรู้ เรื่องอารมณ์ อาหาร และการออกกำลังกาย โดยรณรงค์การออกกำลังกายตามความสมัครใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค เดิน-วิ่ง และการออกกำลังกายอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามวัยและสภาพร่างกาย งบประมาณ     1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับประชุมชมรม อสม.หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง 17 คน ๆ ละ  25  บาท จำนวน 1 วัน                            เป็นเงิน   425    บาท         2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับชมรม อสม.หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง ในการคัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening)  17 คน ๆ ละ  25  บาท จำนวน 8 วัน (ชุมชนละ 2 วัน)
                                        เป็นเงิน   3,400    บาท     6. ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง จำนวน 418 ชุด ๆ ละ 1 บาท   เป็นเงิน   418   บาท 7. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร              เป็นเงิน      360  บาท   
8. ค่าแผ่นพับให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 418 แผ่น ๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน  836 บาท 9. ถ่านอัลคาไลน์สำหรับเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 10 ชุด ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 800 บาท 10. ถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ จำนวน 3 กล่อง    เป็นเงิน 510 บาท     11. ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ (ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าพริ้นรูป )          เป็นเงิน         500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กรกฎาคม 2563 ถึง 20 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต     1. ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 15-34 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง  จำนวน 418 คน ได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรังด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening)     2. ประชาชนที่ผ่านการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 90     ผลลัพธ์ 1. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค 2. ผู้ได้รับการคัดกรองตรวจพบภาวะเสี่ยงได้ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถควบคุมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกาย และสามารถลดการใช้ยาให้น้อยที่สุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7249.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) โดย อสม.ประจำหมู่บ้าน แบ่งเป็น 4 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนมิตรสัมพันธ์, ชุมชนบ้านหน้าเมือง, ชุมชนสนามบิน,ชุมชนเขตพื้นที่ (ที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 6)

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) โดย อสม.ประจำหมู่บ้าน แบ่งเป็น 4 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนมิตรสัมพันธ์, ชุมชนบ้านหน้าเมือง, ชุมชนสนามบิน,ชุมชนเขตพื้นที่ (ที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 6)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 6. คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) โดย อสม.ประจำหมู่บ้าน แบ่งเป็น 4 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนมิตรสัมพันธ์, ชุมชนบ้านหน้าเมือง, ชุมชนสนามบิน,ชุมชนเขตพื้นที่ (ที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 6) 7. ติดตามและประเมินผล ทำการติดตามกำกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ต่อสุขภาพ และติดตามอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง หลังจากผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1 เดือน ถ้ายังมีภาวะเสี่ยงส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด
8. สรุปและประเมินผลหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือลดลง 9. สรุปและรายงานผล งบประมาณ 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับชมรม อสม.หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง ในการคัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP)  17 คน ๆ ละ  25  บาท จำนวน 4 วัน (ชุมชนละ 4 วัน) เป็นเงิน   1,700    บาท         4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับชมรม อสม.หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง ในการติดตามและประเมินผล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ 17 คน ๆ ละ  25  บาท          เป็นเงิน   425    บาท 5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับชมรม อสม.หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมือง ในการประชุมสรุปและประเมินผลหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 17 คน ๆ ละ  25  บาท        เป็นเงิน   425    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. ประชาชนที่ผ่านการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 90     ผลลัพธ์ 1. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,799.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลผลิต
1. ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 15-34 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านหน้าเมืองจำนวน 418 คน ได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรังด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening)
2. ประชาชนที่ผ่านการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 90
ผลลัพธ์
1. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค
2. ผู้ได้รับการคัดกรองตรวจพบภาวะเสี่ยงได้ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถควบคุมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกาย และสามารถลดการใช้ยาให้น้อยที่สุด


>