กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าไทร ห่างไกลเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าไทร

นางสาวรุ่งทิวารุ่งรัตน์

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโลน่าในพื้นที่

 

15.00

จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในหลายประเทศทั่วโลกกว่า 129 ประเทศ เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) ที่มีการติดเชื้อจากคนไปสู่คน ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 3,141 คน พบผู้เสียชีวิต 58 คน (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 167 วันที่ 18 มิถุนายน 2563) หลายประเทศมีมาตรการในการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคด้วยการปิดเมืองปิดประเทศ หรือหยุดกิจการบางประเภท ส่งผลให้แรงงานชาวไทยหรือนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงทั้งในต่างประเทศและภายในประเทศมีการเดินทางกลับภูมิลำเนา จึงจำเป็นต้องมีการลงพื้นที่สำรวจ ค้นหากลุ่มเสี่ยง เพื่อประโยชน์ในการติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ต่อไป
กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ตระหนักถึงแนวทางปฏิบัติในการเปิดสถานศึกษา ให้นักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาสามารถดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย โดยสร้างองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคโควิด 19 แนวปฏิบัติสําหรับบุคลากรในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าของสถานศึกษา ครู ผู้ดูแลนักเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง และแม่ครัว ผู้จําหน่ายอาหาร ผู้ปฏิบัติงานทําความสะอาด การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมบริเวณต่าง ๆ ของสถานศึกษา มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และความรอบรู้ด้านสุขภาพนักเรียน ตลอดจนขั้นตอนการดําเนินงานคัดกรองและส่งต่อแบบประเมินตนเองสําหรับสถานศึกษา แบบประเมินตนเองสําหรับนักเรียน แบบบันทึกการตรวจคัดกรองสุขภาพสําหรับนักเรียน การจัดการเรียนการสอนช่วงเปิดภาคเรียน บทเรียนแนวปฏิบัติช่วงเปิดเรียน ที่อาจส่งผลกระทบในหลายด้าน ทั้งต่อตัวเด็ก ผู้ปกครอง ไปจนถึงครูและโรงเรียน เพราะภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่มีใครเคยพบเจอมาก่อน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำทุกวิถีทาง เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงจำเป็นต้องวางแนวทางการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรค เป็นสิ่งสำคัญ
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าไทร จึงได้จัดทำโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าไทร ห่างไกลเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อลดอัตราการเสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ป้องกันและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าไทร

 

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 216
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/11/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นตอนการวางแผนงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการวางแผนงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนการวางแผนงาน 1 ร่วมประชุมวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบและวิธีการดำเนินงาน 2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 3 ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อผู้บริหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 5 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ขั้นตอนการวางแผนงาน 1 มีการเข้าร่วมประชุมวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบและวิธีการดำเนินงาน 2 มีรายชื่อแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 3 เกิดการประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.ผู้บริหารอนุมัตืการขอโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้แก่ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้แก่ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้แก่ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID-19)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 1 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวข้องมีความรู้เรื่องมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID-19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำกิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID-19)

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าไทร สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ และไม่มีผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑. Face Shield สำหรับเด็ก 2๑๖ ชุด ชุดละ ๔๕ บาท
เป็นเงิน  ๙,๗๒๐ บาท ๒. Face Shield สำหรับครู ๒๘ ชุด ชุดละ ๔๕ บาท
เป็นเงิน  ๑,๒๖๐ บาท ๓. ชุดกดเจลล้างมือสำหรับเด็ก ๒ ชุด ชุดละ ๑,๕๕๐ บาท
เป็นเงิน ๓,๑๐๐ บาท ๔. แอลกอฮอร์แบบเจล ขนาด ๔๐๐ ml จำนวน ๖๐ ขวด
ขวดละ ๑๖๕ บาท เป็นเงิน  ๙,๙๐๐ บาท ๕. แอลกอฮอร์แบบสเปรย์แบบขวด จำนวน ๑๕ ขวด
ขวดละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน  ๒,๒๕๐ บาท ๖. แอลกอฮอร์แบบสเปรย์แบบแกลลอน ขนาด ๓,๘๐๐ ml
จำนวน ๕ แกลลอน แกลลอนละ ๙๑๐ บาท เป็นเงิน  ๔,๕๕๐ บาท ๗.หน้ากากอนามัยแบบผ้าเด็ก ๖๕๐ ชิ้น ชิ้นละ ๑๕ บาท
เป็นเงิน  ๙,๗๕๐ บาท ๘. หน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียว ๓ ชั้นกรอง จำนวน ๑๓ กล่อง กล่องละ ๕๙๐ บาท เป็นเงิน  ๗,๖๗๐ บาท ๙. สบู่เหลว ๓๘๐๐ ml จำนวน ๔ แกลลอน
แกลลอนละ ๓๐๐ บาท เป็นเงิน  ๑,๒๐๐ บาท ๑๐. น้ำยาฆ่าเชื้อ ขนาด ๓,๘๐๐ ml จำนวน ๕ แกลลอน
แกลลอนละ ๑,๖๑๐ บาท เป็นเงิน ๘,๐๕๐ บาท ๑๑. เครื่องตรวจวัดอินฟลาเรส จำนวน ๒ เครื่อง
เครื่องละ ๒,๗๐๐ บาท เป็นเงิน ๕,๔๐๐ บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
62850.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤศจิกายน 2563 ถึง 27 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ผลการประเมินการทำกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 62,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าไทร สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ และไม่มีผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


>