กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบหัวนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนสร้างสรรค์สมุนไพรสร้างสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบหัวนา

โครงการเยาวชนสร้างสรรค์สมุนไพรสร้างสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

1.นางศริขวัญ เดชโยธิน
2.นางสาวจามจุรีสมณา
3.นายวิทวัสกันจินะ

ณ โรงเรียนบ้านบ่อหอยอำเภอเวียงสาจังหวัดน่าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในสภาวะการณ์ปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพมีการแข่งขันค่อนข้างสูง มีการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งสภาพบ้านเมืองในปัจจุบันที่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ราคาสินค้าโดยทั่วไปได้ปรับตัวสูง ประชาชนโดยทั่วไปจึงต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การประกอบอาชีพในปัจจุบันจึงไม่ได้มุ่งเน้นเพียงรายได้หลักเพียงอย่างเดียว การสนับสนุนให้ประชาชนโดยทั่วไปมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มพูนรายได้ ตลอดจนการพึ่งพาตนเองโดยใช้หลักการและปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง ” ซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎร ในเขตพื้นที่ตำบลยาบหัวนา ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับการการเกษตร เป็นอาชีพหลัก และมีการว่างงานหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต
สภาเด็กและเยาวชนตำบลยาบหัวนา ร่วมกับ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลยาบหัวนาได้เล็งเห็น ถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการฯ ดังกล่าวขึ้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนตำบลยาบหัวนาได้มีส่วนร่วมนำสมุนไพรซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นนำกลับมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและเพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสามารถนำสมุนไพรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ได้แก่ การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาสระผม น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม และผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน และการส่งเสริมการทำยาหม่องจากสมุนไพร ฯลฯ ให้กับเด็กและเยาวชนตำบลยาบหัวนา เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงอย่างมีเหตุผลลดปริมาณการใช้สารเคมีและเป็นการลดรายจ่ายเสริมรายได้ให้กับครอบครัวได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนตำบลยาบหัวนามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพร
2. เพื่อส่งเสริมให้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน
๓. เพื่อเป็นการลดภาระรายจ่ายในการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว
๔. เพื่อส่งเสริมให้เด็กเยาวชนตำบลยาบหัวนา ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
๕. เพื่อให้เด็กและเยาวชนตำบลยาบหัวนา มีรายได้เสริม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเยาวชนสร้างสรรค์ สมุนไพรสร้างสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

ชื่อกิจกรรม
โครงการเยาวชนสร้างสรรค์ สมุนไพรสร้างสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม   จำนวน ๘๐ คนๆ ละ ๑  มื้อๆ ละ 7๐.- บาท                                             เป็นเงิน ๕,๖๐๐.-บาท     ๒. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม   จำนวน ๘๐ คนๆ ละ ๒๐ บาท/มื้อ
        จำนวน  ๒ มื้อ                                                       เป็นเงิน  ๓,๒๐๐.-บาท ๓. ค่าป้ายโครงการฯ   ขนาด ๓ x ๑ เมตร  จำนวน  ๑ ป้ายๆ ละ ๖๐๐.-บาท   เป็นเงิน    ๖๐๐.-บาท ๔. ค่าป้ายสรุปโครงการฯ  พร้อมขาตั้ง ขนาด 2 x ๑ เมตร  จำนวน ๑ ป้ายๆ ละ 1,000.-บาท
                                                                                               เป็นเงิน    1,0๐๐.-บาท ๕. ค่าจัดทำรายงานสรุปผลโครงการฯ  จำนวน  ๒ เล่มๆ ราคาละ ๒๕๐.-บาท
     เป็นเงิน    ๕๐๐.-บาท ๖. ค่าตอบแทนวิทยากร   จำนวน  1 คนๆ ละ ๖ ชม.ๆ ละ   6๐๐.-บาท   จำนวน  ๑ วัน                                               เป็นเงิน    ๓,๖๐๐.- บาท ๗. ค่าวัสดุที่ใช้ในกิจกรรมตามโครงการฯ ประกอบด้วย  หัวเชื้อน้ำยา N๗๐ เอ็มอี  มะกรูต มะนาว  ไพร  น้ำด่าง  เกลือไอโอดีน   ไม้พาย  กะละมัง  ผ้าขาวบาง  ช้อนตวง  ถ้วยตวง  พาราฟินแข็ง วาสลิน  ลาโนลิน  น้ำมันระกำ   เมนทอล   การบูร  น้ำมันสะระแหน่  น้ำมันไพล   วัสดุพลาสติกที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์  ฯลฯ
                                     เป็นเงิน  ๕,๕๐๐.-บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น   ๒๐,๐๐๐.-บาท  (-สองหมื่นบาทถ้วน-)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กและเยาวชนตำบลยาบหัวนา มีความรู้ความเข้าใจสมุนไพร
  2. เด็กและเยาวชนตำบลยาบหัวนา สามารถผลิตน้ำยาเอนกประสงค์และยาหม่องที่ทำมาจากสมุนไพร
  3. ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว
  4. เด็กและเยาวชนตำบลยาบหัวนา รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
    ๕. เด็กและเยาวชนตำบลยาบหัวนา มีรายได้เสริมจากการจำหน่ายน้ำยาเอนกประสงค์และยาหม่อง    ที่ทำมาจากสมุนไพร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>