กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ด้วยรักและใส่ใจสุขภาพ (Health and Healthy Care) โรงเรียนเพียงหลวง 4ฯ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี

1. นายนัฐพงค์ หมีนหวัง ผู้ประสานงานคนที่ 1
2. นางสาวมารียา มัจฉา ผู้ประสานงานคนที่ 2
3. นางสาวยุภาพร โสะเต่ง
4. นางลินดา หวันตาหลา
5. นางสาวทิตยา เกตุชาติ

โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคนครอบครัว ชุมชน และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือวัยเด็กซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญาอารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป

จากข้อมูลภาวะโภชนาการ ในปีการศึกษา 2562 นักเรียนโรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จำนวน 26 คน พบเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 38.46 ซึ่งปัญหาภาวะทุพโภชนาการนี้ อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์จิตใจและสังคมตามมาจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิตการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชน นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียน

จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีจึงได้จัดทำโครงการด้วยรักและใส่ใจสุขภาพ (Health and Healthy Care)ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก และจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ส่งเสริมสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะปัญหาภาวะโภชนาการ

1.ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ

0.00
2 เพื่อให้ครู ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ และความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกาย ไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ

1.ร้อยละ 90 ของครูผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการ

2.ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่องภาวะโภชนาการ

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

1.ร้อยละ90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

2.ร้อยละ90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่อง การออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

0.00
4 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19)

ร้อยละ 90 ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด(COVID-19)และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 27
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู 10
ผู้ปกครอง 21

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 3-12 ปี

  • บันทึกผลในสมุดทะเบียนเด็กและสมุดบันทึกสุขภาพเด็กพร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ

  • จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นรายเฉพาะ

  • จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของแต่ละเมนูและโภชนาการสำหรับเด็ก

  • จัดทำอาหารเช้าให้แก่เด็ก

  • จ่ายยาถ่ายพยาธิแก่เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ทุกคน

เป้าหมาย เด็กนักเรียน จำนวน27 คน

งบประมาณ

  • ค่าถ่ายเอกสารสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง จำนวน 27 ชุดชุดละ 30 บาทเป็นเงิน810 บาท

  • จัดทำอาหารเช้าให้แก่นักเรียนจำนวน 10 คนคนละ 20 บาทจำนวน100วัน เป็นเงิน 20,000 บาท

  • ค่าจัดทำเมนูอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็กจำนวน 5 เล่มๆละ 30 บาท เป็นเงิน 150 บาท

  • จัดซื้อยาถ่ายพยาธิ จำนวน 10 ขวด ขวดละ 134 บาทเป็นเงิน 1,340 บาท

รวมเป็นเงิน22,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22300.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก 3-12 ปี ให้แก่ครู ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก 3-12 ปี ให้แก่ครู ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

อบรมให้ความรู้เรื่อง

  • การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กวัยเรียน

  • ความสำคัญของอาหาร

  • วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก

  • โรคที่เกิดจากอาหารและน้ำที่เป็นสื่อ

เป้าหมาย

  • ครู จำนวน8 คน

  • ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการ จำนวน10คน

  • เด็กนักเรียน จำนวน27คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,125 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 X 3.0 เมตร เป็นเงิน 700 บาท

  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 45 คน คนๆละ 25 บาทเป็นเงิน 1,125 บาท

รวมเป็นเงิน 4,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 90 ของครูผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการ

2.ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่องภาวะโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4150.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเด็กที่ภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเด็กที่ภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • เยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง จำนวน 2-3 ครั้ง

  • ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนักโภชนาการและครู

เป้าหมาย

  • เด็กที่มีทุพภาวะโภชาการจำนวน10คน

  • ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก 1 เครื่องเครื่องละ 680 บาท

รวมเป็นเงิน 680 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทุพโภชนาการเพิ่มมากขึ้นและสามารถนำไปปฎิบัติให้กับเด็กได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
680.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมพัฒนาการ/การออกกำลังกายและเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมพัฒนาการ/การออกกำลังกายและเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม - จัดกิจกรรมการออกกำลังกายในตอนเช้าประมาณ 20 นาที

  • ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน ได้แก่ ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เก็บขยะ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้นอย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

เป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน 27คน

งบประมาณ

ไม่ขอใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการเสริมสร้างการออกกำลังกายให้กับเด็กนักเรียนเพื่อสร้างความตระหนักถึงการออกกำลัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด- 19

ชื่อกิจกรรม
มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด- 19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน  27  คน

  • ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน

  • ผู้ปกครอง   จำนวน  21  คน

งบประมาณ

  • ค่าแอลกอฮอล์ ขนาด 300 ml  จำนวน 2 ขวด ขวดละ 185 บาท เป็นเงิน 370 บาท

  • ค่าเครื่องวัดไข้  จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 2,000 บาทเป็นเงิน  2,000 บาท

รวมเป็นเงิน  2,370 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อป้องกันเฝ้าระวังการเกิดไวรัสรัสโคโรน่า 2019 ภายในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2370.00

กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลจำนวน 2 เล่ม เล่มละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

รวมเป็นเงิน  500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รูปเล่มรายงาน จำนวน 2 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามเป้าหมาย

2.ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนลดลง

3. นักเรียน ครู ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ด้านโภชนาการในเด็กวัยเรียน

4.มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด -19 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID -19)


>