กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ผู้สูงวัย บ้านคอลอมุดอ สุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน

ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1

นางมาสีเตาะล่อเตะ
นางตีบ๊ะไอนา

ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะแหนปฏิบัติงานในหมู่ที่1 บ้านคอลอมุดอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกได้มีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 จำนวนผู้สูงอายุทั่วโลกมีจำนวนประมาณ 963 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 13 ของประชากรทั่วโลก โดยในปี พ.ศ. 2573 คาดว่าจะมีจำนวนประชากรสูงอายุมากถึงประมาณ 1.4 พันล้านคนและจะเพิ่มขึ้นถึง 2 พันล้านคนในปี พ.ศ. 2593ซึ่งประชากรสูงวัยในไทยเติบโตเป็นอับดับ 3 ของเอเชีย และจากสถิติผู้สูงวัยในไทยจากกรมกิจการผู้สูงอายุ ณ วันที่ 31 ธันวาคมปี 2562 พบว่า จำนวน 11,136,059 คน สัดส่วน 16.73 %เกิน 10% หมายถึงไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ
การพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ทำให้อัตราการตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรัง ร้อยละ 80 ป่วยด้วยโรคเรื้อรังหรือโรคเมตาบอลิกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีและควรมีการเตรียมความพร้อมแก่ผู้ที่ก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ ประชาชนกลุ่มอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
การดำเนินมาตรการเชิงรุกเตรียมความพร้อมการก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดภาวะเสี่ยงที่ตรวจพบและการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุซ้ำเพื่อติดตามภาวะสุขภาพ ซึ่งในปีที่ผ่านมาพบปัญหาด้านอุปกรณ์เครื่องมือในการคัดกรองเบาหวาน ความดัน ไม่เพียงพอ และ ด้านประสิทธิภาพการคัดกรองและขาดการบูรณาการการมีส่วนร่วมในการคัดกรองBGS ทำให้ยังไม่ผ่านเกณฑ์ ดังนั้นอสม.หมู่ที่ 1 บานคอลอมุดอ จัดทำโครงการผู้สูงวัยบ้านคอลอมุดอ สุขภาพดี นี้ขึ้นเพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีผลคัดกรองผิดปกติได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลต่อเนื่อง ลดปจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเมตาบอลิกและปรับพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงใหถูกตองเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ 207
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมทักษะการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุของอสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมทักษะการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุของอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.  จัดทำข้อมูลผู้สูงอายุ /คู่มือคัดกรอง 2.ประชุมเตรียมโครงการร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพี่เลี้ยงโครงการ ,ผู้ปฏิบัติงาน คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ     3.  ประชุมประธาน อสม.แต่ละหมู่บ้าน ซึ่งเป็นกรรมการทีมรับผิดชอบหลักของโครงการ     4.  ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ อสม. หมู่ที่ 1 บ้านคอลอมุดอ 5. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูความรู้และทักษะการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 เรื่อง แก่ อสม.ได้แก่ การคัดกรอง  : โรคความดันโลหิตสูง ,โรคเบาหวาน ,สุขภาพช่องปาก ,สุขภาพทางตา, การทดสอบสภาพสมอง , การคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม ,การคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ,การคัดกรองภาวะหกล้ม , การคัดกรองดัชนีมวลกาย , การประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน
6.ประเมินความรู้และทักษะการคัดกรองของอสม.ที่ผ่านการอบรม 6.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 เรื่อง แก่กลุ่มอสม. ค่าใช้จ่าย
เป็นเงิน    17,250     บาท  รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 25 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                            เป็นเงิน   1,250  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  25  คน ๆ ละ 25บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ                เป็นเงิน   1,250  บาท - ค่าถ่ายเอกสาร/คู่มือการคัดกรอง จำนวน 1เล่ม เล่มละ 50 บาท x  25   คน         เป็นเงิน   1,250  บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง x 600 บาท                            เป็นเงิน  3,000  บาท - ค่าจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่อง ราคาเครื่องละ 3,250  บาท      เป็นเงิน  6,500  บาท
- ค่าจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องเจาะเบาหวาน จำนวน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1,750  บาท         เป็นเงิน  3,500  บาท - ค่าป้ายไวนิลจำนวน 1 แผ่น     เป็นเงิน    500  บาท 6.2 กิจกรรมสร้างความรอบรู้การดูแลสุขภาพตนเองแก่กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเตรียมความพร้อมก้าวสู่ผู้สูงอายุ ค่าใช้จ่าย 3,121   บาท  ดังรายละเอียด ดังนี้ 6.2.1 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านคอลอมุดอ -ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง ภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง (CVD)
จำนวน  207 แผ่น x 1 บาท                        เป็นเงิน 207 บาท -ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง ภาวะเสื่อมในผู้สูงอายุ (BGS) จำนวน  207 แผ่น x 1 บาท                        เป็นเงิน 207 บาท -ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองสุขภาพที่พึงประสงค์
จำนวน  207 แผ่น x 1 บาท                        เป็นเงิน 207 บาท รวมเป็นเงิน    621 บาท 6.2.2 กิจกรรมติดตามรายงานพฤติกรรมและสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ
-ค่าตอบแทน อสม.ในการติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย อสม. 25 คน x คนละ 50 บาท x จำนวน 2 ครั้ง
เป็นเงิน   2,500   บาท

หมายเหตุ  ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20371.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,371.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
2.ผู้สูงอายุที่มีผลคัดกรองผิดปกติได้รับการส่งต่อ เพื่อตรวจวินิจฉัยและดูแลต่อเนื่อง


>