กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกทั้งหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปี 2531 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศที่จะกวาดล้างโปลิโอให้หมดไปจากโลก กระทรวงสาธารณสุข จึงกำหนดนโยบายที่จะกวาดล้างโปลิโอให้หมดไปจากทุกพื้นที่ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นปีที่ 26กลุ่มเด็กเป้าหมายได้รับวัคซีนในช่วงรณรงค์ด้วยผลความครอบคลุมในระดับสูงกว่าร้อยละ 95 มาตลอด อย่างไรก็ดี ในแต่ละปียังมีเด็กเกิดใหม่ รวมทั้งเด็กเล็กในกลุ่มแรงงานเคลื่อนย้ายอพยพทั้งที่เป็นเด็กไทยและเด็กต่างด้าว ที่พลาดโอกาสการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอตามระบบปกติ หรือยังได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนตามกำหนด ซึ่งนับเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อที่อาจแพร่ระบาดเข้ามาจากภายนอกประเทศได้ การระดมให้วัคซีนแก่เด็กกลุ่มเป้าหมายพิเศษ จึงเป็นกลวิธีสำคัญที่ช่วยลดโอกาสการเกิดโรค และการกลับมาระบาดใหม่ของโรคโปลิโอในประเทศไทย
ใน พ.ศ. 2563 จึงกำหนดให้มีการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอเช่นทุกปี ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาการระบาดข้ามประเทศจากประเทศที่ยังมีโรคโปลิโอเป็นโรคประจำถิ่นไปยังประเทศที่ปลอดจากโรคแล้วเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศต้องหาทางป้องกัน ขณะเดียวกัน ยังพบปัญหาการได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนในประชากรบางกลุ่ม บางพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อไปภายในประเทศ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กต่างชาติอายุต่ำกว่า 15 ปีมีภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอสูงเพียงพอที่จะป้องกันการแพร่เชื้อโปลิโอชนิดก่อโรคจากภายนอกเข้ามาในประเทศ

เด็กในกลุ่มเป้าหมาย ได้รับวัคซีนโปลิโอครบ 2 ครั้ง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ในทุกชุมชน

0.00
2 2. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสวัคซีนโปลิโอ อันเนื่องจากระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่ำ

เด็กในกลุ่มเป้าหมาย ได้รับวัคซีนโปลิโอครบ 2 ครั้ง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ในทุกชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 245
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถดำเนินการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอครบถ้วน โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนด้วยดีจากผู้ปกครองอาสาสมัคร และหน่วยงานต่างๆ
2. เสริมประสิทธิภาพมาตรการกวาดล้างโปลิโอ ในทุกพื้นที่ตำบลสุไหงโก-ลก ซึ่งจะส่งผลให้สามารถกวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดไปจากประเทศไทย


>