กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัคซีน แลกไข่ ปีที่ 2 ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

โรงพยาบาลสุขภาพตำบลลิปะสะโง

-

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโงอำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

นโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์สูงที่สุดบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรทราบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้วหมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคตฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไปงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากโรคที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช้ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี ในรอบปี 2562 ปรากฏว่า เด็กอายุครบ 1 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิด( fully immunization ) คิดเป็นอัตราร้อยละ 90.55 เด็กอายุครบ 2 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 70.00เด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 69.85 และเด็กอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 65.64 ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ว่าเด็ก0-5 ปี ได้รับวัคซีนครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 90.00 ยกเว้นวัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม (mmr) ร้อยละ 95
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 0-5 ปี ร้อยละ 95
2.เพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
3.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก0-5ปีได้รับความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ดำเนินโครงการวัคซีนแลกไข่ ปีที่ 2 ปี 2563

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินโครงการวัคซีนแลกไข่ ปีที่ 2 ปี 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.  สำรวจกลุ่มเป้าหมายเด็ก 0-5 ปี 2.  ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต.ลิปะสะโง เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของ โครงการวัคซีน “แลกไข่ ปีที่2”
3.  ประชุม อสม. เพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงาน
4.  อสม.ติดตาม และ นำส่งเด็กมารับวัคซีนของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ รพ.สต.
5.  ติดตามฉีดวัคซีนเชิงรุก ในรายที่ อสม. ติดตามแล้วแต่ไม่ยอมมารับบริการที่ รพ.สต. 6.  จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ปกครอง และร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องวัคซีน 7.  จัดกิจกรรมวัคซีนแลกไข่ กรณีที่เด็กได้รับวัคซีนตามนัดที่มาตามกำหนดนัด และจัดกิจกรรมในคลินิกในวันที่เด็กได้รับวัคซีนครบตั้งแต่อายุ 0-5 ปี
8.  สรุปประเมินผลโครงการ รายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ - ค่าป้ายชื่อโครงการขนาด 1.2 x3 เมตร จำนวน 1 ป้าย  เป็นเงิน     720        บาท - ค่าอาหารกลางวันวันที่จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน  60 คน x 50 บาท x  1 วัน  เป็นเงิน    3,000     บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  60 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน  เป็นเงิน    3,000     บาท - ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการจัดกิจการโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   เป็นเงิน    1,000     บาท - ค่าไข่ในการจัดกิจกรรมวัคซีนแลกไข่  เป็นเงิน    7,280     บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.  เด็กอายุ 0-5 ปีทุกคนได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันกันโรคครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 95 2.  อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง
3.  ผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจเรื่องวัคซีนป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กอายุ 0-5 ปีทุกคนได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันกันโรคครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 95
2.อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง
3.ผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจเรื่องวัคซีนป้องกันโรค


>