กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ พัฒนาเครือข่าย อสค. ร่วมรักษ์ไต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

ห้องประชุมราชพฤกษ์ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์และความรุนแรงโรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease,CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกสาเหตุของโรคไตเรื้อรังที่พบบ่อยเกิดจากโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูง และโรคไตเรื้อรังในระยะแรกมักไม่พบอาการผิดปกติทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไต และมักจะตรวจพบเมื่อเป็นมากแล้ว หรือเมื่อสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับค่าใช่จ่าย ในการบำบัดทดแทนไต โดยการล้างไตทางช่องท้อง หรือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเฉลี่ยประมาณ 240,000 บาทต่อคนต่อปี
ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายด้วยยา และค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆ
โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต้องตั้งงบประมาณ สำหรับการการล้างไต ในปีงบประมาณ 2558 สูงถึง 5,247 ล้านบาท และจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 6,318 ล้านบาท ในปี 2559 ซึ่งถ้ารวมงบประมาณ สำหรับบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในสิทธิอื่นๆ ได้แก่ สิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการแล้ว รัฐจำเป็นต้องใช้งบสูงกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปีและมีข้อมูลจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า จำนวนผู้ป่วย “โรคไตเรื้อรัง” เพิ่มเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ทุกปีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรัง(กลุ่มที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย) และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โดยเฉพาะที่มีสาเหตุมาจากการเป็นภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานและความดันโลหิตสูงนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในชุมชน
ในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง อันได้แก่ ผู้ป่วยและครอบครัว ชุมชนและระบบบริการสุขภาพเพื่อสร้างศักยภาพให้ผู้ป่วยและครอบครัวหรือผู้ให้การดูแล (Caregiver) หรืออาสาสมัครครอบครัว ให้มีศักยภาพและสามารถจัดการปัญหาสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสมยั่งยืนโดยแต่ละองค์ประกอบมีความเชื่อมโยงเกื้อหนุนซึ่งกันและกันแม้จะมีบทบาทและศักยภาพที่แตกต่างกันการจัดให้มีบริการและการดูแลต่อเนื่องไปยังชุมชนถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินงานเพื่อให้การดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรังบรรลุผลทีมสหสาขาวิชีพดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพอสค.ทั้งเครือข่าย ตั้งแต่ระดับที่ใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุด คือ ผู้ให้การดูแล (Caregiver) หรือ อาสาสมัครในครอบครัว ชุมชน จะเป็นทีมที่เข้มแข็งในการดูแลผู้ป่วยในชุมชนจึงจัดทำโครงการพัฒนาเครือข่าย อสค.ร่วมรักษ์ไตขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ อสค. มีความสามารถแนะนำเกี่ยวกับ โรคไตเรื้อรัง สาเหตุ การวินิจฉัย การรักษาและการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีต่างๆ

คะแนนความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรัง สาเหตุ การวินิจฉัย การรักษาและการบำบัดทดแทนไตเพื่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2 เพื่อให้ อสค. มีความสามารถในการช่วยเหลือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและครอบครัวให้สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข

ร้อยละของการชะลอการเสื่อมของไตเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 65

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บรรยายให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
บรรยายให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 600 บาท x 5 ชม. = 3,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 40 คน = 2,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 40 คน x 2 มื้อ= 2,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เช่น กระดาษ ปากกา เป็นต้น = 2,000 บาท
  • ค่าอาหารสาธิต  2,500 บาท


  • ค่าตอบแทน จนท. อสม.เยี่ยมบ้าน 50 บาท x 40 คน x 1 ช.ม. = 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยและครอบครัว ชุมชนและระบบบริการสุขภาพ มีศักยภาพให้ผู้ป่วยและครอบครัวหรือผู้ให้การดูแล (Caregiver) หรืออาสาสมัครครอบครัว มีศักยภาพและสามารถจัดการปัญหาสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสมยั่งยืนโดยมีความเชื่อมโยงเกื้อหนุนซึ่งกันและกันมีบริการและการดูแลต่อเนื่องไปยังชุมชนถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินงานเพื่อให้การดำเนินงานลดโรคไต


>