กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตำบลปุโละปุโย ห่วงใยสุขภาพห่างไกลเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ตำบลปุโละปุโย

1.นายบุญยัน เตาวตู 089-5984494
2.นส.ปัทมา อาแว
3.นส.ปารีดะ สาและ
4.นส.ซูไมยะ อะตอ
5.นส.ปวริศา บัวทองผุด 084-3968788

ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

30.00

สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีจำนวนสูงมากขึ้น ซึ่งจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น จากการสำรวจของเจ้าหน้า อสม. ในพื้นที่ที่ผ่านมา ประชาชนในพื้นที่จะบริโภคตามอำเภอใจ โดยไม่คำนึงสารอาหารที่บริโภคเข้าไป ทำให้ประชาชนบางคนเกิดโรคเบาหวานและความดัน ขณะที่บางรายที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น อาทิ ความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง หัวใจ ตา ไต และเท้า เป็นต้นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว จะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายสำหรับกลุ่มป่วยดังกล่าว และเข้าถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน แต่เนื่องด้วยผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเบื่อหน่าย ขาดความใส่ใจในการรักษา ไม่ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค กระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงจากการกำเริบอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปี 2560 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความรู้ และมีความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและเข้าถึงการรับบริการตามสิทธิประโยชน์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ

1.กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (อัตราควบคุมโรคได้เพิ่มขึ้น)

30.00 50.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

1.ผู้ป่วยสุขภาพประจำปี ตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ100เข้าถึงการตรวจ

30.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 45
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 105
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2022

กำหนดเสร็จ 07/01/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์รับสมัครกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์รับสมัครกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้สนใจ และประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มาเข้าร่วมโครงการ
2.คัดกรองและตรวจสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ - ชั่งน้ำหนัก /วัดส่วนสูง / วัดรอบเอว - วัดความดันโลหิต - ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
3.จัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
4.ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการออกกำลังกาย

ค่าใช้จ่ายงบประมาณ
1.ค่าอาหารเที่ยง พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 7500 บาท
2.ค่าอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3750 บาท
3.ค่าวิทยากรในการบรรยาย จำนวน 3 คนๆ ละ 400 บาท (ต่อชั่วโมง) จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 3600 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ 2000 บาท( ค่าสตริกตรวจเลือดเบาหวาน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2565 ถึง 7 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสุขภาะและคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน150คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16850.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยของโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยของโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานมาอบรมให้ความรู้จำนวน70 คน ค่าใช้จ่ายงบประมาณ
1.ค่าอาหารเที่ยง พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3500 บาท
2.ค่าอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1750 บาท
3.ค่าวิทยากรในการบรรยาย จำนวน 2 คนๆ ละ 400 บาท (ต่อชั่วโมง) จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 3600 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ 2000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2565 ถึง 21 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนเข้าใจถึงต้นต่อของปัญหา สามารถดูแลตัวเอง และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนและอัตราการควบคุมโรคได้ดีเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10850.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานที่ผ่านการอบรมให้ความรู้จำนวน70 คนมาคัดกรองรอบที่ 2 ค่าใช้จ่ายงบประมาณ
1.ค่าอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1750 บาท
2.ค่าวิทยากรในการบรรยาย จำนวน 3 คนๆ ละ 400 บาท (ต่อชั่วโมง) จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 3600 บาท
3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ 2000 บาท( ค่าสตริกตรวจเลือดเบาหวาน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 15 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถตรวจความความเสี่ยงของประชาชนเกี่ยวกับเบาหวานว่าดีขึ้นหรือไมระหว่างครั้งที่ 1และครั้งที่ 2

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7350.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปโครงการติดตามและประเมิน

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการติดตามและประเมิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปโครงการเป็นรูปเล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 เมษายน 2565 ถึง 19 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปโครงการเป็นรูปเล่ม พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
2 ประชาชนรับทราบข้อมูลสภาวะสุขภาพของตนเอง
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงของตนเอง
4.ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัย รักษาจากแพทย์ตามเกณฑ์มาตรฐาน
5.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนและอัตราการควบคุมโรคได้ดีเพิ่มขึ้น


>