กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟื้นฟูและป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังบ้านหนองกางเขน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขน

หมู่ 4,7,8,9,10,11 ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

10.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

10.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

30.00
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

5.00
5 จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่

 

40.00
6 จำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่

 

15.00

ในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญคือปัญหาผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อและโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงนับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เมื่ออายุสูงขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย เมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทางตาไตวาย หัวใจ ระบบประสาทแผลเรื้อรังเป็นต้น จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขนและอสม. พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่และผู้มีภาวะเสี่ยงสูงจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะในปี 2562 พบผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน ความดันโลหิตสูง จำนวน 40 คน และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 15 คน ปัจจุบันแม้ว่าการรักษาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะดีขึ้น กล่าวคือ มีแพทย์ออกให้บริการตรวจรักษาถึงในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ระบบการติดตามดูแลฟื้นฟู การให้ความรู้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิต และสังคม ภายหลังการรักษาก็ยังมีระบบที่ไม่ดีเพียงพอทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังดังกล่าวมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

10.00 8.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

10.00 8.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

30.00 20.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

5.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 160
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัด อบรม กลุ่มผู้ป่วย,ญาติ หรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 4 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
จัด อบรม กลุ่มผู้ป่วย,ญาติ หรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 4 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 160 คน ๆ ละ 80 บาท/มื้อ         =  12,800  บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 160 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 8,000 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายจำนวน 2 คน x 12 ชั่วโมง ๆ ละ 600บาท = 14,400 บาท 4.ค่าวัสดุการอบรม จำนวน 160 คน x 50 บาท                =   8,000  บาท 5.ค่าวัสดุอาหารสาธิตครั้งละ 2,000บาท X 4 ครั้ง                       =  8,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย 2.ผู้ป่วย,ญาติ หรือบุคลในครอบครัวสามารถดูแล ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างถูกต้อง ป้องกันโรคแทรกซ้อนและ ภาวะไตเสื่อม 3.เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคแทรกซ้อนและภาวะไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้องรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,200.00 บาท

หมายเหตุ :
รายการดังกล่าวข้างต้นสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย
2.ผู้ป่วย,ญาติ หรือบุคลในครอบครัวสามารถดูแล ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างถูกต้อง ป้องกันโรคแทรกซ้อนและ ภาวะไตเสื่อม
3.เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคแทรกซ้อนและภาวะไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้องรัง


>