กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเชิงรุกบ้านหนองกางเขน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางแม่นาง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านหนองกางเขน

หมู่ 4,7,8,9,10,11 ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

0.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

0.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

0.00
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

0.00
5 ร้อยละประชากรอายุ35ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง

 

47.14
6 ร้อยละประชากรอายุ35ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน

 

45.94

จากการดำเนินการ ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตความรับผิดชอบของชมรม อสม. บ้านหนองการเขนซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง พบ ประชาชนที่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังจำนวน 70ราย การได้พบผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง แล้วรีบดำเนินการ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเกิดโรค เป็นการช่วยลดภาระต่องบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นในทุกปี และยังช่วยให้ประชาชนที่ ด้อยโอกาส ได้มีโอกาสเช้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น ในขณะที่งบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด ชมรมอาสาสมัครบ้านหนองกางเขนจึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค เรื้อรังโดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยมีเป้าหมายประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเรื้อรังความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม (Verbal Screening)การวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูง และการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการตรวจยืนยันความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังโดยบุคลากรสาธารณสุขเพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโดยมีเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30รวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกรายอันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรคในรายที่ป่วยแล้วพร้อมบันทึกข้อมูลลงตามโปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงโรคเรื้อรังปี 2563ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

0.00 0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

0.00 0.00
3 ร้อยละประชากรอายุ35ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชากรอายุ35ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง >90

47.14 90.00
4 ร้อยละประชากรอายุ35ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน

ร้อยละประชากรอายุ35ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน > 90

45.94 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 8,000
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 800
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้อสม. อสม./ผู้นำชุมชน เกี่ยวกับโรคติดต่อไม่เรื้อรัง เพื่อไปดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพ ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้อสม. อสม./ผู้นำชุมชน เกี่ยวกับโรคติดต่อไม่เรื้อรัง เพื่อไปดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพ ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คน x 80 บาท                        = 6,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒ มื้อ x ๒๕ บาท x 75 คน  =  3,750 บาท 3.ค่าวัสดุการอบรม                                                           =  5,325 บาท 4 ค่าสมนาคุณวิทยากร 6ชั่วโมง x 600บาท                            =  3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2563 ถึง 17 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18675.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการตรวจคัดกรองโรคตามกลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป โดย อสม.เพื่อหากลุ่มเสี่ยง โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม เครื่องวัดความดันโลหิต สายวัดรอบเอว เครื่องชั่งน้ำหนัก เพื่อหากลุ่มเสี่ยง ป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง พร้อมนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ตรวจซ้ำ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการตรวจคัดกรองโรคตามกลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป โดย อสม.เพื่อหากลุ่มเสี่ยง โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม เครื่องวัดความดันโลหิต สายวัดรอบเอว เครื่องชั่งน้ำหนัก เพื่อหากลุ่มเสี่ยง ป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง พร้อมนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ตรวจซ้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าสำลีแอลกอฮอล์ก้อน จำนวน 4 กล่อง กล่องละ 160 บาท              =  640 บาท 2.ค่าวัสดุการแพทย์ แผ่นตรวจเบาหวานกล่องละ 625 x 16 กล่อง          =  10,000 บาท 3.เครื่องชั่ง น้ำหนัก เครื่องละ 1,000 บาท 1เครื่อง                          =    1,000 บาท 4.เครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอลชนิดพกพาเครื่องล ะ3,000บาท  3เครื่อง =  9,000 บาท 5.ค่าตอบแทน จนท.ปฏิบัติงานวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ 10 วัน x 4คน x 4ชม.X 60บาท     =  9,600  บาท 6.ค่าแผ่นป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร                                         = 450บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละประชากรอายุ35ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน > 90 2.ร้อยละประชากรอายุ35ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง >90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30690.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,365.00 บาท

หมายเหตุ :
รายการดังกล่าวข้างต้นสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชน ที่ เข้าร่วมกิจกรรมคัดกรอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคความดันดันโลหิตสูงและเบาหวาน
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่ม ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังสามารถปฏิบัติตนในการ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู โรคเรื้อรัง ด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง


>